icon member

Infographic

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ปล่อยน้ำปนเปื้อนอันตรายแค่ไหน?

โดย ไทยรัฐออนไลน์31 ม.ค. 2567 17:16

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ปล่อยน้ำปนเปื้อนรังสี เพราะอะไรและอันตรายแค่ไหน? 

เวลา 14.46 น. ของวันที่ 11 มีนาคม 2011 หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ จนกระทั่งทำให้เกิดคลื่นสึนามิความสูง 15 เมตร ในประเทศญี่ปุ่น นอกจากจะคร่าชีวิตผู้คนไปมากมายเกือบ 20,000 ศพ แล้ว ยังเป็นผลให้ “โรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ” (Fukushima Daiichi) และระบบด้านความปลอดภัยต่างๆ รวมถึงระบบผลิตไฟฟ้าสำรอง ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจนไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าให้กับระบบหล่อเย็น เพื่อระบายความร้อนให้กับเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ได้ ส่งผลให้เกิดการหลอมละลายของแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในในโรงไฟฟ้าย่อย 3 โรง และการรั่วไหลของก๊าซไฮโดรเจนซึ่งเป็นสาเหตุของการระเบิดที่เกิดขึ้นตามมา 

โดยอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ในครั้งนี้ถูกจัดอันดับความรุนแรงตามลักษณะของการแพร่กระจายรังสี ผลกระทบทางรังสีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพประชาชน เอาไว้ที่ ระดับ 7 ตามมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์และรังสี (International Nuclear and Radiological Event Scale, INES) เนื่องจากมีการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีออกจากโรงไฟฟ้าที่ได้รับความเสียหายในปริมาณสูงมาก มีการอพยพของประชากร เกิดการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีในระยะยาวในสิ่งแวดล้อม และส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ 

อ่านบทความฉบับเต็ม โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ปล่อยน้ำปนเปื้อนอันตรายแค่ไหน?