บริษัท โกโกลุก (Gogolook) ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall ร่วมกับองค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก Global Anti-Scam Alliance (GASA) และ ScamAdviser เปิดรายงานสถานการณ์การหลอกลวงจากมิจฉาชีพในประเทศไทย (State of Scams in Thailand) ประจำปี 2567 เผยถึงรูปแบบการหลอกลวงที่เปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อคนไทย ผ่านการสำรวจความคิดเห็นของคนไทยกว่า 9,360 คนจากหลากหลายกลุ่มประชากรตลอด 1 ปีที่ผ่านมา
โดยพบข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้
อย่างไรก็ตาม ยังพบอีกว่าแม้จะมีความพยายามในการป้องกันภัยมิจฉาชีพอย่างต่อเนื่องทั้งจากภาครัฐและเอกชน แต่ประเทศไทยยังคงประสบกับปัญหาจากการหลอกลวงและความพยายามในการหลอกลวงจากมิจฉาชีพ โดยรายงานที่ Whoscall ได้จัดทำขึ้นร่วมกับ GASA และ Scam Adviser ได้แสดงให้เห็นถึงระดับความถี่ของการหลอกลวงที่เพิ่มขึ้นรวมไปถึงข้อมูลเชิงลึกกลลวงใหม่ ๆ จากมิจฉาชีพ ไปจนถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น
จากรายงาน ระบุว่า คนไทยมีความระมัดระวังในการป้องกันตนเองจากมิจฉาชีพมากขึ้นโดย
อย่างไรก็ตาม 89% เผยว่ายังต้องรับมือกับมิจฉาชีพอย่างน้อยเดือนละครั้ง และ 58% ระบุว่าต้องรับมือกับมิจฉาชีพบ่อยขึ้น โดยเกือบ 10% ระบุว่าถูกก่อกวนจากมิจฉาชีพถี่ขึ้นต่อเดือนเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ในขณะที่ 35% ได้รับโทรศัพท์และข้อความหลอกลวงหลายครั้งต่อสัปดาห์
รายงานยังพบอีกว่า การโทรเข้าและส่งข้อความผ่านมือถือยังเป็นวิธีการหลอกลวงที่มิจฉาชีพใช้มากที่สุด ตามมาด้วยโฆษณาออนไลน์ ส่งข้อความผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ และโพสต์บนโซเชียลมีเดีย โดย 5 ช่องทางที่มิจฉาชีพใช้มากที่สุดในการหลอกลวง ได้แก่
ทั้งนี้ การจะได้รับเงินที่ถูกมิจฉาชีพหลอกไปคืนนั้น ทำได้ยากขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งผลสำรวจ พบว่า
การขโมยข้อมูลส่วนบุคคล (Identity Theft) และการใช้เทคโนโลยี AI กลายเป็นรูปแบบที่มิจฉาชีพใช้มากขึ้น โดยผลสำรวจระบุว่า
นอกจากนี้ รายงานระบุว่า คนไทยมีความตระหนักรู้มากขึ้นว่ามิจฉาชีพนำเทคโนโลยี AI มาเป็นเทคนิคใหม่ในการเขียนข้อความหรือสร้างบทสนทนา รวมถึงสร้างภาพของบุคคลหรือสถานการณ์หลอกลวงในรูปแบบต่าง ๆ ที่หลากหลายมากขึ้น โดย 66 % ของผู้ตอบแบบสอบถามมั่นใจว่าเคยได้รับข้อความที่เขียนโดยใช้เทคโนโลยี AI
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ - https://www.facebook.com/ThairathMoney