ชะตากรรม Google หลังแพ้คดีผูกขาด ถูกบีบให้ขาย “Chrome” เบราว์เซอร์ที่คนใช้มากสุดในโลกทิ้ง

Tech & Innovation

Tech Companies

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ชะตากรรม Google หลังแพ้คดีผูกขาด ถูกบีบให้ขาย “Chrome” เบราว์เซอร์ที่คนใช้มากสุดในโลกทิ้ง

Date Time: 22 พ.ย. 2567 14:11 น.

Video

ล้วงลึกอาณาจักร “PCE” สู่บริษัทมหาชน ปาล์มครบวงจร | On The Rise

Summary

  • หุ้น Alphabet บริษัทแม่ Google ร่วงลงกว่า 4% จับตาบิ๊กเทคถูกหั่นอำนาจหลังถูกเรียกร้องให้ขาย Google Chrome เว็บเบราว์เซอร์ที่คนใช้เยอะที่สุดในโลกทิ้ง เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขหลังถูกศาลสหรัฐฯ ตัดสินคดีผูกขาดธุรกิจครอบจักรวาล

Latest


ย้อนกลับไปช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา อัยการสูงสุดและกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ กำลังพิจารณาขอให้ผู้พิพากษา Amit Mehta รัฐบาลกลางผู้ทำคดีนี้บังคับให้ Google แยกส่วนธุรกิจ โดยแยก Google Search หรือ ธุรกิจเสิร์ชเอนจินของตนเองออกจากระบบปฏิบัติการ Android และเบราว์เซอร์ Chrome รวมถึง Google Play เพื่อจำกัดขอบเขตอำนาจของ Google

แถลงการณ์ที่ยื่นต่อศาลฉบับล่าสุดเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ระบุว่า การแยกธุรกิจ Google ออกจากกันจะป้องกันไม่ให้ Google ใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์หลายอย่างที่เชื่อมโยงกันภายใต้การดำเนินการของตนเอง คดีนี้มุ่งเน้นไปที่ข้อตกลงพิเศษที่ Google ได้ทุ่มเงินหลายหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐทำข้อตกลงกับบริษัทเทคโนโลยีหลายราย ไม่ว่าจะเป็นผู้พัฒนาเบราว์เซอร์ ผู้ผลิตอุปกรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Apple เพื่อให้เครื่องมือค้นหาของตนเองเป็นตัวเลือกเริ่มต้นบนสมาร์ทโฟนและเว็บเบราว์เซอร์

บทความที่เกี่ยวข้อง 

โดยล่าสุดจากเอกสารที่ยื่นฟ้องต่อกระทรวงยุติธรรม (DOJ) ฉบับล่าสุดเมื่อวันที่ 20 พ.ย. ได้เรียกร้องให้ทางการบังคับให้ Google ขาย Google Chrome พร้อมระบุว่าแนวทางดังกล่าวจะสร้างความเท่าเทียมให้กับคู่แข่งหรือผู้ให้บริการเสิร์ชเอนจิ้นรายอื่น

พร้อมชี้แจงเพิ่มเติมว่าการขาย Chrome จะทำให้ “ตลาดเสิร์ชเอนจิ้น” ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของ Google มาอย่างยาวนานเป็นอิสระ โดยคำพิพากษาขั้นสุดท้ายจะทำให้ Google ไม่สามารถควบคุมจำกัดแนวทางการใช้งานเสิร์ชเอนจิ้นบน Google Chrome ได้อย่างถาวร ซึ่งจะเปิดทางให้กับบริการเสิร์ชเอนจิ้นของผู้ให้บริการรายอื่นสามารถเข้าถึงเบราว์เซอร์

Google อาจสูญเสียอำนาจและรายได้มหาศาล

Google Chrome คือ เว็บเบราว์เซอร์ที่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2008 ก่อนที่จะถูกต่อยอดบริการอื่นๆ ที่หลากหลาย โดยเฉพาะการเป็นพื้นที่โฆษณา ทั้งนี้ฟีเจอร์ที่หลากหลายของ Google ถูกเชื่อมโยงระหว่างกัน หนึ่งในนั้น คือ บริการค้นหาข้อมูลของ Google บน Chrome ซึ่งผลักดันให้ Google Search กลายเป็นเสิร์ชเอนจิ้นที่ครองส่วนแบ่งในตลาดมากกว่า 90% ในปัจจุบัน รวมถึง Chrome ที่ขึ้นแท่นเป็นเบราว์เซอร์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดในโลกอีกด้วย

ที่ผ่านมา Google เปิดให้ผู้ใช้งานเข้าถึง Chrome และระบบปฏิบัติการ Android งานฟรี โดยใช้ Chrome เป็นตัวช่วยโปรโมตธุรกิจและโฆษณา ซึ่งสร้างรายได้ส่วนใหญ่ให้กับกลุ่มมากกว่า 50% จากรายได้ทุกหมวดธุรกิจ โดยมีรายได้จากส่วนนี้ในไตรมาสล่าสุดอยู่ที่ 88.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ กล่าวคือ Chrome นับเป็นเสาหลักของ Google ทั้งด้านรายได้และคลังข้อมูลผู้ใช้ที่ช่วยให้ Google สามารถกำหนดเป้าหมายโฆษณาได้อย่างแม่นยำ

หากท้ายที่สุด Google ถูกบังคับให้ขาย Chrome สำเร็จ นั่นหมายความว่า บริษัทจะสูญเสียส่วนแบ่งในตลาด ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดเบราว์เซอร์ทั่วโลกประมาณสองในสามไป ไม่นับการเสียอำนาจต่อรองที่ต้องเปิดให้ผู้ให้บริการเสิร์ชเอนจิ้นรายอื่นเข้ามาให้บริการบนแพลตฟอร์มของตนเอง

“ข้อเสนอนี้ไปไกลเกินกว่าคำตัดสินของศาลและจะทำลายผลิตภัณฑ์ของ Google มากกว่าเรื่องเสิร์ชเอนจิ้น”

Kent Walker หัวหน้าฝ่ายกฎหมายของ Google อ้างว่าการแยก Chrome ออกไปจะส่งผลเสียต่อผู้บริโภค เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ให้บริการไม่กี่แห่งที่มีศักยภาพในการรักษาความปลอดภัยด้านการใช้งานในขณะที่ยังคงให้บริการฟรี เช่น Safari ของ Apple และจะส่งผลกระทบต่อช่วงเวลาที่สำคัญของการลงทุนด้าน AI และด้านความเป็นส่วนตัวที่บริษัทกำลังดำเนินการอยู่

แม้ว่า Google จะประกาศจะอุทธรณ์คำตัดสินที่ได้ชี้ขาดว่า Google คือ “Monopolist" ที่ได้รักษาการผูกขาดตลาดการค้นหาผ่านข้อตกลงกับคู่แข่งทางเทคโนโลยี ซึ่งมีความผิดฐานละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาดของสหรัฐฯ

ขั้นตอนต่อไปของการต่อสู้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาว่า Google จะต้องเผชิญกับบทลงโทษใดบ้าง อย่างไรก็ตามกระบวนการทั้งหมดจะขยายระยะเวลาดำเนินการไปถึงปีหน้า กอปรกับการปราบปรามการผูกขาดของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ภายใต้รัฐบาลไบเดน กำลังเข้าสู่ช่วงที่ไม่แน่นอนอย่างยิ่ง เนื่องจากว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะเข้ารับตำแหน่งในเดือนมกราคมและอาจมีการเปลี่ยนแปลงทีมกฎหมายหลังจากนี้

อ้างอิงข้อมูลจาก Financial Times , Reuters 

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ -   


 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ