รู้จัก LIV-24 ธุรกิจเครือแสนสิริ ใช้ AI ดูแลความปลอดภัยโรงงานอุตสาหกรรม หวังพาไทยสู่ “สมาร์ทนิคม”

Tech & Innovation

Tech Companies

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

รู้จัก LIV-24 ธุรกิจเครือแสนสิริ ใช้ AI ดูแลความปลอดภัยโรงงานอุตสาหกรรม หวังพาไทยสู่ “สมาร์ทนิคม”

Date Time: 14 ส.ค. 2567 15:06 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • “LIV-24” บริษัทเทคโนโลยีป้องกันภัยเครือ “แสนสิริ” ผนึกกำลังภาครัฐ ชูเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม (Industrial Tech) ช่วยผู้ประกอบการไทยปรับตัวรับเทรนด์โลก ยกระดับอุตสาหกรรมไทย สร้างสภาพแวดล้อมที่ดึงดูดการลงทุน ดันไทยเป็น “สมาร์ทนิคม” ทัดเทียมโลก

Latest


กระทรวงอุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หนุน “LIV-24” บริษัทเทคโนโลยีไทย ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีและโซลูชันเพื่ออุตสาหกรรมจากเครือแสนสิริ มุ่งยกระดับผู้ประกอบการไทยด้วย “Industrial Technology” ล่าสุดอยู่ระหว่างการนำเสนอ MOU เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมไทยต่อไป 

รู้จัก LIV-24 โซลูชันที่เกิดขึ้นจากการมองเห็น “โอกาส” ท่ามกลาง “ปัญหา”  

LIV-24 ก่อตั้งขึ้นเมื่อห้าปีที่แล้วในปี 2562 จากความร่วมมือระหว่าง บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ในฐานะผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีและโซลูชันรักษาความปลอดภัยแบบเรียลไทม์ครบวงจรให้กับธุรกิจทุกขนาด ครอบคลุมตั้งแต่ที่อยู่อาศัยบ้านและคอนโดฯ ในโครงการแสนสิริ โครงการเพื่อการพาณิชย์ และโครงการระดับอุตสาหกรรม รวมทั้งสิ้นกว่า 500,000 เคส 130 โครงการทั่วประเทศ โดยมีกลุ่มลูกค้าหลัก ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรม มิกซ์ยูสโครงการอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มอาคารสำนักงาน โดยปัจจุบันมีมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้พอร์ตที่ดูแลรวมกัน 300,000 ล้านบาท

ด้วยประสบการณ์ด้านพัฒนาและดูแลบริหารโครงการมาอย่างยาวนาน ทำให้เห็นข้อบกพร่องของระบบรักษาความปลอดภัยที่เกิดจากการพึ่งพาเพียงมนุษย์ หรือเทคโนโลยี เพียงอย่างเดียว LIV-24 จึงถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้การทำงานสอดประสานระหว่างความเชี่ยวชาญของมนุษย์ ทำงานร่วมกับเทคโนโลยีอัจฉริยะให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด 

ในปี 2567 ได้ดำเนินการ Spin-off จัดตั้งบริษัทใหม่อย่างเป็นทางการภายใต้ “บริษัท ลีฟ-24 จำกัด” พัฒนา Industrial Technology ครบวงจร โดยมีจุดเด่นเรื่องการใช้เทคโนโลยี AI ผสานเข้ากับประสบการณ์ของมนุษย์ โดยจะประเมินความเสี่ยงของธุรกิจเพื่อออกแบบโซลูชันที่เหมาะสมสําหรับธุรกิจนั้นๆ โดยเชื่อมต่อระบบต่างๆ อาทิ ระบบป้องกันอัคคีภัย ระบบไฟฟ้า นํ้า เครื่องจักรต่างๆ เข้าสู่ศูนย์ควบคุมส่วนกลาง (Command Centre) ที่สามารถดูแลแบบ Real Time 24 ชั่วโมง ตลอด 7 วัน 

ด้านผลประกอบการ LIV-24 มีแนวโน้มเติบโตสอดคล้องไปกับการเพิ่มขึ้นของดีมานด์ดิจิทัลในประเทศไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงโอกาสในการสร้างนิวเอสเคิร์ฟให้กับกลุ่ม ด้วยอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับรายได้ในปี 2566 ของ LIV-24 อยู่ที่ 65.3 ล้านบาท โดยมีการคาดการณ์รายได้ในปีนี้ที่ 165 ล้านบาท ขณะเดียวกันได้ตั้งเป้าหมายรายได้โตขึ้นอีก 82% แตะ 300 ล้านบาทในปีหน้า 

“Industrial Technology” กลไกลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

นางสาวนิรมล ดิเรกมหามงคล กรรมการผู้จัดการ บริษัท LIV-24 จำกัด (ลีฟ ทเวนตี้โฟร์) เปิดเผยว่า บริษัทเล็งเห็นถึงความสำคัญของ “ภาคอุตสาหกรรม” ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ อีกทั้งยังก่อให้เกิดการจ้างงานในหลากหลายกลุ่ม ตลอดจนผลักดันให้เกิดการพัฒนาและขับเคลื่อนเทคโนโลยีของประเทศ

จึงเป็นที่มาของการผลักดัน "Industrial Technology" หรือเทคโนโลยีที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมให้แพร่หลายในหมู่ผู้ประกอบการไทย โดยล่าสุดได้ประกาศความร่วมมือกับการนิคมอุตสาหกรรม พร้อมขยายธุรกิจไปกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมผลักดัน “สมาร์ทนิคม” ให้เกิดขึ้นจริง 

“LIV-24 อยากร่วมเป็นผู้ผลักดัน “อุตสาหกรรมไทย” ให้ก้าวหน้าเทียบกับนานาชาติ ทำให้เศรษฐกิจของไทยเติบโตอย่างแข็งแกร่งขึ้น ด้วยเทคโนโลยีของ LIV-24 ร่วมกับความสามารถของผู้เชี่ยวชาญ ด้วยพันธกิจหลักในการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ การยกระดับประสิทธิภาพในการทำงาน (Effieciency) สามด้านหลัก แรงงาน พลังงาน เครื่องจักร การสนับสนุนอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนเพื่อมุ่งสู่ Net Zero (Sustainbility) และการเพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยีที่น่าเชื่อถือ (Reliability) ให้กับผู้ประกอบการ”  

ทั้งนี้ ภายในงาน “LIV-24 Industrial Tech Revolution ก้าวข้ามขีดจำกัดสู่ยุคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนด้วย AI และ Industrial Tech” โดยมี กระทรวงอุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท LIV-24 จำกัด แถลงวิสัยทัศน์ในการผลักดัน “นโยบายยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลก” ด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยี  โดยมีผู้นำจากหน่วยงานรัฐที่มีส่วนในการกำหนดนโยบาย ภาคส่วนอุตสาหกรรม และภาคธุรกิจเข้าร่วมกว่า 200 บริษัทเข้าร่วมรับฟัง

มั่นใจ LIV-24 จะช่วยผู้ประกอบการไทยยกระดับอุตสาหกรรม  

พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมให้มุมมองในด้านความท้าทายของอุตสาหกรรมไทยในปัจจุบัน ที่ยังคงเป็นเรื่องการนำเครื่องจักรเข้ามาใช้แทนแรงงานที่มาพร้อมกับต้นทุนที่สูงขึ้น ท่ามกลางความท้าทายใหม่ที่เกิดขึ้นมากมาย

ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้มีการหารือกับรัฐบาล นายกฯ เศรษฐา ทวีสิน มีความตั้งใจในการออกนโยบายที่ชัดเจนที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน ความรู้ เทคโนโลยีและเงินทุน ภายใต้เป้าหมายที่จะส่งเสริม สนับสนุน และไม่เป็นอุปสรรคต่อผู้ประกอบการอย่างเด็ดขาด 

ด้าน นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวเสริมในเรื่องการเพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมไทยด้วยเทคโนโลยีว่า นอกเหนือจากปัจจัยมหภาคที่มีผลต่อการย้ายฐานผลิต รวมถึงการตอบรับกติกาใหม่ของโลกในเรื่องนโยบายด้านความยั่งยืน อุตสาหกรรมไทยอยู่ในช่วงที่ท้าทายมาก โดยเฉพาะการปรับตัวเรื่องดิจิทัลทรานฟอร์มเมชันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมดั้งเดิม (First Industry) ซึ่งส่วนใหญ่เป็น OEM (Original Equipment Manufacturer) รับจ้างผลิตมานานกว่า 50 ปี ถูกดิสรัปต์ในช่วงเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการ SMEs กว่า 80% ที่ต้องรับมือกับอำนาจในการแข่งขันที่ลดลง  

“ไทยต้องตั้งโจทย์ใหม่ในการปฏิรูปกระบวนการผลิตที่สอดคล้องไปกับวิสัยทัศน์โลก พร้อมกับกระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการผลิต จาก OEM เป็น ODM (Original Brand Manufacturer) และ OBM (Original Design Manufactuere) เพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมใหม่ (Next-Gen Industry) โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักจากเทคโนโลยีตั้งแต่ดิจิทัลทรานฟอร์มเมชันไปจนถึงการใช้เทคโนโลยีเพิ่มความแม่นยำ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงศักยภาพแรงงาน”

ขณะเดียวกัน รศ.วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า ในฐานะรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม เชื่อมั่นว่าภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทยยังคงเป็นอีกหนึ่งส่วนธุรกิจที่แข็งแกร่ง แม้จะเผชิญกับความท้าทายต่างๆ

โดยความร่วมมือในครั้งนี้ LIV-24 จะเป็นอีกหนึ่งโซลูชันที่สำคัญ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ธุรกิจและเข้ามามีส่วนร่วมในการผลักดันสมาร์ทนิคม พร้อมทั้งยกระดับอุตสาหกรรมไทยให้เทียบชั้นกับนานาชาติ

เปิด 6 Key Feature Solution เพื่อกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมของ LIV-24 

  1. Fire Protection : ปกป้องความเสี่ยงด้วยการเชื่อมต่อระบบป้องกันอัคคีภัยของโรงงานเข้ากับ Command Centre ป้องกันเหตุก่อนลุกลาม ตรวจจับควัน ความร้อน แก๊สรั่ว พร้อมส่งสัญญาณเตือนทันที เพื่อรู้สถานะของอุปกรณ์ว่าทํางานผิดปกติ ช่วยป้องกันชีวิต ทรัพย์สินมีค่า ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง และลดค่าใช้จ่ายในการจ้างคนดูแล
  2. AI CCTV Analytic : กล้องตรวจจับทุกการเคลื่อนไหวอัตโนมัติ พร้อมแจ้งเตือนแบบ Real Time เพื่อป้องกันเหตุก่อนที่จะเกิด แม้สิ่งที่มองไม่เห็นไม่ว่าจะเป็นควันไฟ การบุกรุกจากคน หรือสัตว์ร้าย อุบัติเหตุในโรงงานที่เป็นสาเหตุต้นๆ ที่ทําให้สายการผลิตหยุดชะงัก
  3. IoT Monitoring System : ระบบ IoT ผสานกับระบบวิศวกรรมอาคาร เช่น ระบบนํ้า ปั๊มนํ้า ระบบไฟฟ้า ระบบลิฟต์ ระบบป้องกันอัคคีภัย ให้เชื่อมต่อและมอนิเตอร์สถานะการทํางานระบบต่างๆ แบบ Real Time
  4. Vehicle Fleet Management : ระบบการขนส่ง คืออีกหนึ่งความเชื่อมั่นของธุรกิจ ให้การขนส่งมีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และตรงต่อเวลา ด้วย Vehicle Fleet Management จาก LIV-24 เพิ่มประสิทธิภาพติดตามการขนส่งแบบ Real Time ตรวจสอบพฤติกรรมผู้ขับ ด้วยกล้อง AI วิเคราะห์พฤติกรรมคนขับป้องกันการหลับใน นอกจากนี้ การออกนอกเส้นทางที่กําหนด หรือการขับขี่เกินกว่าความเร็วที่กําหนด รวมถึงการขโมยนํ้ามัน และการขนกากอุตสาหกรรมออกนอกเส้นทาง ทั้งหมดนี้สามารถตรวจสอบและป้องกันด้วยระบบ GPS Tracking
  5. Energy Management : ใช้ Smart Meter วัดปริมาณการใช้ไฟฟ้า ทั้งจากการไฟฟ้า และ Solar Cell เพื่อนํามาวิเคราะห์ วางแผนการบริหารจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้าให้เหมาะสม เพื่อบริหารต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  6. Waste Water Monitoring : ระบบดูแลจัดการคุณภาพนํ้าดีและนํ้าเสียที่ออกจากโรงงาน โดยการติดตั้งเซนเซอร์ตรวจค่าของคุณภาพนํ้าที่เหมาะสม อย่างกรณีนํ้าดีจะติดตั้งที่ตัวจ่ายนํ้ามีการวัดค่า EC (Electrical Conductivity) และค่า TDS (Total Dissolved Solids) การติดตั้งที่บ่อบําบัด มีการวัด BOD (Biochemical Oxygen Demand) และ COD (Chemical Oxygen Demand) ที่สามารถกําหนดค่าที่ต้องการเมื่อเกิดความผิดปกติ ระบบจะแจ้งเตือนแบบ Real Time เพื่อให้เจ้าของทราบเพื่อแก้ไขได้ทันที

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้
https://www.facebook.com/ThairathMoney 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ