Shopee ขึ้นค่าธรรมเนียมร้านค้า มุ่งทำกำไร มั่นใจจะไม่ผลักคนขาย ไปใช้ TikTok Shop-Temu

Tech & Innovation

Tech Companies

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

Shopee ขึ้นค่าธรรมเนียมร้านค้า มุ่งทำกำไร มั่นใจจะไม่ผลักคนขาย ไปใช้ TikTok Shop-Temu

Date Time: 13 ส.ค. 2567 14:13 น.

Video

บุกโรงงาน PANDORA ช่างไทยผลิตจิวเวลรี่ แบรนด์โลกแสนล้าน | On The Rise

Summary

  • Shopee มั่นใจรักษาฐานพ่อค้าแม่ค้าให้ยังคงอยู่กับแพลตฟอร์ม แม้ปรับอัตราค่าธรรมเนียมร้านค้าสูงขึ้น ท่ามกลางการแข่งขันอีคอมเมิร์ซดุเดือด โดยเฉพาะการผงาดขึ้นของแพลตฟอร์มจีน TikTok Shop และ Temu ที่กำลังเป็นกระแสในตอนนี้

Latest


การปรับขึ้นค่าธรรมเนียมหรือที่รู้จักในชื่อ "Take Rates" ที่เรียกเก็บเป็นเปอร์เซ็นต์ที่หักจากยอดขาย หรือยอดรวมบิลธุรกรรมของผลิตภัณฑ์ จะช่วยสะท้อนให้เห็นถึงโอกาสในการเอาชนะคู่แข่งและสร้างกำไรอย่างยั่งยืน

ซึ่ง SEA จำเป็นต้องสร้างความมั่นใจจากนักลงทุนว่า Shopee มีอำนาจในการขึ้นค่าธรรมเนียมโดยไม่สูญเสียการครอบงำตลาด และจำเป็นต้องพิสูจน์ว่าบริษัทจะสามารถเร่งการเติบโต ทั้งปริมาณสินค้าโดยรวม (GMV) อัตราการทำรายได้ และผลกำไรสุทธิระยะยาวได้ หลังจากที่ Shopee ผ่านการลดต้นทุนครั้งใหญ่ต่อเนื่องกว่าสองปี 

โดยล่าสุดหุ้น SEA เพิ่มขึ้น 60% ในปีนี้ ด้านนักวิเคราะห์มีการคาดการณ์ผลประกอบการไตรมาสสองที่จะประกาศในช่วงสัปดาห์นี้ว่า รายได้จะเพิ่มขึ้น 20% ส่วนปริมาณสินค้าโดยรวมของ Shopee จะเพิ่มขึ้นประมาณ 24.7% จากปีก่อน

บทความที่เกี่ยวข้อง 

ปัจจุบัน Shopee ยังคงเป็นผู้นำตลาดอีคอมเมิร์ซของอาเซียน และผู้ที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากร้านค้าสูงที่สุดในบรรดาคู่แข่ง โดย Shopee ปรับขึ้นค่าธรรมเนียมเร็วกว่าเดิมมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดอาเซียน พบ ไทยเรียกเก็บเพิ่มขึ้นเป็น 13% ในเดือนกรกฎาคม จาก 10% ก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ Lazada อยู่ที่ 10% และ TikTok อยู่ที่ 8% 

ด้าน Cube Asia ได้สำรวจตัวชี้วัดการดำเนินงานหลักที่จะส่งผลต่อการเติบโตของกำไรของ Shopee ได้แก่ อัตราผลตอบแทนของ Shopee หรือรายได้รวมจากค่าธรรมเนียมที่แพลตฟอร์มเรียกเก็บจากผู้ขาย รวมถึงค่าคอมมิชชัน ค่าธรรมเนียมธุรกรรม ค่าธรรมเนียมบริการ และบริการมูลค่าเพิ่มอื่นๆ เช่น โลจิสติกส์ 

โดยระบุถึงการปรับขึ้นค่าธรรมเนียมของ Shopee ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2019 และนับเป็นเรื่องปกติของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เดิมทีแพลตฟอร์มใหม่ๆ มักดึงดูดผู้ขายด้วยอัตราการขายที่ต่ำ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป 

ทั้งนี้ Shopee มั่นใจว่า การปรับค่าคอมมิชชันในครั้งนี้ จะไม่กีดกัดพ่อค้าแม่ขายบนแพลตฟอร์มให้เลิกใช้งาน นอกจากนี้ไม่ใช่เพียง Shopee เจ้าเดียว เพราะ คู่แข่งปรับขึ้นค่าธรรมเนียมขึ้นด้วยเช่นกัน ทำให้แนวโน้มที่ร้านค้าจะถอนตัวออกจาก Shopee ค่อนข้างต่ำ

อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ดังกล่าวมีความเสี่ยง เนื่องจาก Temu และ TikTok มียอดผู้ใช้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ค่าธรรมเนียมร้านค้าที่ต่ำกว่ำเจ้าใหญ่อาจดึงดูดร้านค้าให้เปลี่ยนใจหากเห็นว่าบริการของ Shopee มีราคาที่แพงเกินไป

อ้างอิง Bloomberg 

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้
https://www.facebook.com/ThairathMoney 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ