Llama 3.1 รองรับภาษาไทยแล้ว Meta เปิดหลักสูตร AI พร้อมให้เงินทุน สำหรับ SMEs ไทยต่อยอดนวัตกรรม

Tech & Innovation

Tech Companies

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

Llama 3.1 รองรับภาษาไทยแล้ว Meta เปิดหลักสูตร AI พร้อมให้เงินทุน สำหรับ SMEs ไทยต่อยอดนวัตกรรม

Date Time: 7 ส.ค. 2567 16:51 น.

Video

"CINDY CHAO The Art Jewel" สองทศวรรษอัญมณีศิลป์ | Brand Story Exclusive EP.4

Summary

  • Meta ตอกย้ำ “Llama 3.1” ปัญญาประดิษฐ์สำหรับทุกคน เผย มียอดดาวน์โหลดโมเดลไปใช้รวมกว่า 300 ล้านครั้ง เกิดโมเดลต่อยอดกว่า 20,000 โมเดล พร้อมอัปเดตฟีเจอร์และความสามารถใหม่ของโมเดล 8B และ 70B ที่รองรับภาษาไทย

Latest


Meta ประกาศอัปเดตเวอร์ชันล่าสุดของ "Llama 3.1" โมเดลโอเพนซอร์สที่ใหญ่ที่สุดและทันสมัยที่สุดในตอนนี้ที่มาพร้อมกับโมเดลขนาด 8B และ 70B ซึ่งมีการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานที่มีความยืดหยุ่น ฉลาดขึ้น รองรับงานซับซ้อน และใช้งานได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น 

หลังจาก Meta เปิดตัวโมเดล Llama รุ่นแรกเมื่อปีที่แล้ว ด้วยเป้าหมายต้องการส่งเสริมนวัตกรรมและความร่วมมือภายในชุมชน AI โดยการมอบเครื่องมือ AI ที่ล้ำสมัยมากขึ้นให้แก่นักพัฒนา นักวิจัย และธุรกิจต่างๆ ปัจจุบันได้รับการยอมรับผ่านผู้ใช้ทั่วโลก มียอดดาวน์โหลดรวมกว่า 300 ล้านครั้ง และมีการพัฒนาโมเดลต่อยอดกว่า 20,000 โมเดล สำหรับการใช้งานที่หลากหลาย  

บทความที่เกี่ยวข้อง

การเปิดตัวในครั้งนี้ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของ Meta ในการพัฒนา  “Llama 3.1” ให้เป็นปัญญาประดิษฐ์สำหรับทุกคน โดยการอัปเดตในครั้งนี้ยังเปิดพื้นที่ทดลองใช้เทคโนโลยีให้กับนักพัฒนาชาวไทย รวมถึงปลดล็อกโอกาสด้าน AI สำหรับธุรกิจและชุมชนในประเทศไทยอีกด้วย เพราะการอัปเดตโมเดลดังกล่าวได้เพิ่มภาษาที่ให้บริการถึง 8 ภาษารวมถึงภาษาไทย 

การขยายการรองรับภาษาไทยของ Llama 3.1

ราฟาเอล แฟรงเคิล ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายสาธารณะประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Meta กล่าวถึง แผนงานเกี่ยวกับ Llama 3.1 ในประเทศไทยว่า การอัปเดตโมเดล 8B และ 70B ซึ่งขณะนี้รองรับภาษาไทยแล้ว จะช่วยให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ชาวไทยสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ สำหรับประเทศไทยได้มากขึ้น

เราเชื่อว่า AI มีศักยภาพมากกว่าเทคโนโลยีล้ำสมัยอื่นๆ ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานและความคิดสร้างสรรค์ให้แก่มนุษย์ รวมถึงยังช่วยเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจ พร้อมปลดล็อกความก้าวหน้าให้กับธุรกิจและชุมชนทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย 

นอกจากนี้ การอัปเดตครั้งล่าสุดยังมีประเด็นสำคัญอื่นๆ ดังนี้ 

  • ปรับปรุงความสามารถในการสนทนา ขยายการรองรับความยาวเนื้อหามากถึง 128k ช่วยให้การโต้ตอบมีความหลากหลายมากขึ้น
  • จัดการกับงานที่ซับซ้อนด้วยความสามารถในการใช้เหตุผล (Reasoning) ที่ดีขึ้น
  • รองรับการสร้างข้อมูลสังเคราะห์และการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างโมเดล (Model distillation)
  • ความชาญฉลาดในการประมวลผล Meta AI ให้ผลลัพธ์หรือคำตอบที่แม่นยำขึ้นสำหรับปัญหาที่มีความซับซ้อน โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ หรือการเขียนโค้ด รวมถึงจะได้รับประสบการณ์ AI ที่ดีขึ้น โดยมีการอัปเดตอย่างต่อเนื่องจากความคิดเห็นของผู้ใช้งาน
  • การเข้าใช้งานบนแพลตฟอร์มต่างๆ ของ Meta เช่น WhatsApp, Facebook และอีกมากมาย

การสนับสนุนด้าน AI ของ Meta ประเทศไทย 

นอกจาก Llama AI จะเพิ่มการรองรับภาษาไทยแล้ว เปิดหลักสูตร AI สำหรับ SMEs ในประเทศไทย จัดการอบรม รวมถึงให้ทุนสนับสนุนมูลค่ารวม 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับนักพัฒนาและองค์กรทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย

นอกจากนี้ Meta ในประเทศไทยยังได้ร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) AI Governance Clinic และสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIAT) เพื่อจัดการแข่งขันและคัดเลือกผู้ชนะระดับประเทศจำนวนหนึ่งรายเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันระดับภูมิภาคในสิงคโปร์ 

1) ทุนสนับสนุน Llama 3.1 Impact Grants จาก Meta

ทุนสนับสนุน Llama Impact Grants ของ Meta เป็นโปรแกรมระดับโลกที่เปิดรับข้อเสนอโครงการต่างๆ ที่ใช้ Llama AI และฟีเจอร์อื่นๆ ในโมเดล เพื่อเสริมสร้างผลกระทบทางสังคมและเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาความท้าทายต่างๆ ทั่วโลก โดยมุ่งเน้นด้านการศึกษา สิ่งแวดล้อม และนวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation) ผู้ชนะที่ได้รับคัดเลือกจะได้รับเงินทุนสนับสนุนโครงการสูงสุดถึง 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ การประกาศผู้ชนะคาดว่าจะมีขึ้นในช่วงต้นปี พ.ศ. 2568

2) โครงการ AI Accelerator Program สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

Meta จะจัดโครงการในระดับภูมิภาคเพื่อให้ความรู้ สร้างแรงบันดาลใจ และโอกาสในการสร้างเครือข่ายสำหรับนักพัฒนา AI ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การแข่งขันระดับภูมิภาคที่นักพัฒนา Llama จะส่งข้อเสนอโครงการที่แสดงให้เห็นว่า Llama AI สามารถใช้แก้ไขปัญหาสังคมในประเทศของตนได้อย่างไร ผู้ชนะจะได้เป็นตัวแทนประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน Hackathon ออนไลน์ในสิงคโปร์ เพื่อชิงทุนพิเศษสูงสุด 100,000 ดอลลาร์สหรัฐเพื่อสนับสนุนโครงการ โดยโครงการที่มีศักยภาพสูงสุดจะได้รับการพิจารณาให้ได้รับรางวัลพิเศษมูลค่าถึง 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ

3) หลักสูตร AI สำหรับ SMEs ในประเทศไทย

Meta ยังได้ร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อเปิดหลักสูตรการตลาดด้วย AI สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย เพื่อเสริมสร้างทักษะและความรู้ในการใช้ประโยชน์จาก AI เพื่อการเติบโตทางธุรกิจ

นอกจากนี้ Meta จะจัดงานสัมมนาด้านการตลาด Meta Marketing Summit ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม โดยจะเชิญผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกว่า 800 ราย เข้าร่วมงานเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องมือและบริการด้าน AI ของ Meta 

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ -   


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ