EV ต่างชาติที่ลงทุนตั้งโรงงานในไทย จีนทะลัก กำลังผลิตรวมทะลุ 4 แสนคันต่อปี

Tech & Innovation

Tech Companies

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

EV ต่างชาติที่ลงทุนตั้งโรงงานในไทย จีนทะลัก กำลังผลิตรวมทะลุ 4 แสนคันต่อปี

Date Time: 14 ก.ค. 2567 11:08 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Summary

  • Nikkei Asia Research รายงานตัวเลขล่าสุดของ EV ต่างชาติที่กำลังเข้ามาลงทุนตั้งฐานผลิตในไทย เป็นผู้ผลิตจีนไปแล้ว 5 เจ้า รวมมูลค่าลงทุนกว่า 8.5 หมื่นล้านบาท โดยมีกำลังผลิตรวมแล้วทะลุ 4 แสนคันต่อปี

Latest


แม้ว่าปัจจุบันการชะลอตัวทางเศรษฐกิจเข้ามาเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้กระแสความนิยม EV อาจชะลอตัวลง สะท้อนให้เห็นชัดในช่วงที่ผ่านมาจากการปฏิเสธสินเชื่อรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นเริ่มส่งผลกระทบต่อยอดขาย แต่หากพิจารณาภาพรวมในด้านการลงทุนของฟากผู้ผลิตหลายเจ้าที่เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย รวมถึงการปักธงจัดตั้งโรงงานขนาดใหญ่ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง   

ข้อกำหนดและมาตรการสนับสนุนของรัฐบาลไทยในช่วงสองปีที่ผ่านมาดึงดูดให้ผู้ผลิต EV ต่างชาติ รุกเข้าสู่ตลาดรถยนต์ของไทยอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะผู้ผลิตจีน

Nikkei Asia Research รายงานตัวเลขล่าสุดของ EV ต่างชาติที่กำลังเข้ามาลงทุนตั้งฐานผลิตในไทย เป็นผู้ผลิตจีนไปแล้ว 5 เจ้า รวมมูลค่าลงทุนกว่า 8.5 หมื่นล้านบาท โดยมีกำลังผลิตรวมแล้วทะลุ 4 แสนคันต่อปี

  • SAIC มูลค่าลงทุนสร้างโรงงานครบวงจร 30,000 ล้านบาท ตั้งเป้าผลิต 100,000 คันต่อปี เริ่มดำเนินการ พฤศจิกายน 2566 
  • GWM มูลค่าลงทุนสร้างโรงงานครบวงจร 22,600 ล้านบาท ตั้งเป้าผลิต 120,000 คันต่อปี เริ่มดำเนินการ มกราคม 2567 
  • BYD มูลค่าลงทุนสร้างโรงงานครบวงจร 17,900 ล้านบาท ตั้งเป้าผลิต 150,000 คันต่อปี เริ่มดำเนินการ มิถุนายน 2567 
  • GAC AION มูลค่าลงทุนสร้างโรงงานครบวงจร 6,000 ล้านบาท ตั้งเป้าผลิต 20,000 คันต่อปี ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้างและเตรียมเริ่มดำเนินการภายในปี 2567 
  • CHANGAN มูลค่าลงทุนสร้างโรงงานครบวงจร 8,800 ล้านบาท ตั้งเป้าผลิต 100,000 คันต่อปี ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้างและเตรียมเริ่มดำเนินการภายในปี 2568

นอกจากจีนแล้ว ยังมีผู้ผลิตสัญชาติอื่นที่เข้ามาในประเทศไทย ทั้ง Honda ผู้ผลิตจากญี่ปุ่นที่ได้ประกาศเข้ามาดำเนินการในไทยตั้งแต่ปี 2566 แต่ยังไม่มีการเปิดมูลค่าลงทุนและเป้ากำลังผลิต รวมถึง Foxconn ผู้ผลิตจากไต้หวันที่เข้ามาจับมือกับ ปตท. โดยมีตัวเลขลงทุน 36,100 ล้านบาท ตั้งเป้าผลิต 50,000 คันต่อปี เริ่มดำเนินการ พฤศจิกายน 2567

ttb analytics ได้ประเมินแนวโน้มการใช้รถ EV ในระยะต่อไปที่จะยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปี 2567 จะอยู่ที่ 103,182 คัน หรือขยายตัว 36.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทำให้ส่วนแบ่งตลาดรถ EV เพิ่มสูงขึ้นเป็น 13.4% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมดเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ 9.8%  โดยต้นปี 2567 พบว่า ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 31.64% ในเดือนมกราคม-พฤษภาคมจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แม้ว่ายอดขายรถยนต์โดยรวมจะลดลง 23.8% นอกจากนี้ยอดทั้งหมดยังเป็นรถยนต์นำเข้าอย่างน้อย 30% ในแต่ละเดือนในปีนี้ 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ด้านความเคลื่อนไหวล่าสุดอย่าง BYD ผู้ผลิตรถ EV รุ่นยอดนิยมในประเทศไทยอย่าง BYD ATTO3 และ BYD Seal ที่ครองตลาด EV ในประเทศไทยถึง 40% ได้เปิดตัวโรงงานในประเทศไทยที่มีกำลังผลิต 150,000 คันต่อปีในจังหวัดระยอง โดยตั้งเป้าหมายให้โรงงานแห่งนี้เป็นศูนย์กลางในการส่งมอบไปยังประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อนหน้านี้ BYD จะส่งมอบไปยังยุโรปด้วย 

ในงานเปิดตัววันแรก BYD เปิดเผยว่า บริษัทต้องเผชิญกับการเก็บภาษีเพิ่มเติม 10% ในยุโรป ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดส่งออกที่สำคัญที่สุดของจีน เพราะความพยายามในการต่อต้านอุตสาหกรรมยานยนต์ของจีนที่กำลังสร้างซัพพลายที่ล้น ซึ่งนั้นอาจทำให้รถ EV จำนวนมหาศาลถูกส่งไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น โดยเฉพาะประเทศไทย เนื่องจากไม่สามารถส่งไปยุโรปได้

อย่างไรก็ตามปฏิเสธไม่ได้ว่าการปรับลดราคาลงกว่า 300,000 บาทครั้งล่าสุดของ BYD ได้โหมกระหน่ำความร้อนแรงให้กับตลาด EV ในประเทศไทยอีกครั้งว่ากลยุทธ์การขายดังกล่าวสร้างผลกระทบต่อผู้บริโภคมากน้อยแค่ไหน มากไปกว่านั้นยังสร้างผลกระทบต่อผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นๆ ในประเทศไทยหรือไม่

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ - https://www.facebook.com/ThairathMoney 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์