แม้ตลาดเติบโตเร็วแต่จะมีรถ EV จีน เพียง 19 จาก 137 แบรนด์เท่านั้นที่สามารถทำกำไรได้ ภายใน 10 ปีนี้

Tech & Innovation

Tech Companies

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

แม้ตลาดเติบโตเร็วแต่จะมีรถ EV จีน เพียง 19 จาก 137 แบรนด์เท่านั้นที่สามารถทำกำไรได้ ภายใน 10 ปีนี้

Date Time: 11 ก.ค. 2567 16:12 น.

Video

ศิรเดช โทณวณิก Gen 3 ดุสิตธานี ธุรกิจที่เป็นมากกว่าโรงแรม | On The Rise

Summary

  • จะมีแบรนด์ EV ของจีนเพียง 19 จาก 137 แบรนด์ ที่จะสามารถทำกำไรได้ในช่วงสิ้นทศวรรษนี้ ส่งผลให้แบรนด์บางส่วนที่ไม่มีกำไรต้องออกจากตลาด หรือไปลงเล่นในตลาดที่เล็กลงแทน ปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดสถานการณ์นี้คือ "สงครามราคา" ที่ผู้ผลิตรถ EV แต่ละเจ้าแข่งกันปรับราคารถลง เพื่อเรียกลูกค้า แต่สุดท้ายต้องมาตกหลุมพรางกำไรหายไป

Latest


ข้อมูลจากบริษัทให้คำปรึกษา Alixpartners เผย “จะมีแบรนด์ EV ของจีนเพียง 19 แบรนด์จาก 137 แบรนด์ ที่จะสามารถทำกำไรได้ในช่วงสิ้นทศวรรษนี้” และแบรนด์ที่ทำกำไรไม่ได้ก็อาจจะมีบางส่วนต้องออกจากตลาดไป หรืออาจจะไปสู้กันต่อในตลาดที่เล็กลง

“สงครามราคา EV” ในประเทศดำเนินมาต่อเนื่องเกือบ 2 ปีแล้ว ส่งผลให้เกิดแรงกดดันกับผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศบางราย อีกทั้งยังมีการแข่งขันของ 2 เจ้าใหญ่ ทั้ง BYD และ Tesla ที่กำลังแย่งส่วนแบ่งในตลาดยานยนต์ไฟฟ้าโลก

สตีเฟน ดายเออร์ กรรมการผู้จัดการ Alixpartners ในเซี่ยงไฮ้ กล่าวว่า “ตราบใดที่ผู้เล่นรายใหญ่ อย่าง BYD ยังคงมีอัตราส่วนกำไรขั้นต้น มีความเป็นไปได้สูงว่าสงครามราคาจะดำเนินต่อไปอีก”

ราคาขายยานยนต์ไฟฟ้าในจีน ลดลงมา 13.4% ในปีที่ผ่านมา ในขณะที่มาร์จิ้นเฉลี่ยของผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 6.3% ในปี 2022 มาเป็น 7.8% ในปี 2023 โดยโรงงานผู้ผลิต EV ต้องตัดต้นทุนการผลิตบางส่วนออกไป พร้อมกับเร่งการผลิตโมเดลใหม่ๆ ออกมาในตลาดให้เร็วขึ้น

Alixpartners ยังเผยอีกว่า ภายในสิ้นปี 2030 ผู้ผลิตยานยนต์ของจีนจะถือสัดส่วนในตลาดยานยนต์โลกประมาณ 33% และจะถือยอดขายยานยนต์พลังงานทางเลือกใหม่อยู่ที่ 45% ทั่วโลก แต่ในตลาดยุโรป มีคาดการณ์ว่า ส่วนแบ่งในตลาดของแบรนด์ EV จีนจะลดลงเหลือ 12% จาก 15% มีผลมาจากการขึ้นภาษีนำเข้ายานยนต์จากจีน

นอกจากนี้ ยังมีการเปิดเผยถึงข้อได้เปรียบของจีน ที่ทำให้ปัจจุบันสามารถขึ้นมาเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดยานยนต์ไฟฟ้า ไว้ว่า

  • จีนยอมเสี่ยง และเล่นเกมเร็ว แม้ช่วงแรกยังไม่มีกฎหมายหรือการกำกับดูแลที่เต็มที่ แต่ผู้ผลิตก็ยอมเสี่ยง ส่งผลให้ต่อมามีกฎเกณฑ์ต่างๆ ออกมารองรับ
  • รัฐบาลจีนสนับสนุนอย่างเต็มที่ ในการพัฒนาแบตเตอรี่ และชิ้นส่วนเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต EV
  • แยกส่วนการผลิตฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เพื่อลดต้นทุน มีผู้ผลิตหลายรายแยกไปในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ และได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลท้องถิ่น
  • วัฒนธรรมทำงานนอกเวลาส่งผลดี ให้การผลิตเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว โดยพนักงานที่อยู่ในอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์สามารถทำงานล่วงเวลาได้มากถึง 140 ชั่วโมงต่อเดือน ในขณะที่เจ้าอื่น ๆ ทั่วโลกทำงานนอกเวลาอยู่ที่ 20 ชั่วโมงต่อเดือน

อ้างอิง: Bloomberg

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ - https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์