คนไทยไปญี่ปุ่นใช้ TrueMoney สแกนจ่ายได้ หลัง Alipay+ หนุนร้านค้า 2 ล้านแห่ง ชำระเงินผ่าน QR code

Tech & Innovation

Tech Companies

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

คนไทยไปญี่ปุ่นใช้ TrueMoney สแกนจ่ายได้ หลัง Alipay+ หนุนร้านค้า 2 ล้านแห่ง ชำระเงินผ่าน QR code

Date Time: 1 เม.ย. 2567 18:02 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Summary

  • - ธุรกรรมที่ขับเคลื่อนโดย Alipay+ (อาลีเพย์พลัส) ในประเทศญี่ปุ่นพุ่งทะลุ 200% ภายใน 3 สัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม 2567 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2566
  • - คาดว่าการใช้จ่ายผ่านอีวอลเล็ต และแอปฯ ธนาคารที่เป็นพันธมิตรของอาลีเพย์พลัส 16 รายการ จะคิดเป็น 10% ของยอดใช้จ่ายทั้งหมดในกลุ่มผู้ใช้งานในญี่ปุ่น
  • - อาลีเพย์ AlipayHK (อาลีเพย์ ฮ่องกง) KakaoPay (คาเคาเพย์) Touch 'n Go e-wallet (ทัชแอนด์โก อีวอลเล็ต) GCash (จีแคช) และ TrueMoney (ทรูมันนี่) คืออีวอลเล็ตที่นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปญี่ปุ่นนิยมใช้มากที่สุด ขณะที่ MPay (เอ็มเพย์) Naver Pay (เนเวอร์ เพย์) และ Toss (ทอส) มีจำนวนธุรกรรมที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว
  • - อาลีเพย์พลัสได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรรับบัตรในญี่ปุ่นกว่า 40 แห่ง เพื่อเชื่อมโยงและให้บริการร้านค้าต่างๆ

Latest


ขณะที่ร้านค้าในญี่ปุ่นเตรียมรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกที่เดินทางมาชมซากุระบาน แอนท์ อินเตอร์เนชั่นแนลได้ประกาศว่า Alipay+ (อาลีเพย์พลัส) โซลูชันชำระเงินข้ามพรมแดนผ่านมือถือของบริษัท ได้เชื่อมโยงร้านค้า 2 ล้านแห่งทั่วประเทศญี่ปุ่นได้สำเร็จ ช่วยให้ธุรกิจทั้งเล็กใหญ่ให้บริการรองรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกได้ดียิ่งขึ้นด้วยประสบการณ์การชำระเงินที่ราบรื่น ผ่านการใช้อีวอลเล็ตจากประเทศของตนเอง

โดยอีวอลเล็ต และแอปฯ ธนาคาร 16 รายการ ที่ญี่ปุ่นรับชำระผ่านอาลีเพย์พลัส ซึ่งเป็นกลุ่มโซลูชันการชำระเงินดิจิทัลข้ามพรมแดน และเทคโนโลยี digitalization (ดิจิทัลไลเซชัน) ได้แก่ อาลีเพย์ จากจีน AlipayHK (อาลีเพย์ ฮ่องกง จากฮ่องกง) MPay (เอ็มเพย์ จากมาเก๊า) Kakao Pay (คาเคา เพย์ จากเกาหลีใต้) Naver Pay (เนเวอร์ เพย์ จากเกาหลีใต้) Toss (ทอส จากเกาหลีใต้) OCBC Digital (โอซีบีซี ดิจิทัล จากสิงคโปร์) Changi Pay (ชางงี เพย์ จากสิงคโปร์) EZ-Link (อีซี่ลิงก์ สิงคโปร์) Touch 'n Go eWallet (ทัชแอนด์โก อีวอลเล็ต จากมาเลเซีย) MyPB by Public Bank Berhad (มายพีบี โดยพับลิค แบงก์ เบอร์ฮาด จากมาเลเซีย) GCash (จีแคช จากฟิลิปปินส์) HelloMoney (เฮลโหลมันนี่ จากฟิลิปปินส์) TrueMoney (ทรูมันนี่ จากประเทศไทย) Hipay (ไฮเพย์ จากมองโกเลีย) และ Tinaba (ทีนาบา จากอิตาลี)

คุณ Douglas Feagin, President, แอนท์ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า “ปริมาณการทำธุรกรรมผ่านอีวอลเล็ต และแอปฯ ธนาคาร ซึ่งขับเคลื่อนโดยอาลีเพย์พลัสในญี่ปุ่นเติบโตแบบก้าวกระโดดกว่า 200% ในช่วงสามสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 โดยคาดว่ามูลค่าธุรกรรมจะคิดเป็นประมาณ 10% ของยอดใช้จ่ายทั้งหมดในกลุ่มผู้ที่ใช้งานระหว่างที่อยู่ในญี่ปุ่น”

อาลีเพย์, อาลีเพย์ ฮ่องกง, คาเคา เพย์, ทัชแอนด์โก อีวอลเล็ต, จีแคช และทรูมันนี่ คืออีวอลเล็ตที่นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปญี่ปุ่นนิยมใช้มากที่สุด ขณะที่เอ็มเพย์, เนเวอร์ เพย์ และทอสมีจำนวนธุรกรรมที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

"การทำงานร่วมกับพันธมิตรเหล่านี้ ทำให้อาลีเพย์พลัสช่วยให้นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกได้รับประสบการณ์การชำระเงินดิจิทัลที่ราบรื่นเหมือนที่ประเทศตนเอง โดยนักท่องเที่ยวสามารถซื้อสินค้าได้ เพียงแค่สแกนรหัส QR ที่ร้านค้า ไม่ว่าจะร้านเล็กหรือร้านใหญ่ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องแลกเงินสกุลต่างประเทศ หรืออุปสรรคด้านภาษาใดๆ"

ในย่านอาซากุสะอันคึกคัก ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่มีร้านขายของที่ระลึก และแผงขายขนมเล็กๆ ร้านค้าต่างๆ ทำธุรกิจโดยใช้ประโยชน์จากความใช้งานง่ายของรหัส QR มากขึ้น เพย์เพย์ ซึ่งเป็นบริการชำระเงินแบบไร้เงินสดชั้นนำ และพันธมิตรของอาลีเพย์พลัสในญี่ปุ่น ให้การสนับสนุนบรรดาร้านค้า อำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมที่ราบรื่นสำหรับทั้งคนในท้องถิ่นเองและนักท่องเที่ยว ย่านอาซากุสะมีปริมาณธุรกรรมข้ามพรมแดนผ่านมือถือต่อเดือนสูงกว่าค่าเฉลี่ยกว่า 5 เท่า สะท้อนถึงแนวโน้มการชำระเงินไร้เงินสดที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่

ที่ห้างสรรพสินค้า ไดมารู มัตสึซาคายะ ซึ่งเป็นเครือห้างสรรพสินค้าชั้นนำในญี่ปุ่น ปริมาณธุรกรรมบนอีวอลเล็ต และแอปฯ ธนาคารพันธมิตรอาลีเพย์พลัส เพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่า ในช่วงสองเดือนแรกของปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว

คุณมนสินี นาคปนันท์, กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม), แอสเซนด์ มันนี่ ผู้ให้บริการทรูมันนี่ กล่าวว่า “ประเทศญี่ปุ่นติดอันดับหนึ่งในจุดหมายปลายทางยอดนิยมที่มีนักท่องเที่ยวชาวไทยประมาณ 1 ล้านคนในแต่ละปี เรายินดีที่ได้ร่วมงานกับอาลีเพย์พลัสเพื่อสร้างการชำระเงินข้ามพรมแดนที่ครอบคลุมมากขึ้น และช่วยให้ชาวไทยเพลิดเพลินกับการชำระเงินที่ปลอดภัย เรียลไทม์ และคุ้มต้นทุน ด้วยทรูมันนี่ วอลเล็ตที่ชาวไทยคุ้นเคยเหมือนอยู่ที่บ้าน การเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เชื่อมโยงกับร้านค้าในญี่ปุ่นทุกขนาด จะช่วยเปิดประสบการณ์ท่องเที่ยวสัมผัสวัฒนธรรม และพบปะผู้คนในท้องถิ่น ช่วยให้เป็นทริปที่น่าจดจำมากขึ้น”

แอนท์ อินเตอร์เนชั่นแนลเปิดตัว อาลีเพย์พลัส ในปี 2563 ปัจจุบันเชื่อมโยงร้านค้ากว่า 88 ล้านราย ใน 57 ประเทศและภูมิภาค กับบัญชีผู้ใช้จ่าย 1.5 พันล้านบัญชี ผ่านอีวอลเล็ต และแอปฯ ธนาคารกว่า 25 รายการ ช่วยให้ผู้บริโภคเดินทาง และชำระเงินทั่วโลกได้อย่างไร้กังวล อีกทั้งช่วยให้ร้านค้าเชื่อมต่อกับผู้บริโภคข้ามพรมแดน และทำการตลาดดิจิทัลได้

บริการดังกล่าวต่อยอดจากพันธมิตรระดับภูมิภาคที่กว้างขวางต่างๆ ของอาลีเพย์พลัส รวมถึงพันธมิตรที่มีโครงการ QR ระดับชาติ เช่น SGQR ของสิงคโปร์ PayNet ของมาเลเซีย ZeroPay ของเกาหลีใต้ LankaPay ของศรีลังกา และ KHQR ของกัมพูชา


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์