อีลอน มัสก์ ยื่นฟ้อง OpenAI ฐานทำให้ AI เป็นภัยมนุษย์ หลังให้ Microsoft ถือหาง หวังแต่สร้างกำไร

Tech & Innovation

Tech Companies

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

อีลอน มัสก์ ยื่นฟ้อง OpenAI ฐานทำให้ AI เป็นภัยมนุษย์ หลังให้ Microsoft ถือหาง หวังแต่สร้างกำไร

Date Time: 1 มี.ค. 2567 19:28 น.

Video

บิทคอยน์ VS เงินในกระเป๋าเกี่ยวกันยังไง ? | Digital Frontiers

Summary

  • อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ยื่นฟ้อง OpenAI และแซม อัลต์แมน (Sam Altman) ซีอีโอ ข้อหาไม่ทำตามข้อตกลงของการก่อตั้งบริษัท พร้อมกล่าวหาว่า การจับมือกับ Microsoft ทำลายพันธกิจเดิมของ OpenAI ที่หันไปให้ความสำคัญกับผลกำไรมากกว่าการสร้างประโยชน์ให้กับมนุษยชาติ

Latest


มัสก์ยื่นต่อศาลซานฟรานซิสโก เรียกร้องให้ตรวจสอบโมเดล GPT และมุ่งเป้าไปที่ความวุ่นวายในปีท่ีแล้ว หลังบอร์ดบริหาร OpenAI ประกาศปลดอัลต์แมนออกจากตำแหน่งซีอีโอ อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ดังกล่าวจบด้วยการคืนสู่ตำแหน่งซีอีโอ รวมถึง เกร็ก บรอกแมน (Greg Brockman) ที่จะกลับมารับตำแหน่งประธานบริษัทอีกครั้งเช่นเดียวกัน 

พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ นำโดย เบร็ต เทย์เลอร์ (Bret Taylor) อดีตซีอีโอร่วมของ Salesforce เข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการ ร่วมด้วย แลร์รี ซัมเมอร์ส (Larry Summers) อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสหรัฐอเมริกา และ อดัม ดีแองเจิลโล (Adam D'Angelo) ซีอีโอ Quora หนึ่งในคณะกรรมการชุดก่อนที่ขับไล่แซมซึ่งจะอยู่ในบอร์ดชุดใหม่ต่อ 

โดย Microsoft ซึ่งเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดของ OpenAI ที่ไม่เคยมีตำแหน่งในคณะกรรมการชุดก่อนได้เข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ที่ไม่ได้ลงคะแนนเสียง (non-voting observer) ในคณะกรรมการชุดใหม่นี้ด้วย 

มัสก์กล่าวหาว่า อัลต์แมน และ Microsoft ร่วมกันขับไล่คณะกรรมการส่วนใหญ่ในชุดเก่าซึ่งให้ความสำคัญเรื่องจริยธรรม AI และมีหน้าที่รับผิดชอบให้ OpenAI สานต่อภารกิจดั้งเดิมในการพัฒนา AGI เพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ พร้อมบอกว่า เทคโนโลยีจะอยู่ในมือของบริษัทขนาดใหญ่ที่แสวงหาผลกำไร ซึ่งถูกรวบรวมไว้อย่างไม่เหมาะสม 

 “OpenAI จะทำให้ AGI เพิ่มผลกำไรสูงสุดให้กับ Microsoft มากกว่าเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ”  

มัสก์ คือหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง OpenAI ในปี 2015 พร้อมทั้งสนับสนุนด้านเงินทุนให้กับ OpenAI ในช่วงเริ่มแรกก่อนออกจากคณะกรรมการในปี 2018 ก่อนที่ OpenAI จะเปลี่ยนสถานะเป็นบริษัทที่แสวงหาผลกำไร เพราะการทับซ้อนของผลประโยชน์ระหว่าง Tesla และ OpenAI รวมถึงความขัดแย้งระหว่างเป้าหมายและทิศทางขององค์กรที่ไม่สอดคล้องกัน 

เดิมที OpenAI จัดตั้งขึ้นในฐานะบริษัทวิจัยด้าน AI ที่ไม่แสวงหาผลกำไร (Non-Profit) ด้วยเป้าหมายยิ่งใหญ่ คือ การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ให้ไปสู่ระดับ Artificial general intelligence (AGI) ที่ปลอดภัยเพื่อมนุษยชาติ  

โดยต่อมาแซมตระหนักดีว่าการดำเนินงานในฐานะองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร อาจทำให้ OpenAI ไปไม่ถึงเป้าหมาย ทำให้ในปี 2019 อัลต์แมน ตั้งบริษัทใหม่ “OpenAI Global LLC,” ให้เป็นลูกผสมระหว่างบริษัทที่แสวงหาผลกำไรและไม่แสวงหาผลกำไร โดยเรียกว่า “บริษัทต่อยอดผลกำไร” (Capped-profit company) เพื่อให้บริษัทสามารถเพิ่มเงินลงทุนใหม่ได้ทันใช้มากกว่า 

อย่างไรก็ตามหลังจากนั้น มัสก์ก็เริ่มวิจารณ์ทิศทางการทำงานของอัลต์แมนอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ มัสก์เองยังถือไพ่ฝั่งของผู้ที่สนับสนุนให้ชะลอการพัฒนา Generative AI และชี้ให้เห็นถึงความอันตรายของเทคโนโลยี โดยเฉพาะการพัฒนา AGI อย่างไม่ถูกต้อง หลังจาก OpenAI เปิดตัว ChatGPT ซึ่งตามมาด้วยกระแส AI ทั่วโลก 

ทำความเข้าใจโครงสร้าง OpenAI และการเข้ามาลงทุนของ Microsoft เข้าใจโครงสร้าง OpenAI ไขปมขัดแย้งผลประโยชน์ 

อ้างอิง BloombergFinancial Times 

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ - https://www.facebook.com/ThairathMoney 

 

 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ