สหรัฐฯ เล็งกำกับ Big Tech ทำธุรกิจฟินเทค ภายใต้กฎเดียวกับธนาคาร ชี้ ยังขาดมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค

Tech & Innovation

Tech Companies

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

สหรัฐฯ เล็งกำกับ Big Tech ทำธุรกิจฟินเทค ภายใต้กฎเดียวกับธนาคาร ชี้ ยังขาดมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค

Date Time: 9 ม.ค. 2567 17:55 น.

Video

“ไทยรัฐ โลจิสติคส์” ถอดคราบ “ยักษ์เขียว” มุ่งสู่ขนส่งครบวงจร | Thairath Money Talk

Summary

  • สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงินของสหรัฐฯ หรือ CFPB เสนอให้มีกฎระเบียบควบคุมบริษัทเทคโนโลยีที่มีบริการรับชำระเงินและกระเป๋าเงินดิจิทัล ซึ่งเป็นคู่แข่งธนาคาร แต่ยังขาดมาตรการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค

Latest


หน่วยงานเฝ้าระวังของสหรัฐฯ มีแผนกำกับดูแลบริษัทอย่าง Apple และ Google ซึ่งมีบริการกระเป๋าเงินดิจิทัล (Digital Wallet) และแอปฯ ชำระเงินที่เสี่ยงต่อการขัดขวางนวัตกรรมและกีดกันผู้เล่นบางรายออกจากตลาด

โดยในเดือนพฤศจิกายน ปีที่ผ่านมา สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงินของสหรัฐฯ หรือ CFPB ได้เสนอให้มีการออกกฎระเบียบเพื่อควบคุมบริการชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟนและกระเป๋าเงินดิจิทัลของเหล่าบริษัทเทคยักษ์ใหญ่ ที่เข้ามาเบียดผู้ให้บริการชำระเงินที่มีอยู่ในตลาด แต่ยังขาดมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค

ข้อเสนอจาก CFPB จะทำให้บริษัทเทคอย่าง Alphabet (GooglePay), Apple (ApplePay), PayPal และ Block (Cash App) ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลเช่นเดียวกับธนาคาร และถูกตรวจสอบการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว ตลอดจนจรรยาบรรณของผู้บริหาร และการปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อป้องกันการกระทำอันไม่เป็นธรรมและหลอกลวง

และหากข้อเสนอได้รับการสรุป ในท้ายที่สุด กฎการกำกับดูแลจะครอบคลุมบริษัทราว 17 แห่ง ที่มีการชำระเงินรวมกันมากกว่า 1.3 หมื่นล้านครั้งต่อปี

ทั้งนี้ สำนักข่าว Reuters ได้รายงานแถลงการณ์จาก Krisztian Katona หัวหน้าฝ่ายนโยบายกำกับดูแลของสมาคมอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร (CCIA) ซึ่งมี Amazon, Meta, Apple, Google และ X เป็นหนึ่งในสมาชิก 

โดยระบุว่า ข้อเสนอจาก CFPB นั้นเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดีจากกฎระเบียบที่กว้าง และยุ่งยาก หรือเข้มงวดมากเกินไป ซึ่งอาจขัดขวางสตาร์ทอัพเกิดใหม่ในอุตสาหกรรม

ขณะเดียวกัน CCIA ก็ระบุในจดหมายที่จะส่งไปยัง CFPB อีกว่า ข้อเสนอของหน่วยงานนั้นล้มเหลวในการระบุความเสี่ยงต่อผู้บริโภค และการพิจารณาว่าผู้ให้บริการที่ไม่ใช่ธนาคาร และธนาคารเป็นคู่แข่งกันโดยตรงนั้นก็เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะมีหลายกรณีที่แสดงให้เห็นว่าการทำงานร่วมกันระหว่างทั้งสองฝ่าย ได้กลายเป็นบริการเสริมที่เป็นผลดีกับผู้บริโภค

ขณะที่สมาคมฟินเทคสหรัฐฯ (FTA) ก็ได้เผยข้อกังวลที่คล้ายกันว่า กฎระเบียบที่มีอยู่นั้นเพียงพอแล้ว พร้อมเรียกร้องให้ CFPB ชะลอกระบวนการพิจารณากฎเกณฑ์ออกไปก่อน

อ้างอิง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ