Google แพ้คดี Epic Games ผูกขาด Play Store อาจต้องปรับโมเดลเก็บเงิน แต่ก็ไม่กระทบรายได้เท่าไร

Tech & Innovation

Tech Companies

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

Google แพ้คดี Epic Games ผูกขาด Play Store อาจต้องปรับโมเดลเก็บเงิน แต่ก็ไม่กระทบรายได้เท่าไร

Date Time: 13 ธ.ค. 2566 15:10 น.

Video

เปิดทริกวางแผนการเงิน เพื่อชีวิตที่มีประสิทธิภาพ

Summary

  • ศาลสหรัฐฯ ตัดสินให้ Epic Games ผู้สร้างเกม Fortnite ชนะคดีฟ้องร้อง Google จากกรณีใช้อำนาจผูกขาดในการทำข้อตกลงกับบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ และเรียกเก็บเงินจากแอปฯ ที่ซื้อขายบน Google Play Store ในอัตราสูง

Latest


ศาลสหรัฐฯ ตัดสินเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ให้ Epic Games ผู้สร้างเกมดังอย่าง Fortnite ชนะคดีฟ้องร้อง Google จากพฤติกรรมการผูกขาดที่ผิดกฎหมาย และเรียกเก็บเงินจากนักพัฒนาแอปฯ บน Google Play Store ในอัตราที่สูงถึง 30%

การฟ้องร้องระหว่าง Epic Games และ Google นั้นเริ่มมาตั้งแต่ปี 2020 ซึ่งทางผู้พัฒนาเกมดังระบุว่า Google ใช้อำนาจผูกขาดในการทำข้อตกลงกับบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ และเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้บริโภค โดย Google ได้ทำการเก็บเงินจากการซื้อขายบน Play Store อยู่ที่ราว 15-30%

ซึ่ง Epic Games ก็พยายามหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียม โดยเรียกเก็บจากผู้ใช้โดยตรงเมื่อซื้อเกมฮิตอย่าง Fortnite ซึ่ง Google ก็ได้ถอดเกม Fortnite ออกจาก Play Store จนเกิดการฟ้องร้องตามมาถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ Epic Games ก็ได้ฟ้องร้อง Apple ในกรณีเดียวกัน แต่แพ้ไปจากคำตัดสินของศาลอุทธรณ์ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ผลการตัดสินดังกล่าวอาจต้องใช้เวลาสักพักกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้นกับ Play Store และเป็นไปได้ว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อรายได้ในระดับรุนแรง แต่ก็อาจจะส่งผลต่อกรณีการผูกขาดอื่นๆ ที่ Google เคยโดนฟ้อง

และชัยชนะของ Epic Games ในครั้งนี้ อาจทำให้ Google ต้องเปลี่ยนรูปแบบการเรียกเก็บเงินบน Play Store ซึ่งจะไม่สามารถบังคับให้ผู้พัฒนาแอปฯ ใช้ระบบการเก็บเงินของ Google เป็นเงื่อนไขในการจำหน่ายผ่าน Play Store ทั้งยังอาจทำให้ Google ต้องเปลี่ยนแปลงค่าบริการ 15-30% ที่เรียกเก็บในแอปฯ

ก่อนหน้านี้ Google ยังเคยถูกฟ้องโดยกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ กับอัยการใหญ่อีก 11 รัฐทั่วสหรัฐฯ จากกรณีผูกขาดบริการค้นหา (Search) และโฆษณาบนระบบค้นหา (Search Advertising) โดยระบุว่า Google จ่ายเงินปีละหลายพันล้านดอลลาร์ให้กับ Apple, LG, Motorola และ Samsung รวมถึงผู้ให้บริการเว็บเบราว์เซอร์อื่นๆ เพื่อให้ Google เป็นเครื่องมือค้นหาเริ่มต้น ซึ่งทำให้กูเกิลครองส่วนแบ่งตลาดเสิร์ชเอนจินในสหรัฐฯ มากถึง 80%

ขณะเดียวกันในปี 2021 หน่วยงานกำกับดูแลการต่อต้านการผูกขาดของเกาหลีใต้มีคำสั่งปรับ Google เป็นเงิน 177 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือประมาณ 5.8 พันล้านบาท) โดยระบุว่า Google กดดันให้บริษัทผู้ผลิตสมาร์ทโฟนอย่าง Samsung ติดตั้งระบบปฏิบัติการ ซึ่งเป็นการจำกัดการแข่งขันและขัดขวางการใช้ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยเจ้าอื่น

นอกจากนี้ยังมีคดีฟ้องร้องจากสหภาพยุโรป (EU) ว่ามีพฤติกรรมละเมิดกฎการป้องกันการผูกขาดในเทคโนโลยีการโฆษณา (AdTech) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ใช้งานและเป็นตัวกลางในการโฆษณาบนโลกออนไลน์ พร้อมกับขายพื้นที่โฆษณา ซึ่งทำให้มีบทบาทอยู่ในทุกระดับในซัพพลายเชนของ Adtech

อ้างอิง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ