airasia Digital รีแบรนด์เป็น MOVE รุกธุรกิจการเงิน ผนวก BigPay เตรียมพัฒนารองรับคริปโตฯ ในอนาคต

Tech & Innovation

Tech Companies

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

airasia Digital รีแบรนด์เป็น MOVE รุกธุรกิจการเงิน ผนวก BigPay เตรียมพัฒนารองรับคริปโตฯ ในอนาคต

Date Time: 18 ก.ย. 2566 17:56 น.

Video

เปิดทริกวางแผนการเงิน เพื่อชีวิตที่มีประสิทธิภาพ

Summary

  • โทนี่ เฟอร์นานเดส หัวเรือใหญ่ Capital A ประกาศรีแบรนด์ดิ้งหน่วยงานดิจิทัลครั้งใหญ่ รวมธุรกิจ BigPay เข้ากับ airasia Superapp เพื่อรองรับการให้บริการด้านการเงิน และเทคโนโลยีการเงินใหม่ๆ ในอนาคต ตอกย้ำเป้าหมายการเป็นผู้นำแพลตฟอร์มด้านการท่องเที่ยวและการเดินทางยุคใหม่

Latest


โทนี่ เฟอร์นานเดส ผู้ร่วมก่อตั้งสายการบินแอร์เอเชียและหัวเรือใหญ่ Capital A  เปิดเผย กลยุทธ์ธุรกิจหลักหลังจากนี้ คือ การสร้างการเติบโตให้กับหน่วยงานด้านดิจิทัล ซึ่ง MOVE มุ่งมั่นที่จะปฏิวัติภาคการท่องเที่ยวและบริการทางการเงิน โดยการใช้ชื่อว่า MOVE สื่อถึง ‘การสัญจรเดินทาง’ ของผู้คน และสะท้อนถึงพันธกิจใน ‘การขับเคลื่อน’ นักท่องเที่ยวทั่วโลก รวมถึงนวัตกรรม และเทคโนโลยีของกรุ๊ป 

Revolutionize Travel เป็นซูเปอร์แอปฯ ด้านท่องเที่ยวที่เหนือชั้น

MOVE Digital Sdn Bhd (เดิมชื่อ airasia Digital Sdn Bhd) คือ บริษัทดิจิทัลในเครือ Capital A Berhad ครอบคลุมธุรกิจ 2 ธุรกิจ ได้แก่ airasia Superapp และ BigPay โดยการปรับเปลี่ยนในครั้งนี้ บริษัทฯ ทำการเปลี่ยนชื่อเป็น MOVE Digital หรือ MOVE ซึ่งรวมถึง airasia Superapp ที่จะเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "airasia move" รวมถึงโลโก้แบรนด์ที่จะเปลี่ยนเป็น “MOVE” ตัวอักษรใหญ่สีเขียวทั้งหมด

สำหรับโครงสร้างการบริหารงานใหม่มีการแต่งตั้ง นาเดีย โอมาร์ เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ของ airasia move ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคมนี้เป็นต้นไป โดย ซูบิน ราดา คริชนาน จะยังดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม BigPay และ โมฮาหมัด ฮาฟิดซ์ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งรักษาการณ์ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ airasia Superapp จะยังคงเป็นผู้นำธุรกิจต่อไปในระหว่างนี้

ทั้งนี้ โทนี่ เฟอร์นานเดส จะเข้ารับตำแหน่งประธานกรรมการบริหารของ MOVE ในตำแหน่งนี้เขาจะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนความร่วมมืออย่างใกล้ชิด เพื่อพัฒนาศักยภาพธุรกิจด้านดิจิทัล พร้อมทำให้ airasia move และ BigPay ถึงจุดคุ้มทุนตามเป้าหมายและเติบโตต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ 

"BigPay สร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองในฐานะ FinTech ผู้ให้บริการนวัตกรรมทางการเงินที่เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ โดยปัจจุบัน BigPay มีผู้ใช้บัตรและทำธุรกรรม 1.4 ล้านรายทั่วมาเลเซียและสิงคโปร์ ตั้งใจสร้างการเข้าถึงบริการทางเงินดิจิทัลที่โปร่งใส เรียบง่าย และปลอดภัย ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่การชำระเงินดิจิทัล เครดิตการ์ด ไปจนถึงการโอนเงินระหว่างประเทศ การประกันภัยรายย่อย สินเชื่อส่วนบุคคล การออม และการจัดทำ Smart budgeting" 

การบูรณาการฟีเจอร์หลักของ BigPay จะช่วยสนับสนุนระบบการชำระเงินทุกอย่างภายในระบบนิเวศของ airasia Superapp เดิม ทำให้การทำธุรกรรมมีความยืดหยุ่น ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแอปฯ และทำให้ประสบการณ์ในการท่องเที่ยวระหว่างประเทศไร้รอยต่อมากยิ่งขึ้น ครบ จบ ในที่เดียว 

Leading the Charge in Travel & FinTech Together

ต่อเนื่องด้วยการปรับทิศทางธุรกิจให้อยู่ในเส้นทางเดียวกันมากขึ้น โดยมีเป้าหมายหลัก คือ การยกระดับทุกมิติของประสบการณ์ในการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพขึ้นด้วยบริการ ก้าวสู่ผู้สร้างแพลตฟอร์มเทคโนโลยีให้บริการด้านท่องเที่ยวและการก้าวสู่สนามเทคโนโลยีทางการเงิน โดยบริการที่ผู้ใช้จะได้รับ อาทิ

  • การรองรับการชำระเงินทุกรูปแบบ P2P Payment, QR Payments, ATM Transactions, VISA Card, Virtual Visa card
  • บริการ E-Wallet กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้ใช้สามารถเติม เก็บ และเช็กยอดเงิน เพื่อใช้จ่ายซื้อสินค้า และบริการทุกรูปแบบ (Balance-Top up-Payment) 
  • การโอนเงินระหว่างบัญชีในประเทศ รวมถึงธุรกรรมจากธนาคารระดับโลกที่ให้บริการระหว่างประเทศผ่านแอปพลิเคชันได้เลย 
  • ผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคล ประกันภัยการท่องเที่ยวและวัตถุประสงค์อื่น ๆ ที่จัดสรรความต้องการได้หลากหลายเฉพาะบุคคล ซึ่งเป็นฟีเจอร์สำคัญของ BigPay 
  • บริการแบ่งจ่ายยอดชำระเงิน, ช็อปเที่ยวก่อนจ่ายทีหลัง (Buy now pay later)
  • พื้นที่มาเก็ตเพลสขายสินค้าสำหรับพาร์ทเนอร์ทุกอุตสาหกรรม รวมถึงบริการชำระเงินสำหรับลูกค้าองค์กรธุรกิจ (Corporate payments) 

นอกจากนี้ภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ของ MOVE ที่ผนวก BigPay เข้ามา เตรียมพัฒนาฟีเจอร์เพิ่มเติมเพื่อรองรับธุรกรรมทางการเงินใรระบบนิเวศ Web3 ให้มเป็นไปได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการรองรับคริปโตฯ การเก็บและใช้จ่ายด้วยโทเค็น แต่การนำไปใช้ขึ้นอยู่กับข้อกฎหมาย และการกำกับดูแลของแต่ละประเทศ โดยปัจจุบันที่มีการอนุญาตให้นำคริปโตฯ มาใช้จ่ายได้ในอาเซียนมีเพียงแค่สิงคโปร์ที่นำร่องก่อนเท่านั้น


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ