Meta เข้ม เพิ่มบทลงโทษ-พร้อมแบน หากพบเข้าข่ายหลอกลวง-สแกมโฆษณาบน Facebook

Tech & Innovation

Tech Companies

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

Meta เข้ม เพิ่มบทลงโทษ-พร้อมแบน หากพบเข้าข่ายหลอกลวง-สแกมโฆษณาบน Facebook

Date Time: 8 ส.ค. 2566 17:46 น.

Video

ดร.พิพัฒน์ KKP กระเทาะโจทย์เศรษฐกิจไทย บุญเก่าเจอความเสี่ยง บุญใหม่มาไม่ทัน

Summary

  • Meta เปิดเผย การจัดการสแกมโฆษณา ให้ความเชื่อมั่นว่า โฆษณาบนแพลตฟอร์มของเราจะต้องมีประโยชน์ต่อผู้คนและไม่ควรถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อสนับสนุนพฤติกรรมการหลอกลวงใดๆ ตามมาตรฐานการโฆษณา (Advertising Standards)

Latest


ปัจจุบันคนไทยเผชิญกับสถานการณ์การหลอกลงทุนบนโลกออนไลน์ โดยมิจฉาชีพมักจะแอบอ้างเป็นบริษัทจดทะเบียนชื่อดัง ผู้ทรงอิทธิพล ตลอดจนหน่วยงานในภาคตลาดทุนและองค์กรที่มีชื่อเสียงและปลอมแปลงบัญชีใช้งานที่มีการดำเนินงานเหมือนจริง เพื่อหลอกลวงให้ประชาชนเข้ามาลงทุนผ่านจำนวนมากและได้สร้างความเสียหายให้กับนักลงทุน ประชาชน รวมถึงกระทบต่อทั้งเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง

โดยข้อมูลจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ระบุว่า คดีอาชญากรรมออนไลน์ที่คนตกเป็นเหยื่อสูงสุดในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งคดีหลอกลวงผ่านคอมพิวเตอร์ สูงถึง 23,545 ครั้ง และสร้างมูลค่าความเสียหายสูงสุด 1.15 หมื่นล้านบาทเลยทีเดียว 

ความเคลื่อนไหวล่าสุด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวนมากในไทย นำโดย กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงาน ก.ล.ต. องค์กรภาคตลาดทุน องค์กรธุรกิจได้แถลงร่วมกันจัดการภัยการเงินออนไลน์อย่างหนักหน่วง  

อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมานั้น จะเห็นว่าบนหน้าโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนเฟซบุ๊ก เราจะพบเห็นโพสต์ที่ประกอบไปด้วยข้อความพร้อมรูปภาพชักชวนการลงทุน และมากไปกว่านั้นบางโพสต์ได้รับการสนับสนุนหรือผ่านการซื้อสปอนเซอร์เพื่อเพิ่มมองเห็นและเข้าถึงอีกด้วย จึงเป็นที่น่าสนใจว่า Meta มีมาตรการกลั่นกรองบัญชีและโพสต์สแกมเหล่านี้อย่างไรบ้าง เพราะอันที่จริงแล้วเฟซบุ๊กก็นับเป็นจุดเกิดเหตุหนึ่ง ในฐานะที่เป็นพื้นที่ที่มีการหลอกลวงเกิดขึ้น  

ด้านโฆษก Meta เปิดเผยกับ Thairath Money ผ่านทางอีเมลว่า “เพจและบัญชีที่ปลอมแปลงเป็นบุคคลหรือแบรนด์ต่างๆ ถือเป็นการละเมิดกฎของ Meta และนับเป็นปัญหาที่มีความท้าทายเป็นอย่างสูง ซึ่ง Meta ยังคงพัฒนาเทคนิคและวิธีต่างๆ เพื่อให้เท่าทันพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปบนโลกออนไลน์ และรักษาความน่าเชื่อถือของบริการ เพื่อปกป้องผู้ใช้จากหลอกลวงและพฤติกรรมปลอมแปลงอื่นๆ” 

สำหรับประเด็นรื่อง 'การจัดการสแกมโฆษณา' (เนื้อหาที่ได้รับการสนับสนุน) Meta ให้ความเชื่อมั่นว่า โฆษณาบนแพลตฟอร์มของเราจะต้องมีประโยชน์ต่อผู้คนและไม่ควรถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อสนับสนุนพฤติกรรมการหลอกลวงใดๆ ตามมาตรฐานการโฆษณา (Advertising Standards) พร้อมประกาศชัดว่า เป้าหมายต่อไปจะมีการดำเนินการที่มากกว่า การไม่อนุญาตสแกมโฆษณาบนแพลตฟอร์ม แต่เพิ่มบทลงโทษแก่ผู้ที่มีวัตถุประสงค์ร้ายดังกล่าว ซึ่งรวมถึงการระงับบัญชีโฆษณาและไม่อนุญาตให้สร้างโฆษณาบนแพลตฟอร์มอีกในอนาคต 

“นโยบายของเราไม่อนุญาตการโฆษณาเพื่อโปรโมตสินค้า บริการ หรือข้อเสนอ ที่เข้าข่ายหลอกลวงหรือสร้างความเข้าใจที่ผิด (Misleading) ซึ่งรวมถึงการโฆษณาที่มีวัตถุประสงค์ในการล่อลวงให้ผู้คนสูญเสียทรัพย์สินหรือแชร์ข้อมูลส่วนตัว”

การตรวจจับและบังคับใช้บนแพลตฟอร์ม

โฆษก Meta เปิดเผยถึง การตรวจจับบัญชีปลอมได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยสามารถตรวจจับบัญชีปลอมแบบอัตโนมัติได้อีกหลายล้านบัญชีในเวลาเพียงไม่กี่นาทีหลังมีการสร้างบัญชีใหม่ โดยระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน 2566 เราได้จัดการบัญชีปลอมไปแล้วกว่า 426 ล้านบัญชีทั่วโลก 

“หากพบว่าบัญชีใดมีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมหลอกลวง และไม่สามารถแสดงให้เห็นว่าตนไม่ได้ใช้งานบัญชีปลอมหรือปลอมแปลงตัวตน และหากไม่ปฏิบัติตามคำขอนี้ บัญชีดังกล่าวจะไม่สามารถใช้งานและเข้าถึงผู้คนได้ หรือหากพบว่ามีการละเมิดนโยบายจริง บัญชีดังกล่าวจะถูกปิดทันที” 

นอกจากนี้ยังมีการนำเทคโนโลยี Machine Learning ตรวจจับเนื้อหาและบัญชีที่ละเมิดนโยบาย ระบบตรวจสอบดักจับพฤติกรรมน่าสงสัยและกิจกรรมที่มีลักษณะปลอมแปลงได้ในหลายๆ จุดที่มีการตอบโต้บนแพลตฟอร์ม ซึ่งรวมไปถึง การลงทะเบียน การขอเป็นเพื่อน การไลค์ และการส่งข้อความ ตลอดจนการวิเคราะห์เชิงลึกมากขึ้นเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะที่พบเห็นบ่อยของสแกมโฆษณาเหล่านี้ การนำความรู้ที่มาจากการวิเคราะห์ดังกล่าวมาพัฒนาการดำเนินงานของเรา ด้วยการสร้างโมเดลเทคโนโลยีเพื่อตรวจจับสแกมโฆษณาในวงกว้าง 

การทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาในเมืองไทย 

นอกจากนี้ทาง Meta ยังกล่าวว่า ปัจจุบัน Meta มีการทำงานใกล้ชิดร่วมกับหน่วยงานที่กำกับดูแลจากภาครัฐและบังคับใช้กฎหมาย เช่น กองบัญชาการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ในการรายงานอาชญากรรมมิจฉาชีพออนไลน์ และได้อบรมบุคลากรเป็นพิเศษเพื่อตรวจสอบและกำจัดกิจกรรมสแกมโดยเฉพาะ 

รวมถึง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ นักวิชาการ หน่วยงานภาคการศึกษาและภาคประชาสังคม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมกันสร้างสรรค์แคมเปญเพื่อแก้ไขปัญหาที่พบเจออย่างดีที่สุด โดยมีการทำงานร่วมกันเพื่อระบุหรือติดตาม บุคคลหรือองค์กรที่ก่ออาชญากรรม การรับแจ้งจากหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับบัญชีที่อาจถูกใช้โดยสแกมเมอร์บนแพลตฟอร์ม ซึ่งเราจะทำการตรวจสอบรายงานเหล่านี้และจะลบทุกบัญชีที่พบว่าละเมิดกฎเพื่อหยุดยั้งไม่ให้เกิดเหยื่อเพิ่มเติม


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ