ยังเวิร์กไหม? แม้เอเชียจะเป็นภูมิภาคแห่ง Super App แต่ทำไมไปถึงฝันแค่ไม่กี่ราย

Tech & Innovation

Tech Companies

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ยังเวิร์กไหม? แม้เอเชียจะเป็นภูมิภาคแห่ง Super App แต่ทำไมไปถึงฝันแค่ไม่กี่ราย

Date Time: 28 ก.ค. 2566 18:43 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Summary

  • Super App โมเดลในฝันของหลายบริษัทเทคโนโลยีและธุรกิจทั่วโลก ยังไปต่อได้หรือไม่? เอเชียที่ขึ้นชื่อว่าเป็นภูมิภาคแห่ง Super App แต่กลับมีเพียงไม่กี่เจ้าที่ไปถึงจุดคุ้มทุน หรือสามารถรักษาการเติบโตไปพร้อมกับรายได้ในเวลาเดียวกัน

Latest


ช่วงสองสามปีที่ผ่านมา Super App หน้าใหม่ในเอเชียเกิดขึ้นจำนวนมาก รวมถึงในฟากฝั่งตะวันตกเองก็เริ่มมีกระแสพูดถึง Super App ตะวันตก หนาหูมากขึ้น อย่างล่าสุด อีลอน มัสก์ ที่ได้กลายเป็นเจ้าพ่อ Twitter แล้วนั้นก็ได้ทำการเปลี่ยนโฉมโซเชียลมีเดียสู่แอปฯ สารพัดนึกที่ได้แรงบันดาลใจจาก WeChat ซุปเปอร์แอปฯ จากจีน

ยุคหนึ่งหลังจากการค้าขายออนไลน์บูม บรรดาผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพแวดวงเทคโนโลยีต่างกระโดดเข้ามาพัฒนาบริการต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้บริการด้านอีคอมเมิร์ซ ก่อนขยับขยายสู่ 'แอปฯ ที่ให้บริการครบวงจร' กันอย่างแพร่หลาย บริษัทเทคโนโลยีแข่งขันกันเปลี่ยนตัวเองเป็น 'Super App' 

ยกตัวอย่าง Grab และ SEA จากสิงคโปร์ GoJek จากอินโดนีเซีย ที่ควบรวมกับ Tokopedia เป็น GoTo, Coupang และ Kakao จากเกาหลีใต้ Rakuten จากญี่ปุ่น PayTm จากอินเดีย และ airasia SuperApp จากมาเลเซีย เหล่านี้มี Success Model อย่าง WeChat ของ Tencent และ Alipay ของ Alibaba ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกรูปแบบธุรกิจเป็นโรลโมเดล

เอเชียภูมิภาคแห่ง Super App ทำไมไปถึงฝันแค่ไม่กี่ราย

บรรดาผู้สร้างทุ่มเงินมหาศาลเกณฑ์ผู้ใช้เข้าแอปฯ กันอย่างเต็มที่ เพิ่มฟีเจอร์บริการที่ตอบโจทย์ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ความบันเทิง แชต สั่งอาหาร ช็อปปิ้ง เรียกรถ ทำธุรกรรมทางการเงิน สร้างแคมเปญลดราคา 

เมื่อความต้องการจากส่วนใดส่วนหนึ่งของแอป ทำให้เกิดความต้องการส่วนอื่นๆ ที่ต่อเนื่อง และตอบสนองความต้องการผู้ใช้ ก็จะสามารถดึงดูดผู้ใช้ให้เข้าร่วมได้อย่างสม่ำเสมอ เมื่อฐานผู้ใช้จำนวนมากสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อเครือข่าย ขับเคลื่อนการเติบโตต่อไป แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง เกิดคำถามที่ว่า Super App จะไปทางไหนต่อ? Super App ใครๆ ก็ทำได้จริงหรือไม่?

เอเชียที่ขึ้นชื่อว่าเป็นภูมิภาคแห่ง Super App แต่กลับมีเพียงไม่กี่เจ้าที่ไปถึงจุดคุ้มทุน หรือสามารถรักษาการเติบโตไปพร้อมกับรายได้ในเวลาเดียวกัน และแม้ว่า Shopee จาก SEA จะเป็นแอปฯ ที่สามารถกำไรได้ก่อนใครเพื่อน ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าบริษัทเองก็แลกมากับลดต้นทุน การเผาเงิน กระหน่ำโปรโมชัน และเลฟ์ออฟพนักงานเกือบทั่วโลก

โมเดลการเติบโตของ Super App ถูกมองว่าไม่ยั่งยืน

ภาพความสำเร็จเดิมของตัวอย่างจากจีน ทำให้นักลงทุนทั่วโลกทุ่มเม็ดเงินเดิมพันในบริษัทที่พัฒนาระบบนิเวศ Super App เพราะเห็นยอดการเติบโตของผู้บริโภค และแรงหนุนจากความต้องการด้านบริการดิจิทัลในช่วงโควิดแพร่ระบาด ทำให้ภาพลักษณ์ของ Super App ดูดีเป็นอย่างยิ่ง 

บทวิเคราะห์จาก The Economist ได้รวบรวมผลดำเนินการล่าสุดของผู้ให้บริการเจ้าต่างๆ ในเอเชียที่พบว่า มูลค่าตลาด Super App ในเอเชียที่ลดลงกว่า 60% ตั้งแต่ปี 2021 หลังโควิดคลี่คลาย และปัจจัยหลัก คือ ปริมาณผู้ใช้งานที่ลดลด

ระดมทุนสูงแต่ความสามารถทำกำไรต่ำ จุดอ่อน Super App

แม้ว่า Super Appปฝั่งเอเชีย จะประสบความสำเร็จในตลาดของตนเอง แต่หลายตัวอย่างสะท้อนให้เห็นขีดจำกัด ขอบเขตของระบบนิเวศของการให้บริการ โดยเฉพาะหน้าใหม่ๆ ที่รับแรงกดดันจากวงจรของธุรกิจเทคฯ และแพลตฟอร์มเข้าสู่ช่วงขาลง ซ้ำเติมด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยและวิกฤติเศรษฐกิจที่ทำให้เงินทุนแช่แข็งทั่วโลก กำลังบ่งบอกว่า Super App ไม่ได้เป็นลูกรักนักลงทุนอีกต่อไป  

James Lloyd นักวิเคราะห์จาก Citigroup ตั้งข้อสังเกตว่า Super App ของจีนเริ่มต้นจาก บริการหลักที่สามารถทำกำไรที่ชัดเจนก่อนเริ่มต้นสร้างการเชื่อมโยงบริการอื่นๆ Alipay ถูกสร้างขึ้นเพื่อบริการด้านอีคอมเมิร์ซ WeChat ถูกสร้างขึ้นเป็นโซเชียลมีเดีย ขณะที่เจ้าอื่น บริการหลักไม่ได้มีผลดำเนินการที่แข็งแกร่งขนาดนั้น เราจึงเห็นการตกต่ำลงของหุ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะสัญญาณควาไม่วางใจจากนักลงทุน 

นักวิเคราะห์ต่างมองว่า ความท้าทายของ Super App ที่ต้องพิสูจน์ต่อสายตานักลงทุน จำเป็นต้องปรับปรุงปัจจัยพื้นฐาน เพื่อทำเงิน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะทำได้ในเวลาเดียวกัน อีกทั้งการผุดขึ้นของ Super App จำนวนมากในเอเชีย ทำให้สภาพแวดล้อมการแข่งขันทวีความรุนแรงสูงขึ้น ผู้เล่นใหม่ๆ มีพื้นที่ให้แข่งขันน้อยลง และที่สำคัญ คือ กลุ่มผู้บริโภคมีกำลังการใช้จ่ายจำกัด เรียกได้อยู่ในตลาดน่านน้ำสีแดงเข้มเลยทีเดียว

ตัวอย่าง Grab และ GoTo สองเจ้าที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และได้รับความนิยมจากนักลงทุนรายใหญ่ในขณะนั้น SoftBank, KKR, Temasek, Warburg Pincus, Microsoft, Google และ Tencent 

ปัจจุบันมูลค่าบริษัทร่วงลงกว่า 60% Grab เป็นผู้นำการให้บริการอันดับแรกในเอเชีย เข้าจดทะเบียนใน Nasdaq เมื่อปี 2021 ด้วยมูลค่า มูลค่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์ ก็ประสบกับการขาดทุนที่ต่อเนื่องหลายปีแม้ในปีนี้จะเริ่มส่งสัญญาณที่ดีขึ้น แต่ในแง่ของรายได้สุทธินั้นยังห่างไกลจากความสามารถในการทำกำไร หรือ GoTo ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย เมื่อปี 2022 ด้วยมูลค่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ แต่กลับห่างไกลที่จะทำกำไร บริษัทมียอดขาดทุนสุทธิที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 50% 

จะเห็นว่า การจัดลำดับความสำคัญ ความพึงพอใจของลูกค้าและความสามารถในการทำกำไรของบริษัท ล้วนเป็นกุญแจสำคัญสู่อนาคตที่ยั่งยืนในระยะยาว แต่จะเป็นอย่างไรเมื่อ Super App ส่วนใหญ่ยังต้องเสียค่าใช้จ่ายทางการตลาดจำนวนมาก แถมหนีไม่พ้นสงครามหั่นราคา เมื่อทุกแอปฯ อัดฉีดเงินเป็นส่วนลด แล้วจะแน่ใจได้อย่างไรว่าผู้ใช้จะอยู่กับแอปฯเราตลอดไป โมเดลนี้จะยั่งยืนหรือไม่ คงต้องจับตาต่อไป

อ้างอิง Financial Times , Nikkei Asia Bloomberg 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์