สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

Sustainability

ESG Strategy

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

Date Time: 10 ต.ค. 2566 05:32 น.

Latest

85% ของเสื้อผ้าต้องจบที่กองขยะ แบรนด์ระดับโลก เปิดบริการซื้อขายสินค้ามือสอง หวังลดปัญหาสิ่งแวดล้อม

เรื่องของอุตสาหกรรมการผลิต เป็นเรื่องของอนาคตโลกสีเขียว ที่ต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลก ซึ่งจะต้องมีการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรการผลิต พลังงานที่ใช้ในการผลิต และขบวนการผลิตให้ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อยที่สุด ไปจนถึงเป็นศูนย์

การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมภายใต้เงื่อนไขใหม่ที่จะลดภาวะโลกร้อน ที่ใกล้จะถึง จุดโลกเดือด อยู่ในแผนการ ยกระดับอุตสาหกรรมไทย สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน เรื่องนี้ ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้พูดเอาไว้ในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2566 Eco Innovation Forum 2023 ระบุภาคอุตสาหกรรมของไทยเป็นฟันเฟืองที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ที่ ปัจจุบันมีสัดส่วนจีดีพี อยู่ที่ร้อยละ 30.9 ในขณะที่ ภาคการส่งออก มีมูลค่าติดลบติดต่อกัน 3 ไตรมาส และมีแนวโน้มที่จะหดตัวลงต่อเนื่อง

การเปลี่ยนแปลงของโลกนำไปสู่การแข่งขันที่รุนแรง รัฐบาลจึงต้องมีการ กำหนดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง อุตสาหกรรมสีเขียว และอุตสาหกรรมความมั่นคงของประเทศ

การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในประเทศ อาทิ การปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ยกศักยภาพในการแข่งขัน โดยกำหนดเป็นนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงอุตสาหกรรมใน 3 เดือนข้างหน้า

ประกอบด้วย ส่งเสริมอุตสาหกรรมใหม่ ที่มีศักยภาพให้เป็นฟันเฟืองเศรษฐกิจใหม่สำหรับกระตุ้นจีดีพี ผ่านอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคต อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ อุตสาหกรรมชีวภาพ อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์

ขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ขยายไปสู่ 4 ภาคของประเทศ เพื่อสร้างความสะดวกให้กับนักลงทุนมากขึ้น เร่งหามาตรการเพื่อส่งเสริมการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างแพร่หลายภายในประเทศ ทั้งมาตรการภาษีและการขยายจุดให้บริการชาร์จแบตเตอรี่ ส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้เข้าถึงโอกาสการแข่งขัน ยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง และส่งเสริมการเข้าถึงของผู้ประกอบการและประชาชน ด้วยการนำระบบ One Stop Service มาใช้ให้สอดคล้องกับเป้าหมายอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตาม ความเห็นของ วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรม หรือ กนอ. จับมือกับสภาอุตสาหกรรมไทย โดยประธานสภาอุตสาหกรรม เกรียงไกร เธียรนุกุล ภายใต้ความร่วมมือภาครัฐ เอกชนและประชาชน เพื่อ กำหนดเป้าหมายเดียวกัน ในการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความยั่งยืน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้สอดคล้องกับกระแสความเปลี่ยนแปลงตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม

ภายใต้วิสัยทัศน์อุตสาหกรรมสู่มาตรฐานสากลด้วยนวัตกรรมอย่างยั่งยืน เน้นใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดมลพิษบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน.

หมัดเหล็ก
mudlek@thairath.co.th

คลิกอ่านคอลัมน์ “คาบลูกคาบดอก” เพิ่มเติม


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ