บีเอเอสเอฟ บริษัทเคมียุคใหม่ ปลุกแผนลดโลกร้อน สู่เป้าหมาย Net zero ในปี 2593

Sustainability

ESG Strategy

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

บีเอเอสเอฟ บริษัทเคมียุคใหม่ ปลุกแผนลดโลกร้อน สู่เป้าหมาย Net zero ในปี 2593

Date Time: 22 ก.ย. 2566 18:19 น.

Video

ศิรเดช โทณวณิก Gen 3 ดุสิตธานี ธุรกิจที่เป็นมากกว่าโรงแรม | On The Rise

Summary

  • มหันตภัยโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ นับวันจะเป็นเรื่องใกล้ตัวที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อโลกเปลี่ยน “บีเอเอสเอฟ” ผู้นำด้านการผลิตเคมีภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง จากประเทศเยอรมนี เดินหน้าส่งเสริมการสร้างความโปร่งใสในการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม และอาหารเสริม โดยมีเป้าหมายในการสร้างการเติบโตทางธุรกิจควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

Latest


การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นจากการใช้พลังงาน การเกษตร การผลิต การพัฒนาและขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิด "ภาวะโลกร้อน" แทบทั้งสิ้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั้งในฐานะผู้ผลิต ผู้ขับเคลื่อนกิจกรรม ผู้บริโภค

โดยปรับเปลี่ยนวิธีการได้ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ผ่านการผลิตอย่างยั่งยืน ที่จะส่งต่อไปยังการซื้อสินค้า หรือบริการที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อย จึงนับเป็นทางหนึ่งที่ผู้บริโภคจะมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก และยังเป็นกลไกทางการตลาด ในการกระตุ้นให้ผู้ผลิตพัฒนาสินค้า ที่ลด "การปล่อยก๊าซเรือนกระจก" ตามความต้องการของผู้บริโภคด้วย

“บีเอเอสเอฟ” ในฐานะผู้นำด้านการผลิตเคมีภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง ได้มีการแสดงข้อมูลคาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มวิตามิน แคโรทีนอยด์ โพลีเมอร์สำหรับเครื่องดื่มแปรรูป เอนไซม์สำหรับอาหารสัตว์ และส่วนผสมสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพในอาหารสัตว์ ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล รวมทั้งคาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มวิตามินเอและอีที่ผลิตโดยบีเอเอสเอฟ ว่ามีค่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดโลกมากกว่า 20%

มุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี พ.ศ. 2593 

อีกทั้งระบบการผลิตแบบบูรณาการของบีเอเอเอสเอฟ หรือที่เรียกว่า เวอร์บุนด์ (verbund) สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร และยังได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีและเพิ่มการลงทุนด้านพลังงานสะอาดเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี พ.ศ. 2593

ซึ่งล่าสุดในงานเสวนา “Sustainability Forum” ที่จัดขึ้นโดยบีเอเอสเอฟที่ให้ความสำคัญในการจัดทำคาร์บอนฟุตพรินต์ หรือเน้นย้ำการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ส่วนผสมในตลาดอาหาร เครื่องดื่ม และอาหารเสริม เนื่องจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นหนึ่งในความท้าทายใหญ่ที่สุดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ที่กลุ่มธุรกิจของบีเอเอสเอฟได้ตระหนัก และให้ความสำคัญในการสร้างความร่วมมือกับภาครัฐและพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อ “ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์" และนำไปสู่การสร้างอนาคตที่ยั่งยืน  

รสจันทร์ โลหะกิจสงคราม กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทบีเอเอสเอฟ ในประเทศไทยและเวียดนาม กล่าวว่า “การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นเทรนด์ที่ได้รับความสนใจมากขึ้น เมื่อเทียบกับ 2-3 ปีผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการติดโซลาร์เซลล์เพื่อลดการใช้พลังงาน ซึ่งหลายบริษัทเริ่มที่จะให้ความสำคัญมากขึ้น รวมทั้งบีเอเอสเอฟกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกก็ถือได้ว่ามีการตื่นตัวมากขึ้นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น เวียดนาม หรือแม้กระทั่งประเทศไทย" 

โดยจะอยู่ในหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์, แพ็กเกจจิ้ง ซึ่งบีเอเอสเอฟมีแนวทางในการคำนวณข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ตลอดช่วงวงจรชีวิตในอุตสาหกรรมเคมี ด้วยการใช้เครื่องมือดิจิทัล SCOTT = Strategic CO2 Transparency Tool ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐาน

ทั้งนี้ บีเอเอสเอฟได้มีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยความมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ภาย (Net Zero) ในปี พ.ศ. 2593 (ขอบเขต 1 และ 2) ผ่านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการเป็นผู้กำหนดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่เป็นกลางทางคาร์บอน และขั้นตอนสำคัญประการหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงนี้ คือ การสร้างความโปร่งใสในการเข้าถึงค่าคาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงตลอดห่วงโซ่คุณค่า 

อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญต่อการสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่กับการดูและสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม และผลักดันการสร้างความร่วมมือ เพื่อยกระดับการขับเคลื่อนให้เกิดความยั่งยืนในทุกกระบวนการของการดำเนินธุรกิจ โดยแผนในการบรรลุเป้าหมาย Net Zero ของบริษัทมุ่งเน้นใน 5 เรื่องหลัก คือ

  1. เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ที่ใช้ในโรงงาน ในสัดส่วนมากกว่า 60% ภายในปี พ.ศ. 2573 (ปัจจุบันมีสัดส่วน 16%) โดยมีการลงทุนในโครงการฟาร์มกังหันลม และติดตั้งแผงโซลาร์
  2. การใช้พลังงานไฟฟ้าทดแทนพลังงานจากฟอสซิลในโรงงาน
  3. การใช้เทคโนโลยีใหม่ ที่ทำให้ปราศจากคาร์บอนในกระบวนการผลิต
  4. การทดแทนวัตถุดิบที่มาจากน้ำมันด้วยวัตถุดิบหมุนเวียนได้ที่มาจากพืช
  5. การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต 

หนุนรีไซเคิลพลาสติก

“ทั้งหมดนี้เพื่อส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยคาร์บอนตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยบีเอเอสเอฟ ประเทศไทย เราพร้อมให้ความร่วมมือทั้งกับภาครัฐ และเอกชนต่างๆ ที่เป็นพันธมิตร อาทิ Alliance to End Plastic Waste (AEPW) เพื่อจัดการกับความท้าทายระดับโลกเกี่ยวกับการจัดการขยะพลาสติก รวมทั้งการสนับสนุนโซลูชันหลังการใช้งานเพื่อให้สามารถรีไซเคิลพลาสติกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำกลับมาหมุนเวียนใช้ซ้ำได้ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน นอกจากนี้ เรายังมีส่วนในการปลูกฝังและให้ความรู้แก่นักเรียนและนักศึกษาในเรื่องความสำคัญของความยั่งยืนด้วยเช่นกัน” 

ซึ่งในปี 2565 ที่ผ่านมา ได้มีการลงทุนพัฒนาทรัพยากรบุคคลและงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ เป็นจำนวนเงินกว่า 2.3 พันล้านยูโร ทำให้ปัจจุบันบริษัทฯ มีสินค้ามากกว่า 45,000 รายการ ครอบคลุม 11 ธุรกิจ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ มีศักยภาพรองรับลูกค้าได้มากกว่า 82,000 รายทั่วโลก ทั้งนี้ ยอดขายของกลุ่มบริษัทบีเอเอสเอฟทั่วโลกใน 2565 มีมูลค่าสูงถึง 87.3 พันล้านยูโร คิดเป็นยอดกำไร 6.9 พันล้านยูโร

“เราอยากจะเห็นเมืองไทยไปสู่เป้าหมายนั้นจริงๆ โดยคาดว่าจะเห็นภาพชัดเจนมากขึ้น เนื่องจากผู้คนมีความเข้าใจเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น และรู้ว่าโปรดักต์ฟุตพรินต์คืออะไร การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจะทำได้อย่างไร ซึ่งที่ผ่านมาหลายภาคส่วนในประเทศไทยทั้งภาครัฐ และเอกชนต่างออกนโยบาย และสร้างการรับรู้ถึงเรื่องนี้มากขึ้น อาทิ TGO ซึ่งทำให้เราเห็นเป้าหมายที่ชัดเจนในระดับประเทศ ดังนั้นในส่วนของบีเอเอสเอฟก็ได้มีการร่วมกับพันธมิตรที่ถือเป็น Key Player หลักๆ ในตลาดเช่นเดียวกัน”  

ส่วนแผนในปี พ.ศ. 2567 นั้น รสจันทร์ ได้มองว่าจะยังคงทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการออกไปเป็น Speaker เพื่อให้ความรู้และแบ่งปันประสบการณ์กับทางสถาบันการศึกษาต่างๆ ในด้านความยั่งยืน รวมทั้งการร่วมออกบูธในกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า “บีเอเอสเอฟ” มุ่งมั่นที่จะนำเสนอแนวทางสำหรับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่จะสามารถคำนวณข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ตลอดวงจรในอุตสาหกรรมเคมี เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม และความสามารถในการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้อง และนำไปสู่ “ความยั่งยืน” ได้อย่างแท้จริง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ