อนันตชัย ยูรประถม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสถาบันพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน (SBDi) กล่าวในงานสัมมนาของตลาดหลักทรัพย์ “The 1st SET International Conference on Family Business: Family Business in the Changing World” ในประเด็น Sustainable Growth for Family Business : How to ? ว่า ต้องยอมรับว่าทุกวันนี้ความยั่งยืนไม่ใช่เพียงแค่กระแส แต่เป็นการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญของโลกในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เรียกได้ว่าเข้าขั้นวิกฤติ
ในเรื่องนี้มันเกิดอุปสรรคในการรับรู้ หรือ การยอมรับสำหรับ Family Business อย่างนึงคือ เวลามันเข้ามา หรือ คนที่เป็น Family Business ได้ยินเขาจะรู้สึกว่าเป็นอะไรที่วิชาการ ดังนั้นจะต้องมีการแชร์กรณีศึกษา หรือ เคส ว่ามันไม่ใช่แค่ทฤษฎี หรือจะต้องไปถึง Cop26 แต่กลับเป็นเรื่องของสังคม และสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา โดยสังคมไทยกำลังเปลี่ยน คนรุ่นใหม่ กำลังซื้อ พฤติกรรมการซื้อและการตัดสินใจ การสนับสนุนเปลี่ยนทั้งหมด
ดังนั้นการดำเนินงานในแนวทางที่ “ยั่งยืน” จึงไม่เพียงแต่ถูกมองว่าเป็น ‘สิ่งที่ควรทำ’ เท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญและเป็นตัวกระตุ้นการเติบโตของบริษัทอีกด้วย จึงถือได้ว่าเทรนด์ด้านความยั่งยืนที่สังคมกำลังต้องการนับเป็นอีกหนึ่งหนทางรอดของธุรกิจครอบครัวเช่นกัน
สิ่งสำคัญที่ธุรกิจครอบครัวจะต้องดูคือ บริษัทมีความเสี่ยงอะไรบ้าง และจากนั้นก็จะต้องมีการวางแผนดำเนินการ และตรวจวัด ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองจะทำให้ธุรกิจสามารถเคลื่อนที่ได้ โดยจะเห็นได้ว่าองค์กรหลายองค์กรเริ่มที่จะ Lead และลงมือทำแล้ว เพราะธุรกิจจะใหญ่ แข็งแรง และรวยอย่างเดียวไม่ได้อีกต่อไป
อย่างเช่น Walmart ก็ไม่ได้ถือว่าตัวเองมีขนาดใหญ่ และขายของถูกสุด แต่กลับมีแนวคิดที่ว่าจะทำให้ผู้บริโภคที่มาจับจ่ายใช้สอยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้นยิ่ง Walmart ขยายและขายของถูก คนก็จะยิ่งรู้สึกไม่ต่อต้านแต่กลับคิดว่า “คุณมาช่วยทำให้ฉันมีชีวิตที่ดีขึ้นเมื่อใช้เงินน้อยที่สุด” เมื่อเทียบกับความเสี่ยงของโลก นั่นคือ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น
สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า หากคุณทำให้องค์กรของคุณ Touch และมีแผนสร้างเป็นวัฒนธรรมพร้อมกับชวนซัพพลายเออร์และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มาร่วมดำเนินการ เส้นทางการก้าวสู่ความยั่งยืนก็จะเปลี่ยนแปลงได้ โดยอันดับแรกที่ธุรกิจครอบครัวจะต้องเร่งทำนั่นคือ การหาว่า สิ่งที่มีผลกระทบจริงๆ กับตัวธุรกิจคืออะไร
รวมทั้งภาคธุรกิจจะต้องดูว่าเวลาที่เราเติบโตกับการที่เราสร้างผลกระทบมันสอดคล้องกันหรือไม่ เพราะหากรายได้โตขึ้น การใช้ทรัพยากรจะต้องน้อยกว่าการเติบโต นั่นจึงจะทำให้ “องค์กรก้าวสู่ความยั่งยืน” ได้
จึงถือได้ว่า “ESG” สำหรับ “Family Business” จริงๆ แล้วไม่ได้แตกต่างจากบริษัทขนาดใหญ่ เราไม่จำเป็นจะต้องใช้ทฤษฎี หรือหลักการมากมาย แต่อยากให้มองว่าเวลาเป็นธุรกิจในครอบครัว เราก็เป็นหนึ่งในบริษัทที่เจอผลกระทบจากวิฤติภาวะโลกร้อนด้วยเช่นกัน
เริ่มแรกจะต้องมีการคุยกันในครอบครัวว่าเราจะทำให้การบริหารการดูแล การควบคุมทั้งในเรื่องของบริษัททั้งอยู่ในตลาดหลักทรัพย์หรือไม่ก็ตาม รวมทั้งการบริหารคน ทรัพย์สิน และความสำคัญตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้จริงหรือไม่ ฉะนั้นเรื่องของ ESG จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวนั่นเอง
ทั้งนี้ แม้ว่าธุรกิจที่ดำเนินมาจะมีกำไรบ้าง หรือขาดทุนบ้าง การที่จะทำธุรกิจตามแนวทาง Sustainable ควรจะเริ่มต้นจากการวางเรื่องของ Environment เช่น คาร์บอนฯ การกำจัดของเสีย และ Social เช่น สิทธิมนุษยชน แรงงาน จากนั้นกลับไปพูดคุยและเตรียมตัว พร้อมกับวางไว้เป็นเรื่องเร่งด่วน และดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น รวมทั้งการทำเรื่อง ESG ที่ไม่ได้วัดกันที่ปริมาณเงินที่ใส่ลงไป แต่จะต้องมองว่าเกิดอิมแพ็ค หรือมี Social Return on Investment กลับมายังบริษัทมากน้อยแค่ไหนมากกว่า และจะกลายเป็นว่าบริษัทสามารถบริหารความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี ไม่ใช่เพียงแค่มองว่าทุ่มเงินไปเท่าไร
อย่างเช่น กรณีสภาพอากาศเปลี่ยน เกษตรกรผู้ปลูกพืชผลอย่างหอม หรือแม้กระทั่งผู้ประกอบการร้านทอง ต่างได้รับผลกระทบทั้งสิ้น ฉะนั้นไม่ใช่แค่บริษัทใหญ่ที่จะต้องทำ แต่วิธีการทำของบริษัท Family Business อาจจะเป็นการนำวิธีง่ายๆ มาประยุกต์ใช้ พร้อมกับปรับตัว
อีกทั้งจะต้องมองไกลไปถึงในอนาคตว่า หากสภาพอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลงเราจะได้ผลกระทบหรือไม่? จากนั้นเราจึงค่อยๆ เติบโต
เพราะโลกไม่เหมือนเมื่อก่อน ฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ซึ่ง Family Business สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงเปิดใจยอมรับ และหาให้เจอว่าจะเกี่ยวกับองค์กรเราอย่างไรบ้าง?
เพราะเมื่อการตัดสินใจซื้อของคนในปัจจุบันเปลี่ยนจากมุมหนึ่งไปมุมหนึ่ง ธุรกิจของคุณจะไปได้หรือไม่ ดังนั้นหากไม่ปรับจะอยู่ “รอด” ยากนั่นเอง
ทั้งนี้ หากมองความตื่นตัวในประเทศไทยถือได้ว่ามีความตื่นตัวสูง แต่วิธีการในการตอบสนองจะต้องมีการกลับมาประเมินว่า ธุรกิจได้ทำแล้วเกิดอิมแพ็คด้านบวกมากน้อยแค่ไหน เพราะในปัจจุบัน awareness กับการตื่นตัวยังไม่สัมพันธ์กัน อาจจะไม่เหมาะกับประเทศไทย จึงต้องมีการกลับมาทบทวนเพื่อที่เราจะสามารถปรับให้เหมาะสม และต่อรองกับต่างประเทศได้นั่นเอง
ดังนั้นความยั่งยืนไม่ใช่การลด แลก แจก แถม หรือการบริจาคแบบ Action-based แต่คือการสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคม โดยถือเป็นการทำธุรกิจแบบ High purpose driven การที่ธุรกิจครอบครัวจะก้าวไปสู่ความยั่งยืน ดังนั้น Sustainability จึงไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป แม้แต่สำหรับ Family Business แต่กลับเป็นทางรอดเและโอกาสที่จะนำไปสู่ความยั่งยืน พร้อมกับความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจนั่นเอง เพราะ “ธุรกิจที่จะยั่งยืน” ได้ คือ ธุรกิจที่สามารถส่งมอบคุณค่าให้แก่สังคม โลก และตัวธุรกิจเอง และเมื่อธุรกิจครอบครัวไทยเข้มแข็ง ก็จะนำไปสู่การเป็นกำลังหลักของเศรษฐกิจให้กับประเทศต่อไปได้