พลิกวิกฤติ สู่ โอกาสและทางรอด เมื่อ ‘องค์กร’ เลือกจะ ‘ยั่งยืน’ ได้ด้วยตัวเอง

Sustainability

ESG Strategy

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

พลิกวิกฤติ สู่ โอกาสและทางรอด เมื่อ ‘องค์กร’ เลือกจะ ‘ยั่งยืน’ ได้ด้วยตัวเอง

Date Time: 11 ส.ค. 2566 11:30 น.

Video

ล้วงลึกอาณาจักร “PCE” สู่บริษัทมหาชน ปาล์มครบวงจร | On The Rise

Summary

  • ธุรกิจจะอยู่รอดได้อย่างไร หากโลกนี้ไม่ดำรงอยู่ต่อไป เพราะด้วยโลกกำลังเผชิญกับภัยคุกคามครั้งใหญ่อย่าง ‘วิกฤติสภาพภูมิอากาศ’ ที่กลายเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทุกคนและทุกองค์กรต้องเจอ

Latest


ดังนั้น ‘ผู้บริหาร’ จึงถือเป็นคีย์แมนคนสำคัญที่จะพลิกวิกฤติสู่โอกาสทางธุรกิจได้ จึงเป็นเหตุผลให้ RISE สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กรระดับภูมิภาคจับมือกับพันธมิตร สร้างหลักสูตรด้วยแนวคิดที่ว่า เมื่อ ‘ความยั่งยืน’ ไม่ได้เป็นเพียงคำศัพท์ที่ใช้ในเชิงการตลาด แต่คือ ‘โอกาส’ และ ‘ทางรอด’ ที่ทุกองค์กรต้องคว้าเอาไว้ 

เกียรติชาย ไมตรีวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO ฉายภาพว่า Climate Risks หรือความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศ นับเป็นโจทย์ใหญ่ของโลก ซึ่งในวันนี้วิกฤติสภาพภูมิอากาศที่จะทำให้โลกล่มสลายได้นั้น แบ่งออกเป็น 4 กรณี ได้แก่

1. น้ำท่วม ไม่เหมือนเดิม ซึ่งประเทศที่ไม่เคยเจอก็เจอ และอะไรที่ไม่เคยเห็นก็ได้เห็น 

2. ไฟไหม้ป่าที่รุนแรงมากและแทบจะเกิดขึ้นทุกประเทศ 

3. ภัยแล้ง จะกระทบต่อทุกธุรกิจอย่างหนัก เนื่องจากว่าสภาวะโลกร้อน (Global warming) จะมาครอบคลุมโลก จะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเริ่มคาดการณ์ไม่ได้ และสุดท้ายจะกระทบการเกษตร อาหาร และน้ำในที่สุด  

4. ฮีตเวฟ (Heat wave) คลื่นความร้อนแสนอันตราย 


ฉะนั้นถือได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นต่างกระทบทุกภาคส่วน จึงต้องมีการดำเนินการอย่างเร่งด่วน เห็นได้จากการที่หลายๆ ประเทศเริ่มที่จะออกมาตรการเพื่อกระตุ้นในเรื่องดังกล่าวนี้ ซึ่งยุโรปเองก็มีบทบาททำในด้านนโยบายสิ่งแวดล้อมและการต่อสู้กับสภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมาตลอด และดูจะไม่ละทิ้งอุดมการณ์ดังกล่าว อย่างแผนการที่เรียกว่า European Green Deal ที่เป็นการส่งเสริมให้ภาคเอกชนปรับตัวสู่เศรษฐกิจสีเขียวที่ยั่งยืน


หรือแม้กระทั่งการออกมาตรการปรับคาร์บอนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism หรือ CBAM) เพื่อกระตุ้นให้ประเทศผู้ส่งออกเร่งผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมตามที่อียูกำหนด


จึงถือได้ว่าคีย์สำคัญจะอยู่ที่ประเทศใหญ่ที่มีกำลังทรัพย์ อย่างสหรัฐฯ หรือจีน หากประเทศเหล่านี้มีการออกกฎระเบียบ และแอ็กชัน อย่างกระบวนการต่างๆ เช่น กระบวนการซื้อ-ขาย, กระบวนการทางด้านไฟแนนซ์ อย่างการปล่อยเงินกู้ หรือ Bond 


เพราะตลาดโลกถูกควบคุมด้วยประเทศเหล่านี้ ดังนั้นโลกก็จะเปลี่ยนตามด้วยนั่นเอง ดังนั้นเราจึงต้องมองว่ามันเป็นเรื่องเร่งด่วน และทุกคนจะต้องร่วมกันบริหารความเสี่ยงที่สาเหตุนั้นๆ โดยแบ่งออกเป็นสองทางคือ จัดการที่สาเหตุ และอีกด้านหนึ่งคือ ลดอิมแพค เพื่อให้เราและโลก “อยู่รอดได้” และคนที่จะขับเคลื่อนได้อย่างรวดเร็วที่สุดคงจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก “ผู้บริหาร” หรือผู้นำองค์กร


‘Climate Catalyst’ เพราะเรื่องนี้มันรอไม่ได้อีกแล้ว

ด้าน ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า วันนี้หากเราปลูกต้นไม้ หรือแยกขยะ อาจไม่ทันอีกต่อไป สิ่งที่เราจะต้องทำวันนี้คือ “Disrupt” 

และหากย้อนกลับมาดูว่าไมโครซอฟต์ได้ลงมือทำอะไรบ้าง? สิ่งหนึ่งที่ตั้งใจคือ เราต้องการ Lead เรื่องนี้ By Example โดยที่ Commitment ของไมโครซอฟท์ในเรื่องของ Sustainability เลือกทำ 4 เรื่องจากเป้าหมาย SDGs 17 ประการของสหประชาชาติเพื่อโลก ได้แก่ 

1. Carbon โดยที่ในปี 2025 ทุก Data Center ของไมโครซอฟท์บนโลกกว่า 200 Data Center จะรันด้วย Renewable energy 100% หรือในปี 2030 ไมโครซอฟท์จะต้องกลายเป็น Negative Carbon Company และในปี 2050 จะดำเนินการกับคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดที่ไมโครซอฟท์เคยปล่อยออกมาตั้งแต่เริ่มต้นบริษัทเมื่อปี 1975 ให้แล้วเสร็จและกลายเป็นศูนย์

2. Water จะมุ่งสู่สถานะ “Water Positive” หรือคืนน้ำสะอาดสู่สิ่งแวดล้อมมากกว่าที่นำมาใช้ภายในปี 2030

3. Waste management ก็ได้มีการตั้งเป้าว่าภายในปี 2030 จะมุ่งสู่ Positive ในเรื่องของ Waste ด้วยเช่นกัน และทั้งหมดนี้คือสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้วกับไมโครซอฟท์ในวันนี้ และจะมีส่วนกับโลกใบนี้ และต่อมาจะไปครีเอตกับ 4. Ecosystem นั่นเอง 

ดังนั้นในวันนี้หากใครจะทำธุรกิจกับไมโครซอฟท์ และหากไม่ได้ซัพพอร์ต Objective นี้ ไมโครซอฟท์ก็จะไม่ไปยืนใน Procurement list ด้วยเช่นกัน

ผ่าแผน ‘5R’ ของไมโครซอฟท์ ที่เร่งสร้าง ‘Sustainability’

สำหรับแนวทางการทำธุรกิจในรูปแบบ Sustainability ของไมโครซอฟท์ มีการมองในเรื่องของ Business Benefit ดังนั้นจึงได้มีการใช้เฟรมเวิร์ก 5 R ได้แก่ Record, Report, Redue, Remove และ Replace ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะให้สามารถรู้สถานะคาร์บอนฟุตพรินต์ (Carbon Footprint) ขององค์กร และจะทำให้องค์กรสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจ เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนได้ตามเป้าหมายที่วางไว้นั่นเอง


ดังนั้นด้วยความกังวลและสงสัยส่วนตัวของ หมอคิด นายแพทย์ ศุภชัย ปาจรยานนท์ และ โจ้ ธนา เธียรอัจฉริยะ ที่มีเป้าหมายตรงกันว่าถึงเวลาที่ทุกองค์กรจะต้องเปลี่ยน แต่จะเปลี่ยนและบรรลุจุดหมายด้วยวิธีใด มีอะไรที่จะต้องลงมือทำและเรียนรู้อีกบ้าง รวมถึงโอกาสที่จะได้รับคืออะไร ทำให้เกิดเป็นหลักสูตรที่จะช่วยให้เข้าใจวิกฤติสภาพอากาศ วิธีการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและวิธีการสร้างโอกาสทางธุรกิจด้วยสิ่งเหล่านี้มีอะไรบ้าง พร้อมกับผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงด้านความยั่งยืนได้อย่างไรผ่านหลักสูตรที่ชื่อว่า STX : Sustainable Transformation Xponential 


นายแพทย์ ศุภชัย ปาจรยานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง RISE กล่าวในเสวนาภายใต้หัวข้อ Climate Catalyst: Unveiling The Risks and Opportunity For Humanity and Corperation ว่า RISE ช่วยองค์กรน้อยใหญ่ในการที่จะสร้างธุรกิจใหม่ขึ้นมาให้ได้ผ่านวิธีการที่เรียกว่า New S-curve โดยมีผู้บริหารที่เราทำงานด้วยรวมกว่า 20,000 กว่าราย และด้วยวิชชันของเราคือการเพิ่ม GDP ประเทศ 1% ซึ่งที่ผ่านมาเราสามารถทำได้ประมาณครึ่งทางของประเทศไทย

ต่อมาเมื่อประมาณปลายปีที่ผ่านมาได้มีการอ่านหนังสือเล่มหนึ่งที่สะท้อนให้เรารู้ว่า ในสิ่งที่เรากำลังทำอยู่จริงๆ แล้วเรากำลังทำให้ “โลก” มันร้อนขึ้นด้วยหรือไม่ เพราะเรากำลังสร้างบวกกับนำนวัตกรรมเข้ามามันทำให้โลกร้อนขึ้นหรือไม่จึงได้ฉุกคิด พร้อมกับประกาศเปลี่ยนวิชชันของบริษัทในทันทีว่า “ต่อจากนี้อีก 5 ปี RISE จะไม่ใช่แค่เพิ่ม 1% ให้กับ GDP ของประเทศเพียงอย่างเดียว แต่เราจะลด 1% คาร์บอนไดออกไซด์ให้กับโลกด้วยเช่นกัน”  

และด้วยวิสัยทัศน์นี้เขาไม่อยากที่จะให้เป็นเพียงคำพูดลอยๆ จึงคิดว่าหากต้องการจะเปลี่ยนเรื่องนี้จริงๆ จะต้องเริ่มเปลี่ยนจากใคร? ก่อนเป็นอันดับแรก คำตอบที่ได้มาคือ “ผู้บริหาร” เพราะเรื่องของ Climate กับเรื่อง Innovation มีความคล้ายคลึงกัน เพราะจะต้อง Start from the top ที่ต้องเริ่มจากด้านบน 

เพราะองค์กรจะเปลี่ยนแปลงได้ ต้องเริ่มต้นจากผู้บริหาร

จนเกิดเป็นหลักสูตรเพื่อผู้บริหาร ที่แตกต่างจากหลักสูตรทั่วไปอย่างสิ้นเชิง ดังคำพูดที่ว่า “Sustainability สุดท้ายแล้ว คือ ธุรกิจชนะ สังคมพัฒนา” แต่จะทำยังไงให้ธุรกิจชนะ และสังคมพัฒนาไปพร้อมๆ กัน ฉะนั้นหลักสูตรนี้จะเป็นการเข้ามาเรียนรู้ เพื่อให้สามารถนำความรู้ไป “สร้างธุรกิจใหม่เพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศได้” ที่ไม่ใช่เพียงแค่เป็น Expert ภายใต้การดำเนินการที่ประหยัด ไม่เพิ่มต้นทุน แต่ยังคงช่วยโลก และสร้างรายได้ได้ด้วย

ขณะที่ภาพการดำเนินธุรกิจของ RISE ที่จะลดคาร์บอนฯ 1% นั้น นอกจากหลักสูตรจะเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญแล้ว ในปีนี้ก็จะมีการออกกองทุนที่ลงทุนในสตาร์ทอัพที่ช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ของโลกด้วยเช่นกัน...


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ