บทวิเคราะห์ผลกระทบภาวะโลกรวน เผย กรุงเทพฯ เป็นหนึ่งในมหานครที่เสี่ยงจมบาดาลในอีก 50 ปี

Sustainability

ESG Strategy

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

บทวิเคราะห์ผลกระทบภาวะโลกรวน เผย กรุงเทพฯ เป็นหนึ่งในมหานครที่เสี่ยงจมบาดาลในอีก 50 ปี

Date Time: 10 เม.ย. 2566 17:49 น.

Video

บิทคอยน์ VS เงินในกระเป๋าเกี่ยวกันยังไง ? | Digital Frontiers

Summary

  • คณะวิทย์ฯ มธ.เผย กรุงเทพฯ มีความเสี่ยงจมบาดาลภายใน 50 ปี แนะปรับผังเมืองยึดหลักไม่ ‘ทุบ รื้อ ถอน’ แต่เน้นการปรับฟังก์ชันการใช้งาน

Latest


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไตรเทพ วิชย์โกวิทเทน อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (SCI-TU) เปิดเผยบทวิเคราะห์ผลกระทบจากภาวะโลกรวน (Climate Change) โดยกรุงเทพมหานครเป็นหนึ่งในมหานครที่มีความเสี่ยงจมบาดาลภายใน 50 ปี ซึ่งมีสาเหตุสำคัญจาก 3 ปัจจัย คือ

1. การทรุดตัวของชั้นดินเฉลี่ย 2-3 เซนติเมตรต่อปี

2. น้ำทะเลหนุน

3. การสูญเสียน้ำใต้ดินจากการใช้ น้ำบาดาลในอดีต

ซึ่งนอกจาก กทม. แล้ว ยังพบว่าเมืองหลวงหรือมหานครหลายแห่งของประเทศต่างๆ ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน เช่น อินโดนีเซีย, รัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา, บังกลาเทศ, อิตาลี, เนเธอร์แลนด์ และอียิปต์

ประเทศเหล่านี้มีจุดเสี่ยงร่วมกัน คือ เป็นเมืองที่มีทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้กับเส้นทางคมนาคมทางน้ำ ติดทะเล มีลักษณะเป็นเมืองท่าที่มีความสำคัญ ง่ายต่อการเดินทางสัญจร

จากการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหาน้ำทะเลรุกคืบจากภาวะโลกรวน คณะวิทย์ มธ. ได้เสนอแนวทางการปรับผังเมือง โดยยึดหลักไม่ ‘ทุบ รื้อ ถอน’ แต่เน้นการปรับฟังก์ชันการใช้งานประกอบ ดังนี้ ได้แก่

1. การลดพื้นที่อเนกประสงค์บริเวณชั้น 1 โดยใช้งานตั้งแต่ชั้น 2 ขึ้นไป เพื่อลดผลกระทบ จากเหตุน้ำท่วมฉับพลัน

2. การเพิ่มทางเดินลอยฟ้า (Skywalk) ที่เชื่อมจากอาคารออฟฟิศ เพื่อใช้เป็นเส้นทางสัญจร ของผู้คนที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าโดยไม่ต้องเดินลุยน้ำ ซึ่งมีต้นทุนไม่สูงมากถ้าเทียบกับ การรื้อผังเมืองเพื่อสร้างใหม่หรือการย้ายมหานคร

3. การเสริมแนวคันกั้นน้ำประสิทธิภาพสูง ไม่มีร่องฟันหลอตลอดแนวแม่น้ำเจ้าพระยา

โดยการย้ายมหานครควรเป็นทางเลือกสุดท้าย เนื่องจากกระทบต่อประชาชนที่ต้องเคลื่อนย้าย และใช้งบประมาณที่สูงมากกับการจัดผังเมืองเมือง สร้างอาคาร ที่อยู่อาศัย และระบบสาธารณูปโภค

นอกจากนี้ คณะวิทย์ มธ. ยังมองถึงปัญหาของกลุ่มจังหวัดที่เป็นพื้นที่รอยต่อชายทะเลของภาคกลาง เช่น กทม., สมุทรปราการ, สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม ที่เริ่มเห็นผลกระทบจากการรุกคืบของน้ำทะเล และการกัดเซาะชายฝั่ง และทำให้สูญเสียพื้นที่บกตามแนวชายฝั่งไป ซึ่งการลงพื้นที่พบว่าแนวป้องกัน การกัดเซาะชายฝั่งอย่าง "ป่าชายเลน" มีไม่มากพอที่จะทำหน้าที่ชะลอความแรงของคลื่น และเพิ่มการตกตะกอน จนนำไปสู่การเกิดแผ่นดินงอกใหม่ได้

แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนดำเนินโครงการปลูกป่าชายเลนอย่างต่อเนื่อง แต่จากการศึกษาในพื้นที่พบว่า เมื่อจบขั้นตอนการปลูกแล้ว ไม่มีการดูแลติดตามผล ทำให้เกิดปัญหาการระบายน้ำและของเสียภายในแปลงปลูก จนส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของกล้าไม้ที่ปลูกและทำให้กล้าไม้ตายในที่สุด


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ