คนไทย เข้าใจประกันภัยมากขึ้น “TQM” พร้อมขยายพอร์ต ตลาดประกันมีช่องว่างให้เล่นอีกมาก

Personal Finance

Insurance

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

คนไทย เข้าใจประกันภัยมากขึ้น “TQM” พร้อมขยายพอร์ต ตลาดประกันมีช่องว่างให้เล่นอีกมาก

Date Time: 28 ต.ค. 2566 10:15 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • เคยมีคำกล่าวไว้ว่า “หนทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน” คงจะไม่ผิดไปนักสำหรับ “บริษัท ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TQM” ที่ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี 2496 หรือกว่า 70 ปีมาแล้ว ซึ่ง ณ จุดเริ่มต้นบนเส้นทางของธุรกิจประกันภัยในสมัยนั้นถือว่ายังใหม่มาก และไม่เป็นที่คุ้นเคยของคนไทย แต่ใครจะไปรู้ว่าภายใต้การบริหารงานอย่างมุ่งมั่น จะทำให้จากธุรกิจนายหน้าขายประกันเล็กๆ ของครอบครัว กลายเป็นอาณาจักร TQM จวบจนทุกวันนี้

Latest


“บริษัท ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TQM” ในฐานะบริษัทมหาชน ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ 28,200 ล้านบาท และเป็นบริษัทนายหน้าประกันภัยรายแรกที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้สำเร็จในปี 2561 ที่ผ่านมา

หากดูจากความสำเร็จที่เห็นเด่นชัดก็คงจะอธิบายได้จากสิ่งเดียวนั่นคือ ผลการดำเนินงาน ซึ่งเมื่อปี 2565 บริษัทฯ มีรายได้รวม 3,727 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากยอดขายและค่าบริการที่เพิ่มในทุกผลิตภัณฑ์ประกันภัย กำไรสุทธิอยู่ที่ 885 ล้านบาท ส่วนในปี 2566 มีรายได้ไตรมาส 1 ปี 2566 เติบโตสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีรายได้รวม 997 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% จากไตรมาส 1 ปี 2565 และมีกำไร 209 ล้านบาท 

ทายาทรุ่นที่สามอย่าง ดร.อัญชลิน พรรณนิภา ในฐานะ ประธานบริษัท ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TQM ได้เปิดเผยกับ #Thairath Money ว่า แม้ TQM เป็น broker ที่ประสบความสำเร็จ แต่ก็ไม่คิดทำบริษัทประกันของตัวเอง เนื่องจากคนเรามีความถนัดไม่เหมือนกัน เราอยู่ในตำแหน่งของคนขายที่ในวันนี้เราเป็นเบอร์ 1 เราเชี่ยวชาญ เราถนัดทางด้านนี้ แต่ถ้าเรากลับไปเป็นประกันภัยนะก็คงไม่ได้เป็นเบอร์ 1 อาจจะเป็นเบอร์ 3 4 5  ก็แล้วแต่ มันเชี่ยวชาญไม่เหมือนกัน และมองว่าคนที่เป็นคนกลาง จะมีเพื่อนบริษัทประกันภัยเยอะ ดังนั้นเวลาเราออก product ตัวนึง หรือเวลาคิดสินค้า หรือจะไปดูงานต่างประเทศ บางเรื่องเราไปเองไม่ได้หรอก ต้องอาศัยเขาพันธมิตร 

กำลังซื้อของผู้บริโภคฟื้น หนุนกลุ่มธุรกิจประกันโต-ขยายตัว

ส่วนในอนาคตธุรกิจประกันมีทิศทางอย่างไรนั้น คุณอู๊ดมองว่า ของทุกอย่างบนโลกนี้ ถ้ามันมีความเสี่ยงมันสามารถทำได้ทั้งนั้น บางทีเป็นเรื่องเล็กๆ เช่น ประกันสัตว์เลี้ยง เพราะฉะนั้นอะไรที่เกี่ยวกับเรื่องของความเสี่ยง สามารถที่จะเอามาทำเป็น product ใหม่ได้ อย่างเช่น โควิด 

ดังนั้นในปีนี้มั่นใจว่ากลุ่มธุรกิจประกันยังคงเติบโตและขยายตัวได้ เพราะกำลังซื้อของผู้บริโภคเริ่มกลับ สำหรับเป้ายอดขายกลุ่มประกันภัยปี 66 อยู่ที่ 30,000 ล้านบาท ประกันรถยนต์ยังคงเป็นรายได้ของกลุ่ม

ด้านประกันภัยบ้านคาดว่าปีนี้ยังจะเติบโตและเป็นสัดส่วนรายได้ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่สัดส่วนรายได้ปี 2566 ประกอบด้วย ประกัน Motor 69% Non-Motor 23% และ Life 8% 

คนไทย เข้าใจประกันภัยมากขึ้น ชี้ตลาดประกันยังมีช่องว่างอีกมาก

ส่วนความเข้าใจในประกันของคนไทยตอนนี้ ถือได้ว่าคนไทยเข้าใจประกันภัยดีมากขึ้น จากสมัยก่อนประกันต้องเดินไปเคาะตามบ้าน หรือตื๊อลูกค้า แต่ปัจจุบันถือได้ว่าภาพเหล่านั้นดีขึ้นมาก ผู้คนตัดสินใจเลือกทำประกันเยอะขึ้นด้วยเพราะปัจจัยต่างๆ ที่มาหนุน อย่าง โควิดเห็นภาพชัด คนซื้อประกันแล้วได้เงินชดเชยมา ก็ทำให้ประกันเติบโตไปเรื่อยๆ สุดท้ายก็ไม่ต้อง educate คน เพราะยังไงคนก็ซื้อ เช่น คนญี่ปุ่นซื้อแล้วก็ซื้อซ้ำ เนื่องจากเขารู้ว่าการซื้อประกันมันเหมือนกับการออมเงินประเภทนึง 

เช่น ซื้อประกันตอนอายุ 20 ก็จ่ายถูกๆ เพราะเงินน้อย แต่พอวันที่อายุ 40 ก็ซื้อเพิ่ม ไม่งั้นภัยต่างๆ หรือหาหมอมันเพิ่มเป็นเงาตามตัว จึงทำให้ภาพของคนไทยกับประกันดีขึ้นไปเรื่อยๆ 

ซึ่งในปี 2567 มองว่า ประกันก็ยังคงเติบโตด้วยการล้อไปกับเศรษฐกิจที่โต อีกทั้งในไทยตลาดประกันถือได้ว่ายังมีช่องว่างอยู่อีกมาก “ประกันบ้าน” ก็ถือเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ดังนั้นในวันนี้บ้านที่เข้าไปอยู่ในระบบประกันมียังไม่ถึง 20% ฉะนั้นตลาดประกันยังสามารถทำได้อีกเยอะ กับธุรกิจสินเชื่อ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะประกันหรือธุรกิจสินเชื่อ ก็สามารถแตกแขนงได้ ทั้งสินเชื่อประกัน สินเชื่อเงินเดือน สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อบ้าน ก็ยังเป็นธุรรกิจที่ยังเติบโตได้อีกเยอะมาก

ดังนั้นกว่าที่ TQM จะเป็นเฉกเช่นวันนี้ ดร.อัญชลิน ฉายภาพว่าที่ผ่านมาตนเคยล้มมาก่อน แต่ต่อให้ล้มอีกสักกี่ครั้ง แต่สุดท้ายก็จะสำเร็จได้ ก็เหมือนความหวังครั้งที่ 2 ซึ่งต่อให้ล้ม มันก็ยังมีโอกาสอยู่ สามารถทำได้ครั้งที่ 3 ครั้งที่ 4 ครั้งที่ 5 เพราะท้ายที่สุดก็จะประสบความสำเร็จ ดังนั้นความหวังครั้งที่ 2 ในที่นี้ ก็คือการมีความหวังครั้งใหม่ ที่จะทำให้ “เรายืนขึ้นมาได้” แล้วสุดท้ายเป้าหมายก็จะมาถึง

ทั้งหมดนี้จึงถูกรวบรวมไว้ในหนังสือความหวังครั้งที่สอง หนังสือที่เปรียบเสมือนบันทึกบทเรียนชีวิตและแนวคิดการทำธุรกิจของคนชื่อ "อัญชลิน"  ในฐานะแม่ทัพใหญ่ของ TQM ที่มองภาพการทำธุรกิจไว้เฉกเช่นดังที่ “ชาร์ลส์ ดาร์วิน” กล่าวว่า สิ่งที่สามารถยืนหยัดได้ทุกวันนี้ไม่ใช่คนที่แข็งแรงที่สุด แต่เป็นคนที่ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอด เพราะฉะนั้นคนขายประกันก็เหมือนกัน จะต้องรู้จักที่จะเรียนรู้เพื่อให้ได้มาซึ่งความสำเร็จดังที่ตั้งเป้าไว้


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ