“กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว” กฎเหล็กของการใช้ “บัตรเครดิต” เพราะหากเราเป็นหนึ่งคนที่เผลอ ก้าวเข้าวงการจ่ายขั้นต่ำ หรือ ใช้บัตรเครดิต เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินจนเคยตัว โดยที่ไม่สามารถจ่ายค่าบัตรเครดิตเต็มจำนวนสักครั้ง
ติดอยู่ในวงจรการจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิตไปเรื่อยๆ แบบที่ไม่รู้ว่าจะสามารถปิดหนี้บัตรเครดิตได้เมื่อไหร่นั้น นั่นคือ หายนะ ที่ต้องรีบหาทางแก้ไขอย่างด่วนๆ
สัญญาณอันตรายที่บอกว่าเรากำลังมีหนี้บัตรเครดิตท่วมหัวมีอยู่หลายสัญญาณ เช่น การเริ่มจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ ค่าใช้จ่ายจากบัตรเครดิตเกินกว่า 40% ของรายได้แต่ละเดือน
บัตรเครดิตเต็มวงเงินเกือบทุกใบ และไม่มีเงินเหลือเก็บเพราะต้องจ่ายหนี้บัตร เป็นต้น ซึ่งถ้าเริ่มต้นมีสัญญาณเหล่านี้ต้องรีบจัดการและหยุดใช้บัตรเครดิตก่อหนี้เพิ่มทันที
ทั้งนี้ Thairath Money ชวนเช็กลิสต์ วางแผนการเงินรับปีใหม่ โดยเฉพาะ การทบทวน สไตล์การจ่ายหนี้บัตรเครดิตของตนเอง ว่าเป็นแบบไหนกัน และ ตอบข้อสงสัยที่ว่า จ่ายหนี้บัตรเครดิตอย่างไร? ถึงจะดี
อ้างอิงข้อมูลให้ความรู้ จาก บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ระบุว่า การใช้บัตรเครดิต จะเกิดประโยชน์สูงสุด เมื่อมีความจำเป็น จ่ายคืนเต็มจำนวน ตรงเวลา มิเช่นนั้น ทั้งดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม และ ค่าทวงถามหนี้ อาจทำให้เราเป็นหนี้ก้อนโตโดยที่ไม่รู้
แบบที่ 1 : จ่ายตรง + ครบ
สามารถใช้ประโยชน์จากระยะปลอดดอกเบี้ย 45-60 วัน
แบบที่ 2 : จ่ายครบแต่ช้า โดน 2 เด้ง
แบบที่ 3 : จ่ายตรงแต่ไม่ครบ โดน 3 เด้ง
แบบที่ 4 : ไม่จ่าย ดอกเบี้ยบาน
โดนทวงถามมีผลต่อประวัติชำระหนี้
ฉะนั้น จริงอยู่ที่ว่า “บัตรเครดิต” สามารถตอบสนองวิถีการใช้ชีวิตให้เกิดความสะดวกสบาย ในยุคปัจจุบัน แต่นั่นก็ทำให้หลายคนขาดความระมัดระวังและขาดวินัยทางการเงินในการใช้จ่าย จนนำไปสู่ภาวะการมีหนี้สินท่วมหัว นั่นเอง
ที่มา : setinvestnow ,บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท