4 สัญญาณ บ่งชี้ สุขภาพการเงิน กำลัง “ป่วย” หนี้เก่าไม่เคลียร์ กู้ก้อนใหม่ อยู่รอดแบบเดือนชนเดือน

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

4 สัญญาณ บ่งชี้ สุขภาพการเงิน กำลัง “ป่วย” หนี้เก่าไม่เคลียร์ กู้ก้อนใหม่ อยู่รอดแบบเดือนชนเดือน

Date Time: 29 ก.ย. 2567 12:00 น.

Video

บัญชีม้า เกลื่อนเมือง คนไทยอยู่อย่างไร ใครต้องรับผิดชอบ ? | Money Issue

Summary

  • เครดิตบูโร ชวนเช็ก 4 สัญญาณ เตือน "สุขภาพการเงิน" ของเรากำลังป่วย แบกหนี้สินมากเกินไป ทางออก แก้อย่างไร? ย้ำ ไร้เงินออม เสี่ยงหนัก

Latest


ปัจจุบันคุณมีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินที่ทำให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้โดยไม่มีรายได้นานที่สุดกี่เดือน?

หากคำตอบที่ได้น้อยกว่า 3 เดือน นั่นหมายถึงสุขภาพการเงินของเรากำลังมีความเสี่ยง จำเป็นต้องเร่งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เงินของตนเองอย่างเร่งด่วน

ยิ่งในภาวะเศรษฐกิจผันผวน ค่าครองชีพแพง การวางแผนทางการเงินยิ่งต้องให้ความสำคัญ แต่นอกจากคำถามข้างต้นแล้ว สัญญาณอะไรอีกบ้างที่กำลังบอกว่าสุขภาพการเงินของเรากำลังย่ำแย่?

ข้อมูลจากเครดิตบูโรชวนสำรวจผ่าน 4 สัญญาณ ดังนี้:

1. แบกรับภาระหนี้สินที่มากขึ้น

หนี้เก่าก็ยังสะสางไม่หมด หนี้ใหม่ก็งอกขึ้นมาอีก หรือกู้ใหม่เพื่อโปะหนี้เก่าวนลูปไปเรื่อย ๆ แสดงว่าสถานะการเงินตอนนี้ต้องการได้รับการแก้ไข

วิธีที่จะทำให้สุขภาพการเงินกลับมาดีขึ้นสำหรับคนที่มีภาระหนี้สินเยอะคือ จัดการกับการเงินและวางแผนการใช้จ่ายให้ดี มีการกำหนดวงเงินในการผ่อนชำระ พยายามจ่ายให้ตรง และไม่กลับไปกู้อีก

2. ไม่มีการออมเงินในแต่ละเดือน

การออมเงินเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะสร้างความแข็งแรงให้กับสุขภาพการเงิน หากแต่ละเดือนไม่มีการออมเงินเลย เป็นไปได้ว่าสุขภาพการเงินกำลังมีปัญหา

วิธีแก้ไขคือ ควรมีการกำหนดงบประมาณการใช้จ่าย การลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น รวมไปถึงศึกษาเรื่องการลงทุนเพื่อต่อยอดให้เงินงอกเงยขึ้น

3. ไม่มีการรับมือเตรียมพร้อมกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน

ไม่ว่าจะวิกฤติเศรษฐกิจ การเจ็บป่วย ลาออกจากงาน จำเป็นต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ แต่หากว่าเราไม่เคยคำนึงถึงเรื่องนี้เลย แสดงว่าสุขภาพการเงินใกล้ป่วยทุกที

วิธีแก้ไขคือ เริ่มเตรียมพร้อมและใช้เงินอย่างมีความรอบคอบอยู่เสมอ โดยแบ่งสัดส่วนเงินสำรองกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันไว้อยู่เสมอ

4. ไม่มีการวางแผนการเงินที่ชัดเจน

ปัจจัยสุดท้ายที่บอกว่าสุขภาพการเงินเรามีปัญหาคือการที่ไม่เคยวางแผนการเงินที่ชัดเจน ไม่จัดสรรปันส่วนเงินโดยเฉพาะส่วนการเงินในอนาคต ทำให้ไม่มีความมั่นคงทางการเงิน

วิธีแก้ไขคือ จัดทำแผนการเงินที่ละเอียด ตั้งเป้าหมายทางการเงินให้ชัดเจน เช่น ในอีก 3 ปีข้างหน้ามีเงินเก็บกี่บาท อีก 10 ปีข้างหน้าจะทำอะไร เป็นต้น

ทั้งนี้ เครดิตบูโรเตือนว่า สุขภาพการเงินเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจ ลองเช็กจาก 4 ปัจจัยเบื้องต้นว่าเรากำลังประสบปัญหาการเงินทางด้านใด และเร่งแก้ไขเพื่อเตรียมพร้อมการเงินและสร้างความมั่นคงในชีวิตโดยเร็วที่สุด

อ่านข่าวหุ้น ข่าวทองคำ และ ข่าวการลงทุน และ การเงิน กับ Thairath Money ได้ที่

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้  https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ