โลกต้องรู้! เทรนด์ผู้บริโภคยุคใหม่ “Loud Budgeting” อวดความประหยัด มีเงินเก็บแบบตะโกน

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

โลกต้องรู้! เทรนด์ผู้บริโภคยุคใหม่ “Loud Budgeting” อวดความประหยัด มีเงินเก็บแบบตะโกน

Date Time: 5 พ.ค. 2567 09:00 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Summary

  • อวดรวยมันคงธรรมดาไป "อวดประหยัด" กันดีกว่า รู้จักเทรนด์ผู้บริโภคยุคใหม่ “Loud Budgeting” ที่เน้นอวดความประหยัด มีเงินเก็บแบบตะโกน โดยไม่สนว่าใครจะคิดหรือมองอย่างไร เพราะไม่อยากใช้เงินเกินตัวจนเกิดปัญหาอื่นตามมา

Latest


หมดเงินไปเท่าไร? กับคำว่า “ของมันต้องมี” เพื่อไม่ให้ตัวเองเอาต์? ทำให้บางคนชักหน้าไม่ถึงหลัง หนี้สินพะรุงพะรัง จะไปต่อก็ไม่ได้ จะถอยกลับก็ไม่ได้ทาง

ดังนั้นในครั้งนี้ #Thairath Money จะพาไปรู้จักกับเทรนด์การเงิน “Loud Budgeting” ที่มาแรงที่สุดตั้งแต่ต้นปี โดยเป็นแนวคิดใหม่เกี่ยวกับการใช้จ่าย ที่มีวิธีการง่ายๆ เพียงแค่ป่าวประกาศกับคนใกล้ตัวให้รู้ว่า เรากำลังตั้งใจวางแผนการใช้เงินให้ประหยัดและคุ้มค่าที่สุด ทั้งตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น และควบคุมรายจ่ายให้เหมาะสมกับสถานะการเงินตัวเอง โดยไม่สนว่าใครจะคิดหรือมองอย่างไร เพราะไม่อยากใช้เงินเกินตัวจนเกิดปัญหาอื่นตามมา เช่น หนี้บัตรเครดิต หรือจะเรียกง่ายๆ ว่าเทรนด์ “อวดความประหยัด” และการใช้เงินอย่างรู้คุณค่าก็ว่าได้ 

ทั้งนี้ หากว่ากันตามตรง “Loud Budgeting” คือ วิธีการออมเงินแบบคนยุคใหม่ ที่มีการกำหนดรายจ่ายประเภทต่างๆ พร้อมกับใช้จ่ายเพื่อสิ่งสำคัญและสิ่งที่เราให้คุณค่าเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องซื้อสินค้าตามเทรนด์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ เก็บออมเงินเพื่อเป้าหมายในอนาคตและสบายใจที่จะป่าวประกาศให้คนอื่นรู้ถึงการตั้งเป้าหมายการเงินของเรา

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าให้เลือกซื้อแต่ของที่ถูกที่สุด แต่ควรเป็นของที่เหมาะสมกับตัวเรา และใช้ประโยชน์ได้จริง ไม่ตัดสินใจเลือกแค่ตามกระแสหรือความนิยมในช่วงนั้น ซึ่ง Loud Budgeting จะเน้นวิธีการบริหารเงินตามความเหมาะสม ไม่เปรียบเทียบกับคนอื่น เพื่อลดความรู้สึกอยากได้อยากมี

3 วิธีนำเทรนด์ Loud Budgeting มาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

  1. กำหนดสัดส่วนของรายได้แต่ละเดือน
    กำหนดสัดส่วนรายจ่ายประเภทต่างๆ ให้เหมาะสมกับตัวเรา เช่น ตั้งงบค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและสิ่งจำเป็น 50% ใช้จ่ายตามไลฟ์สไตล์ 30% และแบ่งเป็นเงินออมเงินลงทุนอีก 20% ถ้าเรามีรายได้เดือนละ 25,000 บาท แปลว่าเราจะมีเงินออมเดือนละ 5,000 บาท หรือปีละ 60,000 บาท เลยทีเดียว

  2. ตั้งเป้าหมายในการเก็บออมเพื่ออนาคต
    เพื่อให้เราสามารถเก็บเงินได้โดยไม่เผลอเอาไปใช้เรื่องอื่น เช่น เก็บเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินที่มีสภาพคล่องสูง แผนออมเงินต่อเนื่องระยะยาวที่ได้ผลตอบแทนสูงขึ้น รวมถึงแผนการออมเพื่อการลงทุน โดยแต่ละเป้าหมายควรกำหนดจำนวนเงินที่ต้องการ ระยะเวลาในการเก็บ และจำนวนเงินที่ต้องออมในแต่ละเดือน

  3. ประกาศให้คนอื่นรับรู้
    อาจจะเป็นพี่น้อง คนในครอบครัว เพื่อนสนิท หรือเพื่อนร่วมงานก็ได้ แล้วแต่ความสะดวกใจของเรา อย่าเก็บไว้ในใจคนเดียว การแชร์เป้าหมายของเราให้คนอื่นได้รับรู้นั้น จะช่วยให้เราจดจ่อกับสิ่งที่ประกาศออกไป เป็นแรงผลักดันให้มีโอกาสสำเร็จได้มากขึ้น แถมยังช่วยเป็นแรงกระตุ้นให้กับคนรอบข้างอีกด้วย

อ้างอิง Krungsri The COACH , Livetolife

อ่านข่าวหุ้น และการลงทุน กับ Thairath Money ได้ที่ https://www.thairath.co.th/money/investmen


ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์