กรุงศรีฯ ตั้งเป้าสินเชื่อ ธุรกิจญี่ปุ่น-บรรษัทข้ามชาติ โต 7% สู้พิษเศรษฐกิจ

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

กรุงศรีฯ ตั้งเป้าสินเชื่อ ธุรกิจญี่ปุ่น-บรรษัทข้ามชาติ โต 7% สู้พิษเศรษฐกิจ

Date Time: 26 เม.ย. 2567 17:36 น.

Video

ศิรเดช โทณวณิก Gen 3 ดุสิตธานี ธุรกิจที่เป็นมากกว่าโรงแรม | On The Rise

Summary

  • กรุงศรีฯ ตั้งเป้าสินเชื่อ ธุรกิจญี่ปุ่น-บรรษัทข้ามชาติ (JPC/MNC Banking) โต 7% เร่งขยายพอร์ตกระจายความเสี่ยง จากอุตสาหกรรมรถยนต์ หลังสินเชื่อปี 2566 หดตัว 10% รุกตลาดอาเซียน ดึงการลงทุน ผ่าน 4 กลยุทธ์

Latest


นายบุนเซอิ โอคุโบะ ประธานกลุ่มธุรกิจธนกิจพาณิชย์เกี่ยวกับญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติ (JPC/MNC Banking) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผย ทิศทางธุรกิจธนาคาร ยังเผชิญความท้าทาย จาก ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ส่งผลให้สินเชื่อในปี 2566 หดตัวลง 10% โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมรถยนต์ แต่ยังสามารถทำกำไรได้ในระดับดี จากการให้บริการด้วยนวัตกรรมใหม่


ส่งผลให้แผนธุรกิจปีนี้ ธนาคาร ตั้งเป้าหมายที่จะฟื้นฟูการเติบโตของสินเชื่อ โดยคาดว่าสินเชื่อญี่ปุ่น-บรรษัทข้ามชาติ จะเติบโต 7% ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ท้าทาย โดยมุ่งขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากรถยนต์ เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การค้า เหล็ก และอสังหาริมทรัพย์ที่ฟื้นตัวจากช่วงโควิด-19 และมีสัญญาณการลงทุนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งช่วยหนุนการเติบโตในปีนี้ได้ 

สำหรับทิศทางการดำเนินงานในปี 2567 กรุงศรีฯ ยังคงสานต่อเป้าหมายในการเป็นธนาคาร พันธมิตร ที่จะช่วยสร้างความยั่งยืนทางสังคม และสิ่งแวดล้อมให้กับลูกค้า ธุรกิจธนกิจพาณิชย์ เกี่ยวกับญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติ ผ่าน 4 กลยุทธ์

  1. เร่งส่งเสริมระบบนิเวศด้านความยั่งยืน (ESG Ecosystem) ให้กับสังคมไทย ด้วยการนำเสนอโซลูชันทางการเงินเพื่อความยั่งยืนที่ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของลูกค้า โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ทางการเงิน โดยเมื่อช่วงต้นปี ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์เงินฝากเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Deposit) บัญชีเงินฝากประจำเพื่อใช้สนับสนุนทางการเงินให้กับโครงการธุรกิจเพื่อสังคมและความยั่งยืน ร่วมขับเคลื่อนโครงการด้านความยั่งยืนในประเทศไทย ซึ่งได้รับความสนใจจากลูกค้าและคาดว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการตอบรับที่ดีในปีนี้
  2. ต่อยอดความร่วมมือเพื่อส่งเสริมระบบนิเวศของสตาร์ทอัพ (Startup Ecosystem) โดยจะขยายความร่วมมือเพิ่มเติมกับ สปป.ลาว และเวียดนาม เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลที่เอื้อต่อสังคม ชุมชน ทั้งในประเทศไทยและอาเซียน โดยในปีนี้จะมีการจัดงาน Japan-ASEAN Startup Business Matching อย่างต่อเนื่องหลังจากประสบความสำเร็จอย่างมากในปีก่อน เพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายธุรกิจสู่ตลาดระดับสากล
  3. ขยายฐานลูกค้าบรรษัทข้ามชาติจากกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (East Asian Economies) ด้วยประเทศไทยมีพื้นฐานและปัจจัยที่เอื้อต่อการลงทุน ทั้งความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ดึงดูดการลงทุนจากกลุ่มประเทศดังกล่าว โดยเฉพาะจีน ไต้หวัน ฮ่องกง และเกาหลี กรุงศรีฯ จึงเห็นโอกาสในการให้คำปรึกษา ช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจจากกลุ่มประเทศที่ต้องการเข้ามาลงทุนและขยายการเติบโตของธุรกิจในประเทศไทย
  4. ยกระดับบริการที่ปรึกษาด้านธุรกิจ Krungsri ASEAN LINK เชื่อมทุกความต้องการทำธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน โดยกรุงศรีฯ จะประสานพลังเครือข่ายธุรกิจของธนาคาร และ MUFG ที่ครอบคลุม 9 ใน 10 ประเทศในอาเซียน อาทิ Danamon Bank ในอินโดนีเซีย VietinBank ในเวียดนาม และ Security Bank ในฟิลิปปินส์ เพื่อต่อยอดบริการ ที่ปรึกษาด้านธุรกิจสำหรับลูกค้าที่ต้องการขยายธุรกิจสู่อาเซียน ตั้งแต่ในขั้นตอนเริ่มแรก เช่น การสำรวจแปลงที่ดิน การรวบรวมข้อมูล และกฎระเบียบ จนถึงการจัดตั้งและดำเนินการทางธุรกิจในต่างประเทศ โดยในปีนี้ กรุงศรีฯ มีแผนในการจัดงานสัมมนา และกิจกรรมจับคู่ทางธุรกิจ ครั้งยิ่งใหญ่ร่วมกับธนาคารพันธมิตรเพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้และโอกาสทางธุรกิจให้กับลูกค้าและผู้ที่สนใจจะขยายธุรกิจในอาเซียน

ด้านหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) พบว่า ยังอยู่ในระดับต่ำ สะท้อนถึงคุณภาพสินทรัพย์ที่ดี และคาดว่า NPL จะยังอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีจุดแข็งจากเครือข่าย MUFG ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น จึงพร้อมสนับสนุนลูกค้าทั้งไทยและต่างชาติ ในการขยายธุรกิจในต่างประเทศ


ทั้งนี้ปัจจุบันธนาคารมียอดสินเชื่อคงค้าง ณ ไตรมาสที่ 1/2567 อยู่ที่ 2.33 แสนล้านบาท ประกอบด้วยกลุ่มลูกค้าธุรกิจพาณิชย์เกี่ยวกับญี่ปุ่น (JPC) สัดส่วน 88% และบรรษัทข้ามชาติ (MNC) 12% แม้ว่าในช่วงไตรมาสที่ 1/2567 อัตราการเติบโตสินเชื่อจะหดตัว 3.3% แต่เชื่อว่าในปีนี้สินเชื่อจะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้

ติดตามข้อมูลหุ้นกู้ และ เงินฝากธนาคาร กับ Thairath Money ได้ที่

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ