Bridge Capital รุกสินเชื่อระยะสั้น เจาะกลุ่มเอสเอ็มอีเข้าถึงเงินทุนยาก ปั้นพอร์ต 9 พันล้าน ใน 5 ปี

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

Bridge Capital รุกสินเชื่อระยะสั้น เจาะกลุ่มเอสเอ็มอีเข้าถึงเงินทุนยาก ปั้นพอร์ต 9 พันล้าน ใน 5 ปี

Date Time: 9 ส.ค. 2566 17:45 น.

Video

3 มาตรการใหม่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ คุมหุ้นร้อนผิดปกติ | Money Issue

Summary

  • - Bridge Capital เปิดตัวธุรกิจ สินเชื่อระยะสั้นและผลิตภัณฑ์ร่วมลงทุนในหนี้ที่มีอสังหาริมทรัพย์ค้ำประกัน ช่วยผู้ประกอบการเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน พร้อมเป็นทางเลือกให้นักลงทุน
  • - ลุยปล่อยสินเชื่อระยะสั้น วงเงิน 10-50 ล้านบาท ดอกเบี้ยไม่เกิน 15% กำหนดชำระ 1-2 ปี มีอสังหาฯ เป็นสินทรัพย์ค้ำประกัน ภายใต้ LTV ไม่เกิน 50% ตั้งเป้าพอร์ตสินเชื่อสิ้นปี 250 ล้านบาท ภายในสิ้นปี 2567
  • - หวังชิงส่วนแบ่งตลาด 3% ใน 5 ปี หรือคิดเป็นมูลค่าพอร์ต 9 พันล้านบาท

Latest


ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กจำนวนมาก ยังประสบปัญหาในการขอเงินกู้จากแหล่งสถาบันการเงินแบบดั้งเดิม แม้ว่าจะมีอสังหาริมทรัพย์มาใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันก็ตาม ขณะที่ตัวเลขเงินฝากในระบบเติบโตสูงขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนความต้องการของนักลงทุน ที่อาจกำลังมองหาโอกาสการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ และมีผลตอบแทนสูง


สถานการณ์ดังกล่าว ทำให้ บริษัท บริดจ์ แคปปิตอล แมเนจเม้นท์ จำกัด หรือ Bridge Capital มองเห็นโอกาสในการทำธุรกิจสินเชื่อระยะสั้น และผลิตภัณฑ์ร่วมลงทุนในหนี้ที่มีอสังหาริมทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนระยะสั้นที่เหมาะสม มีความคล่องตัว และเพื่อเป็นสินทรัพย์ทางเลือกของนักลงทุนที่ต้องการความเสี่ยงต่ำ แต่มีผลตอบแทนที่น่าจูงใจ


ฐิติวัฒน์ คูวิจิตรสุวรรณ กรรมการผู้จัดการ Bridge Capital เปิดเผยว่า บริษัทเล็งเห็นโอกาสในการจัดตั้งธุรกิจสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือ และมีความโปร่งใส เพื่อให้บริการปล่อยสินเชื่อภาคเอกชน แก่ผู้ที่มีอสังหาริมทรัพย์ที่มีคุณภาพในประเทศไทยเป็นหลักประกัน


ทั้งนี้ จึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ลงทุนที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการและนักลงทุนที่มองหาผลตอบแทนที่ดี โดยบริษัทจะเป็นผู้ดำเนินการปล่อยสินเชื่อระยะสั้น ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันในวงเงินสินเชื่อจำนวน 10-50 ล้านบาท ที่อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนด มีกำหนดระยะเวลาชำระคืนภายใน 1-2 ปี และมีอสังหาริมทรัพย์ที่มีคุณภาพในทำเลที่ดีเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งรวมถึงที่ดินเปล่า อาคารพาณิชย์ ทาวน์โฮม อาคารและห้องชุดอยู่อาศัย เป็นต้น ภายใต้เงื่อนไขอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (Loan-To-Value) ไม่เกิน 50% ของมูลค่าหลักทรัพย์ค้ำประกัน


สำหรับแหล่งเงินทุนในการปล่อยสินเชื่อนั้น ส่วนหนึ่งจะมาจากเงินทุนจดทะเบียนของบริษัทเอง และอีกส่วนหนึ่งจะมาจากเงินร่วมลงทุน ผ่านการออกสัญญาสิทธิในการลงทุนให้แก่นักลงทุนที่ผ่านการคัดเลือก ซึ่งบริษัทคาดว่าผู้ลงทุนจะได้รับอัตราผลตอบแทนแบบคงที่ ในอัตราดอกเบี้ย 5-8% ต่อปี และมีระยะเวลาการลงทุน 1-5 ปี โดยบริษัทมีเป้าหมายเจาะกลุ่มนักลงทุนประเภทบุคคลธรรมดาที่มีเงินลงทุนตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ในสัดส่วน 70% และประเภทลูกค้ามั่งคั่ง ผ่านสถาบันการเงินในสัดส่วนที่เหลืออีก 30%


อย่างไรก็ตาม หากเกิดเหตุผิดนัดชำระหนี้ระหว่างผู้ขอสินเชื่อและบริษัท ในสินทรัพย์ที่มีผู้ร่วมลงทุน บริษัทจะเป็นผู้รับความเสี่ยงในการจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้น ตามสัญญาคืนให้แก่ผู้ร่วมลงทุน และดำเนินการแทนทั้งหมด


นอกจากนี้ ตั้งแต่บริษัทได้เริ่มเปิดดำเนินการแล้วตั้งแต่ต้นปี 2566 ให้บริการปล่อยสินเชื่อไปแล้วกว่า 40 ล้านบาท เป็นสัดส่วนเงินลงทุนจากบริษัทเพียงอย่างเดียว โดยยังไม่มีผู้ร่วมลงทุน ซึ่งหลังจากนี้จะเร่งให้ความรู้กับตลาดเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สนใจร่วมลงทุนในอนาคต โดยคาดว่าจะมีมูลค่าพอร์ตสินเชื่อเติบโตอยู่ที่ 250 ล้านบาท ภายในสิ้นปี 2567


ฐิติวัฒน์ กล่าวอีกว่า บริษัทตั้งเป้าให้มีส่วนแบ่งในตลาดเครดิตสำหรับเอกชน (Private Credit) ที่ระดับ 3% หรือคิดเป็นมูลค่าสินเชื่อในพอร์ตจำนวน 9,000 ล้านบาท ภายใน 5 ปีข้างหน้า ดังนั้น บริษัทจะต้องมีการพัฒนาส่วนต่างๆ เพื่อสนับสนุนการเติบโตที่มั่นคง เช่น การพัฒนาระบบ โครงสร้างพื้นฐาน กระบวนการพิจารณา ให้มีความสะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


ขณะเดียวกัน บริษัทมองว่าการเข้าจดทะเบียนและระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้นเป็นแนวทางการเติบโตที่ดี ซึ่งแผนนี้คาดว่าจะสำเร็จได้ในอีก 5 ปีข้างหน้าเช่นกัน.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์