คลังแจงตั้งกรอบงบปี 65 ลดลง เฝ้าระวัง-ติดตามความเสี่ยงวิกฤติการคลังใกล้ชิด

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

คลังแจงตั้งกรอบงบปี 65 ลดลง เฝ้าระวัง-ติดตามความเสี่ยงวิกฤติการคลังใกล้ชิด

Date Time: 5 เม.ย. 2564 07:23 น.

Summary

  • การตั้งกรอบงบประมาณปี 65 ลดลงกว่างบประมาณปี 64 ว่า ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก โดยปีงบประมาณปี 53 ก็ปรับลดกรอบวงเงินลงจากปีงบประมาณ 52 ราว 250,000 ล้านบาท

Latest

ชัชวาลย์ เจียรวนนท์ ส่ง Lightnet จับมือ WeLab ฟินเทคฮ่องกง ลงสนามชิงใบอนุญาตฯ Virtual Bank

น.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) โฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวชี้แจงประเด็นการตั้งกรอบงบประมาณปี 65 ลดลงกว่างบประมาณปี 64 ว่า ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก โดยปีงบประมาณปี 53 ก็ปรับลดกรอบวงเงินลงจากปีงบประมาณ 52 ราว 250,000 ล้านบาท เนื่องจากเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ทำให้ใช้มาตรการภาษีเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและบรรเทาความเดือดร้อนประชาชน อีกทั้งยังได้ออก พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ.2552 (พ.ร.ก. ไทยเข้มแข็งฯ) ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกับปัจจุบัน ที่เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 และมีการออก พ.ร.ก.กู้เงินอีกด้วย “กระทรวงการคลังมีเครื่องมือวิเคราะห์ติดตามความเสี่ยงของการเกิดวิกฤติการคลังอย่างใกล้ชิด ผ่านแบบจำลอง Fiscal Early Warning System ทั้งนี้ ณ สิ้นปีงบประมาณ 63 ค่าดัชนีรวมเตือนภัยล่วงหน้าอยู่ที่ 2.47 สูงขึ้นจากสิ้นปีงบประมาณ 62 ซึ่งอยู่ที่ 1.44 เพราะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่ยังต่ำกว่าระดับขีดเตือนภัยที่อยู่ที่ 5 สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลต้องเฝ้าระวังและบริหารจัดการอย่างใกล้ชิด แต่ยังคงมีพื้นที่ว่าง ในการจัดทำนโยบายการคลังเพิ่มเติมได้หากมีความจำเป็น”

น.ส.กุลยากล่าวว่า รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจยังคงลงทุนต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยมูลค่าการลงทุนของรัฐวิสาหกิจแต่ละปีอยู่ที่กว่า 300,000 ล้านบาท เน้นการลงทุนที่จำเป็นและเกิดประโยชน์ ส่วนประเด็นระดับหนี้สาธารณะต่อจีดีพี เป็นตัวเลขในระบบการคลัง ที่องค์กรระหว่างประเทศและบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือทั้ง Moody’s S&P’s และ Fitch ให้การยอมรับและนำมาจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ซึ่งภายใต้กฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ การจัดทำแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีนั้น สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากลั่นกรองโครงการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ โดยพิจารณาความพร้อมของโครงการ ความจำเป็นเร่งด่วนและความสอดคล้องกับหลักการและระเบียบที่เกี่ยวข้อง และจัดทำแผนการบริหารหนี้สาธารณะเสนอ ครม.ให้ความเห็นชอบ ซึ่ง สบน.ได้ติดตามและรายงานแผนและผลการบริหารหนี้สาธารณะอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงเผยแพร่ข้อมูลการกู้เงินของกระทรวงการคลัง บนเว็บไซต์ www.pdmo.go.th ซึ่งแสดงถึงความโปร่งใสของการดำเนินงาน และประชาชนสามารถตรวจสอบได้.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ