ธ.ก.ส.ชงบอร์ดยืดหนี้เอสเอ็มอีอีก 3 เดือน ลูกค้าวิสาหกิจชุมชน-กองทุนหมู่บ้านมีเฮ

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ธ.ก.ส.ชงบอร์ดยืดหนี้เอสเอ็มอีอีก 3 เดือน ลูกค้าวิสาหกิจชุมชน-กองทุนหมู่บ้านมีเฮ

Date Time: 27 ก.ค. 2563 05:15 น.

Summary

  • นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า เร็วๆนี้ ธ.ก.ส.เตรียมเสนอการขยายเวลาพักชำระหนี้ต้นเงินให้กับลูกค้าเอสเอ็มอีและเอสเอ็มอีเกษตร ของ ธ.ก.ส.

Latest

ชัชวาลย์ เจียรวนนท์ ส่ง Lightnet จับมือ WeLab ฟินเทคฮ่องกง ลงสนามชิงใบอนุญาตฯ Virtual Bank

นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า เร็วๆนี้ ธ.ก.ส.เตรียมเสนอการขยายเวลาพักชำระหนี้ต้นเงินให้กับลูกค้าเอสเอ็มอีและเอสเอ็มอีเกษตร ของ ธ.ก.ส. ประกอบด้วย ผู้ประกอบการ (นิติบุคคล) กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน กองทุนหมู่บ้านหรือชุมชน และสหกรณ์ภาคการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับการผลิตออกไปอีก 3 เดือน ตั้งแต่ ต.ค.-ธ.ค.63 จากเดิมจะสิ้นสุดเวลาพักชำระหนี้ในเดือน ก.ย.นี้ ให้บอร์ด ธ.ก.ส.พิจารณา

ปัจจุบันมีลูกค้าเอสเอ็มอีและเอสเอ็มอีเกษตรที่เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้จำนวน 500,000 ราย มูลหนี้ 200,000 ล้านบาท ซึ่งในการต่ออายุพักชำระหนี้ครั้งนี้ จะไม่ได้เป็นการพักหนี้ให้อัตโนมัติ แต่ ธ.ก.ส.จะสำรวจข้อมูลก่อนว่าเอสเอ็มอีรายใดที่มีปัญหาการเงินหรือขาดความสามารถด้านการชำระหนี้ซึ่งเมื่อพักหนี้ให้แล้ว เอสเอ็มอีรายใดมีความเสี่ยงว่าจะไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อได้ ธ.ก.ส.จะปรับโครงสร้างหนี้ด้วย เพื่อไม่ให้ลูกหนี้เอสเอ็มอีเหล่านี้กลายเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)

ส่วนหนี้เอ็นพีแอล ของ ธ.ก.ส.นั้น ปัจจุบันอยู่ที่ 4.07% วงเงิน 61,000 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา โดยขณะนี้ไม่ได้ห่วงว่าหนี้เสียจะเป็นเท่าใด เพราะธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ช่วยดูแลอยู่ และที่ผ่านมา ธ.ก.ส.ดูแลและช่วยเหลือลูกค้ามาโดยมาตลอด ทั้งลูกค้าที่มีสถานะปกติและลูกค้าที่อาจเป็นหนี้เสียในอนาคตด้วย “ปีนี้หนี้เอ็นพีแอลจะเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ยังไม่สามารถคาดเดาได้ แต่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นแน่นอน ซึ่งขณะนี้ ธ.ก.ส.ได้กันเงินสำรองหนี้สูญไว้แล้ว 300,000 ล้านบาท หาก ธ.ก.ส.ต้องดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ให้เอสเอ็มอีในกลุ่มที่ยืดชำระหนี้เพิ่มเติม ธ.ก.ส.จำเป็นต้องสำรองเงินเพิ่มขึ้นด้วย เพราะถือว่าธนาคารต้องแบกรับความเสี่ยง”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ