4 หุ้นเนื้อสัตว์เตรียมฟื้น คาดปี 68 กำไรทะลุ 2.9 หมื่นล้าน CPF เด่น ราคา “เนื้อหมู” ขึ้น

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

4 หุ้นเนื้อสัตว์เตรียมฟื้น คาดปี 68 กำไรทะลุ 2.9 หมื่นล้าน CPF เด่น ราคา “เนื้อหมู” ขึ้น

Date Time: 5 ก.พ. 2568 11:21 น.

Video

“โกษาปาน ดิสติลเลอรี่” สุรากลั่นเชื่อมวัฒนธรรม | BrandStory Special EP x เมรัยไทยแลนด์

Summary

  • หุ้นกลุ่มธุรกิจเพาะเลี้ยงและจำหน่ายเนื้อสัตว์กำลังพ้นเคราะห์กรรมจากการแพร่ระบาดของ “หมูเถื่อน” และกำไรฟื้นตัวดีขึ้น โดยเฉพาะราคาจำหน่ายเนื้อหมูที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ต้นทุนอาหารสัตว์ปรับตัวลดลง ทั้งนี้ CPF หรือ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) น่าจะเป็นหุ้นที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดในกลุ่มนี้

Latest


หุ้นกลุ่มธุรกิจเพาะเลี้ยงและจำหน่ายเนื้อสัตว์กำลังพ้นเคราะห์กรรมจากการแพร่ระบาดของ “หมูเถื่อน” และกำไรฟื้นตัวดีขึ้น โดยเฉพาะราคาจำหน่ายเนื้อหมูที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ต้นทุนอาหารสัตว์ปรับตัวลดลง ทั้งนี้ CPF หรือ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) น่าจะเป็นหุ้นที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดในกลุ่มนี้

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส ประเมินว่า กำไรของกลุ่มธุรกิจเพาะเลี้ยงและจำหน่ายเนื้อสัตว์ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 จะเติบโตเมื่อเทียบกับปีก่อน แต่จะลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า ปัจจัยหลักเป็นไปตามฤดูกาล ทั้งนี้ บริษัทคาดว่า กำไรของ 4 บริษัทในกลุ่มเกษตรและอาหาร ได้แก่

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (CPF), บริษัท จีเอฟพีที จำกัด (มหาชน) (GFPT), บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (TU), และบริษัท ไอ-เทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ITC) จะมีกำไรปกติรวมในไตรมาสที่ 4 จำนวน 6.35 พันล้านบาท ฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 ซึ่งมีผลขาดทุนปกติรวม 4.8 พันล้านบาท

นำโดยผู้ประกอบการรายใหญ่สุดในกลุ่มอย่าง CPF โดดเด่นพลิกมีกำไรเมื่อเทียบกับงวดปีก่อนที่มีผลขาดทุนปกติสูง ตามด้วย ITC ที่คาดว่ากำไรจะเติบโต 4% จากปีก่อน ส่วน TU คาดว่ากำไรจะลดลง 4% และ GFPT กำไรลดลง 14% จากปีก่อน

โดยการฟื้นตัวของกำไรกลุ่มฯ เป็นผลจากความสามารถในการทำกำไรที่ปรับตัวดีขึ้นเพราะราคาผลิตภัณฑ์ดีขึ้น ท่ามกลางต้นทุนอาหารสัตว์ระดับต่ำกว่าปีก่อน และการเพิ่มสัดส่วนยอดขายผลิตภัณฑ์ที่มีอัตรากำไรสูง แต่ทั้งนี้ หากเทียบกับไตรมาสที่ 3 นั้น คาดกำไรของทั้ง 4 บริษัทรวมกันจะลดลง 34% จากไตรมาสก่อน ตามปัจจัยฤดูกาล หลังผ่านพ้นช่วงพีคสุดของปีในไตรมาส 3 ส่งผลให้ผู้ประกอบการทุกรายมีกำไรอ่อนตัวลง

ทั้งนี้หากพิจารณากำไรรายบริษัทจะพบว่า ในไตรมาสที่ 4 CPF คาดกำไรปกติ 3.92 พันล้านบาท ลดลง 40% จากไตรมาสก่อนหน้า จากปัจจัยฤดูกาล และราคาเนื้อสัตว์ (ไก่/สุกร) ลดลงทั้งไทย/ต่างประเทศ (แต่ยังยืนสูงกว่าต้นทุนการเลี้ยง) กดดันยอดขายและมาร์จิ้นอ่อนตัว ด้าน GFPT คาดกำไรปกติ 345 ล้านบาท อ่อนตัว 39% จากไตรมาสก่อนหน้า จากปัจจัยฤดูกาลเมื่อเทียบกับงวดก่อน ตลอดจนการลดลงของราคาขายในประเทศทั้งไก่เป็นและโครงไก่ กระทบต่อกำไร และส่วนแบ่งกำไรบริษัทร่วมลดลง

TU คาดกำไรปกติ 1.2 พันล้านบาท ลดลง 18% จากไตรมาสก่อนหน้า ตามปัจจัยฤดูกาล, กำไรอ่อนตัวจากอาหารสัตว์เลี้ยง และค่าใช้จ่ายขายบริหารเพิ่ม ส่วน ITC คาดกำไรปกติ 848 ล้านบาท ลดลง 18% จากไตรมาสก่อนหน้า จากประสิทธิภาพทำกำไรลดลง ผลจากต้นทุนปลาทูน่าสูงขึ้น, ค่าเสื่อมราคาโรงงานใหม่เต็มไตรมาส, การไม่มีรายการกลับสำรองสินค้าคงคลังเหมือนงวดก่อน ตลอดจนค่าใช้จ่ายขายบริหารสูงขึ้น กดดันต่อมาร์จิ้นอ่อนตัว และ SG&A/Sales เพิ่ม อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปีก่อน คาดกำไรเพิ่ม 4% จากมาร์จิ้นดีขึ้นเป็นหลัก ผลจากการเพิ่มสัดส่วนขายสินค้าพรีเมียมที่มีมาร์จิ้นสูง และสต๊อกต้นทุนปลาทูน่าต่ำกว่าปีก่อน

คาดกำไรปี 2568 พุ่งเกือบ 3 หมื่นล้าน

อย่างไรก็ตาม บล.ประเมินว่า CPF จะโดดเด่น แม้คาดการณ์กำไรปกติปี 2568 ของหุ้นกลุ่มเกษตรและอาหาร (4 บริษัท) เท่ากับ 2.92 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% จากปีก่อน แต่ประมาณการอาจมี Downside เนื่องจากยังไม่ได้รวมผลกระทบเรื่อง GMT สำหรับกลุ่ม TU และ ITC ส่วน CPF ไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากภาษีสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ และ GFPT ฐานรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์และไม่ได้เป็นบริษัทข้ามชาติ อาจต้องรอรายละเอียดเพิ่มเติมจากบริษัทหลังประกาศงบกลาง ก.พ. นี้

ทั้งนี้ กรณีขั้นเลวร้ายสุด ซึ่งมองว่ายากจะเกิดขึ้น โดยกำหนด Effective Tax Rate ของ TU เพิ่มเป็น 15% จะทำให้กำไรปกติปีนี้ลดลงจากเดิม 10% ส่วน ITC ในฐานะบริษัทลูก หาก Tax Rate 15% จะทำให้กำไรปกติปีนี้ลดลงจากเดิม 12% คงแนะนำลงทุนเท่ากับตลาดสำหรับกลุ่มฯ โดยช่วงสั้นชอบการดำเนินงานของธุรกิจสัตว์บกมากกว่าธุรกิจสัตว์น้ำ/อาหารสัตว์เลี้ยงที่ยังมีความไม่แน่นอนเรื่อง GMT จึงเลือก CPF ราคาที่เหมาะสม 30.00 บาท

ราคาเนื้อสัตว์เพิ่มต่อเนื่อง

นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ พาย เปิดเผยว่า ทิศทางของราคาเนื้อสัตว์ในเดือน ม.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มสุกรในประเทศที่สูงสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2567 ขณะที่ราคาเนื้อไก่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน มายืนเหนือระดับ 40 บาท/กก. ได้อีกครั้ง ด้านราคาเนื้อสัตว์ในต่างประเทศ ที่เวียดนามเดือน ธ.ค. กลับมายืนเหนือ 60,000 ดอง/กก. ขณะที่เดือน ม.ค. ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่วนราคาสุกรที่จีนยังคงอยู่ในช่วงขาลง

แนวโน้มราคาเนื้อสัตว์ในประเทศเดือน ก.พ. คาดว่ายังคงยืนสูงได้ เพราะผลกระทบจากปริมาณสุกรที่ลดลงจากโรคระบาดสุกร ซึ่งยังต้องใช้เวลาในการเพิ่มปริมาณสุกรเข้าสู่ระบบ แต่อาจจะมีการอ่อนตัวลงบ้างเล็กน้อยเพราะหมดช่วงเทศกาลตรุษจีน เราจึงยังคงน้ำหนักการลงทุนไว้ที่ “เท่าตลาด” เช่นเดิม และเลือก CPF เป็น Top Picks ของกลุ่ม เพราะมองว่าแนวโน้มผลประกอบการช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 ต่อเนื่องไปถึงไตรมาสที่ 1 ของปี 2568 มีโอกาสเห็นการเติบโตต่อเนื่องเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนได้

อ่านข่าวหุ้น และการลงทุน กับ Thairath Money ได้ที่

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ