บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า เงินฝากไหลออกจากทุกธนาคารในเดือนสิงหาคม โดยลดลง 1.5% จากเดือนก่อน และ ลดลง 1.1% จากปีก่อน ซึ่งเมื่อแยกเป็น รายธนาคาร พบว่า ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY ลดลงมากที่สุด โดยลดลง 2%จากเดือน , ส่วน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK และ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB ลดลง 1.8% เท่ากัน ส่วน TTB ลดลง 1.4% และ BBL ลดลง 1%
ทั้งนี้ เงินฝากที่ลดลงมาจากหลายสาเหตุ รวมถึงการ โยกเงินฝากไปหาผลตอบแทนจากการลงทุนประเภทอื่นหลังจากที่ธนาคารไม่ต่อแคมเปญเงินฝาก ดอกเบี้ยสูง ในขณะเดียวกันธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL , ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB และ ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) TTB บอกว่าเงินฝากที่ไหลออกมาจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ หรือ CASA
ทั้งนี้ฐานเงินฝากที่ลดลงทำให้ธนาคารต้องปรับลดสถานะการลงทุนในตราสารหนี้ตามไปด้วย เราชอบ KTB และ BBL รวมถึง TTB ด้วย เราคงติดตามสัญญาณการไหลออกเงินฝากในเดือนสิงหาคมอย่างใกล้ชิดเพราะเป็นภาพที่เกิดขึ้นกับทุก ธนาคาร ซึ่งในภาวะที่ตลาดทุนกำลังฟื้นตัวขึ้น และ กองทุนวายุภักษ์ระดมทุนเพิ่มอาจจะทำให้เงินฝาก ไหลออกเพิ่มขึ้นอีกเพื่อหาผลตอบแทนที่สูงกว่าในช่วงเดือนต่อ ๆ ไป
ทั้งนี้ในฐานะที่เป็นธนาคารที่ดำเนินการให้รัฐบาล KTB จึงจะยังคงได้อานิสงส์จากภาวะที่เกิดขึ้นนี้ ในขณะที่ธีมของ BBL เป็นเรื่อง ของการลด credit cost ส่วน LOS ที่ลดลง และ NIM ที่ดีขึ้นจะช่วยหนุนแนวโน้มของ TTB
สินเชื่อของทุกธนาคารชะลอตัวลง โดยเป็นการชะลอตัวในสินเชื่อหลายกลุ่ม สินเชื่อของธนาคารหลายแห่งชะลอตัวลง -1% ลดลงจากเดือนก่อน , ลดลงจากต้นปี 2% โดยเฉพาะ ธนาคารกรุงเทพ หรือ BBL ที่สินเชื่อ ลดลงถึง 1.5% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และ ลดลง 3% จากต้นปี
เพราะสินเชื่อระยะยาวลดลงจากสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ และ สินเชื่อระหว่างประเทศขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยแนวโน้มดังกล่าวเป็นเช่นเดียวกับของ KTB, SCB และ KBANK ในขณะเดียวกัน สินเชื่อที่ลดลงของ TTB TISCO KKP สะท้อนถึงสินเชื่อ H/P ที่ ลดลงตามยอดขายรถในประเทศที่ลดลงอย่างมาก ซึ่งเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาหลายเดือนแล้ว เน้นปล่อยกู้ยีดล์ต่ำในตลาดเงินเพิ่มขึ้น นำโดย KTB และ BBL
ในขณะที่สินเชื่อของธนาคารส่วนใหญ่ชะลอตัวลงในเดือนสิงหาคม ธนาคารหลายแห่งปล่อยกู้ยีดล์ต่ำ ในตลาดเงินเพิ่มขึ้น นำโดย KTB ที่ปล่อยกู้เพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง เพิ่มขึ้น 9%จากเดือนก่อน รองลงมาคือ BBL ที่ เพิ่ม 7% จากเดือนก่อน และ TTB ที่ เพิ่มขึ้น 5% จากเดือนก่อน
ทั้งนี้ เราพบว่าการปล่อยกู้ yield ต่ำในตลาดเงินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ติดต่อกันมาสี่เดือนแล้ว ซึ่งการปล่อยกู้ในตลาดเงินอย่างคึกคักน่าจะสะท้อนถึงอุปสงค์สินเชื่อจาก รัฐวิสาหกิจ และ บริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องดีลกับโครงการภาครัฐ และ นโยบายการปล่อยกู้อย่าง ระมัดระวังในกลุ่มสินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูง เงินฝากไหลออกเร็วกว่าสินเชื่อที่ลดลง
บล.เอเซีย พลัส เปิดเผยว่า สินเชื่อกลุ่มฯ ส.ค. ลด 0.8% จากเดือนก่อน ภาพรวมสินเชื่อสุทธิกลุ่มฯ (8 ธนาคาร) ณ สิ้น ส.ค. 67 ลดลง 0.8% จากเดือนก่อน ลดเกือบทุกธนาคาร ยกเว้น ธนาคารไทยรพาณิชย์ SCB ทรงตัวจากเดือนก่อน จาก รายใหญ่และจำนำทะเบียน) หลักๆ มาจากสินเชื่อรายใหญ่, รัฐบาล (KTB) และ สินเชื่อรายย่อย ทั้งสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และบ้าน ตามนโยบายการปล่อยสินเชื่อ อย่างระมัดระวังในกลุ่มนี้ เพื่อลดความเสี่ยงด้าน NPL ในทางตรงข้ามกลุ่มสินเชื่อ ที่ให้ผลตอบแทนสูงคุ้มความเสี่ยง (High yield) อย่าง จำนำทะเบียนรถ (SCB ผ่าน AUTOX และ TISCO) รวมถึงรถแลกเงิน (TTB) ขยายตัว
ด้านเงินฝากกลุ่มฯ ณ สิ้น ส.ค. 67 ลบ 1.5% จากเดือนก่อน เป็นไปในทางเดียวกับสินเชื่อที่ยังฟื้นตัวช้า ทำให้ความจำเป็นในการระดมเงินฝาก ลดลง ด้วยเงินฝากลงในอัตรามากกว่าสินเชื่อ หนุน LDR (Loan to deposit ratio) กลุ่มฯ ณ สิ้น ส.ค. 67 เท่ากับ 87.4% เทียบกับ 86.8% ณ สิ้น ก.ค. 67
อ่านข่าวหุ้น และการลงทุน กับ Thairath Money ได้ที่
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้