หนี้เสียไทยทะลัก NPL ทะลุ 5.4 แสนล้าน ปัญหาที่แบงก์ไทยกำลังเร่งเก็บกวาด

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

หนี้เสียไทยทะลัก NPL ทะลุ 5.4 แสนล้าน ปัญหาที่แบงก์ไทยกำลังเร่งเก็บกวาด

Date Time: 23 ก.ค. 2567 12:38 น.

Video

สาเหตุที่ทำให้ Intel อดีตยักษ์ใหญ่ชิปโลก ล้าหลังยุค AI | Digital Frontiers

Summary

  • - เกาะติดปัญหาหนี้เสียธนาคารไทย ไตรมาสที่ 2 ทะลัก 5.4 แสนล้านบาท
  • - 8 แบงก์ไทยกำลังเร่งแก้ไขปัญหาหนี้เสีย ด้วยการตั้งสำรอง และ การขายหนี้เสียออกไป
  • - ความโดดเด่นของกลุ่มธนาคารยังมีมาก โดยเฉพาะอัตราการปันผลที่สูง

Latest


จบไปแล้วสำหรับการประกาศกำไรของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยไตรมาสที่ 2 ที่สัญญาณสำคัญ คือ หลายธนาคารมีการตั้งสำรองที่สูงมาก จากภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดีนัก และในขณะเดียวกันหนี้เสียกำลังปะทุอย่างต่อเนื่อง โดยจากการรายงานของ บล.เอเซีย พลัส ชี้ว่า 8 ธนาคารไทย มีหนี้เสีย สูงถึง 5.4 แสนล้านบาท และเป็นปัญหาที่ธนาคารไทยกำลังเร่งรีบในการแก้ 

บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส ประเมินว่า กำไรสุทธิกลุ่ม 8 ธนาคารใหญ่ในตลาดหุ้นไทย งวดไตรมาสที่ 2 ตามคาดฝ่ายวิจัยอยู่ที่ 6.2 หมื่นล้านบาท ลดลง 2.0% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จาก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หรือ ECL สูงขึ้น ตามวัฏจักรขาขึ้นของ หนี้ที่คาดว่าไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPL ทำให้สัดส่วน หนี้เสียต่อสินเชื่อ หรือ NPL/LOAN กลุ่มฯ ขยับมาที่ 3.7% เทียบกับ 3.6% ณ สิ้นงวดก่อน 

จาก ธนาคารกรุงศรี หรือ BAY, ธนาคารกรุงเทพ หรือ BBL และ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร KKP ด้าน COVERAGE RATIO กลุ่มฯ เหลือ 175.8% จาก 178.7% ณ สิ้นงวดไตรมาสที่ 1 โดยปัจจัยด้าน ECL หักล้างการขยายตัวของ PPOP ที่ 1.4% จากสิ้นไตรมาสก่อน 

โดย ธนาคารพาณิชย์ ที่การขยายตัวของกำไรในเชิง จากปีก่อน เด่นกว่ากลุ่มฯ 3 อันดับแรก นำโดย TTB เพิ่มขึ้น 17% จากปีก่อน เพราะ TAX SHIELD ตามด้วย KBANK เพิ่มขึ้น 15% จากปีก่อน จาก CREDIT COST ลดลง และ ธนาคารกรุงไทย หรือ KTB เพิ่มขึ้น 10% จากปีก่อน ตามรายได้ที่เติบโต 

เปิดงบแบงก์ ครึ่งปีแรก กำไร 1.2 แสนล้าน 

ภาพรวมกำไรสุทธิกลุ่มธนาคาร งวดครึ่งปีแรก อยู่ที่ 1.24 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% จากปีก่อน คิดเป็นสัดส่วน 54% ของกำไรสุทธิกลุ่มฯ ปี 2567 ที่ 2.3 แสนล้านบาท (ทรงตัวจากปีก่อน) สะท้อนความเสี่ยงจากแรงกดดันของเศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งปีหลัง หลังการประชุม นักวิเคราะห์ ผู้บริหารธนาคารส่วนใหญ่ ส่งสัญญาณระมัดระวังต่อเศรษฐกิจไทย ช่วงที่เหลือของปี รวมถึงงวดไตรมาสที่ 4 ซึ่งส่วนใหญ่แล้วกำไรมีโอกาสทำจุดต่ำสุดของปี เหตุเพราะ งบลงทุน ตามฤดูกาล

วัฏจักรขาขึ้นของ NPL ยังดำเนินต่อไป วัฏจักรขาขึ้นของ NPL (Stage 3) ไทย ยังดำเนินต่อไป ทั้ง รายย่อย แทบทุกประเภท สินเชื่อ, SME และ รายใหญ่ ท่ามกลางการฟื้นตัวช้าของเศรษฐกิจไทย รวมถึง มาตรการผ่อนผันการจัดชั้นหนี้หมดลงเมื่อสิ้นปี 2566 ส่งผลต่อการเลื่อนชั้นของ มูลหนี้ที่ได้รับการปรับโครงสร้างหนี้ โดยเฉพาะรายใหญ่ซึ่งการแก้ NPL ใช้วิธีการ ปรับโครงสร้างหนี้เป็นหลัก ต้องใช้เวลานานขึ้นในการเลื่อนชั้น กล่าวคือต้องจ่าย ติดกัน 3 งวด จึงเลื่อนเป็น Stage 2 และอีก 9 งวด จึงจะเลื่อนสู่ Stage 1 ตาม มาตรฐานบัญชี TFRS 9 (เดิมมาตรการผ่อนผันให้เลื่อนชั้นจาก Stage 3 ไป 1 ได้ ทันที หลังจ่าย 1 งวด) 

แบงก์ไทยเร่งแก้หนี้เสีย 

แม้กลุ่มฯ พยายามบริหารจัดการเชิงรุก ผ่านการ Write-off และขาย NPL อาทิ KBANK (Write-off ราว 7.5 พันล้านบาท, ขาย NPL ตาม Legal claim amount ประมาณ 6.3 พันล้านบาท) ตามด้วย SCB (Write-off ราว 1.07 หมื่นล้านบาท, ขาย NPL ประมาณ 1.8 พันล้านบาท) และ TTB (Write-off ราว 7 พันล้านบาท, ขาย NPL ประมาณ 500 ล้านบาท) แต่มูลหนี้ NPL กลุ่มฯ ณ สิ้นงวด 2Q67 ยัง ปรับ เพิ่ม 4.6% จากต้นปี มาที่ 5.2 แสนล้านบาท ประกอบกับฐานสินเชื่อหดตัว ส่งผลให้สัดส่วน NPL/Loan ขยับเป็น 3.7% เทียบกับ 3.6% ณ สิ้นงวดก่อน 

โดย ธนาคารพาณิชย์ ที่สัดส่วน NPL/Loan เพิ่มมากกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ ได้แก่  ธนาคารกรุงศรี BAY, ธนาคารกรุงเทพ BBL และ ธนาคารเกียรนาคินภัทร KKP ในทางตรงข้าม ธนาคารกสิกรไทย KBANK รายงาน NPL/Loan ลดลง ผ่านการเก็บกวาด NPL ดำเนินต่อเนื่องตั้งแต่ครึ่งปีหลัง รวมทั้งฐานสินเชื่อเติบโต 

ขณะที่ ธนาคารกรุงไทย KTB แม้ NPL/Loan เพิ่ม แต่เป็นเพราะฐานสินเชื่อหดตัว ในเชิงมูลหนี้ NPL ลดลง สะท้อนการควบคุมคุณภาพสินทรัพย์ยังทำได้ดี ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ตามความเห็นฝ่ายวิจัย ทิศทางมูลหนี้ NPL กลุ่มฯ ยังไต่ระดับต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปี สู่ระดับ 5.4 แสนล้านบาท ลดลง 9% จากปีก่อน คิดเป็นสัดส่วน NPL/Loan ราว 3.8-3.9% (ขึ้นอยู่กับฐานสินเชื่อช่วงปลายปีขยายตัวมากน้อยเพียงใด) สำหรับ LLR กลุ่มฯ ณ สิ้นงวดไตรมาส 2 เท่ากับ 9.1 แสนล้านบาท เพิ่ม 0.5% จากต้นปี ต่ำกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของ NPL ส่งผลให้ Coverage Ratio (LLR/NPL) ลดลงเหลือ 175.8% เทียบกับ 178.7% ณ สิ้นงวดก่อน ขณะที่ในเชิง LLR/Loan ยังใกล้เคียงสิ้นงวด ไตรมาสที่ 1 ที่ 6.5%

เส้นทางที่แตกต่างกันในการรับมือกับ NPL ด้วยเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง ในหลายอุตสาหกรรม อาทิ รถยนต์จากสันดาปหรือ ICE สู่ รถยนต์ไฟฟ้า EV, สังคมผู้สูงอายุ และผลทางอ้อม จากการคุมเข้มสินเชื่อของธนาคารเพื่อลดแรงกดดันจาก NPL ในระยะข้างหน้า ภาพรวมฝ่ายวิจัยจึงคาดวัฏจักรขาขึ้นของ NPL ลากยาวออกไป โดยเฉพาะ สินเชื่อรายย่อย ยังถูกฉุดรั้งด้วยหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ในระดับสูง ภาพดังกล่าวทำให้การรับมือกับ NPL มีความท้าทายมากขึ้น ซึ่งแต่ละธนาคาร มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง

ตามนโยบายบริหารความเสี่ยงของแต่ละธนาคาร เพื่อลดทอนผลกระทบต่อกำไรสุทธิ ซึ่ง BBL, KBANK, KTB และ TTB ถือว่าทำกำไรได้ดีในงวดนี้โดย KBANK และ KTB ที่ดำเนินการเก็บกวาด NPL ผ่านการเร่ง Write-off และขาย NPL มาต่อเนื่องตั้งแต่ 2H65 ช่วยให้สินเชื่อ NPL เกิดใหม่ (NPL Formation) ยังอยู่ในการควบคุม และคาดมีแนวโน้มต่อเนื่อง ประเมินทำให้ Credit Cost ทั้งปี ไม่หลุดกรอบเป้าหมายของธนาคาร ด้าน BBL เนื่องจากพอร์ตสินเชื่อส่วนใหญ่เป็นรายใหญ่ ซึ่งใช้การปรับโครงสร้างหนี้เป็นหลัก จึงอาจเห็นการกระจุกตัวของสินเชื่ออยู่ใน Stage 2 และ Stage 3 แต่มองว่าปัจจัยดังกล่าวถูกรับมือด้วยการเตรียม Coverage Ratio มา ตั้งแต่ช่วงครึ่งปีหลัง หนุน Coverage Ratio สิ้นงวดไตรมาสที่ 2 สูงสุดในกลุ่มฯ ที่ 283% (LLR/Loan ที่ 10.3%) 

คาดช่วยให้ระดับการตั้ง ECL ไม่เร่งตัวจนกระทบต่อกำไรสุทธิ ส่วน TTB ที่มี Tax Shield อันเป็นปัจจัยเฉพาะตัว เอื้อให้การจัดการคุณภาพ สินทรัพย์ คล่องตัวกว่ากลุ่มฯ โดยไม่กระทบกำไรสุทธิ ถือว่าเป็นแนวทางที่น่าสนใจ ในทางตรงข้าม BAY, KKP ที่สัดส่วน NPL/Loan สูงขึ้น และ Coverage Ratio ลดลงต่อเนื่อง จนต่ำสุดในกลุ่มฯ แม้สินเชื่อมีหลักประกัน (รถยนต์, บ้าน) แต่ คาดการณ์ส่งผลให้ Credit Cost ทรงตัวสูงอีกสักระยะ เช่นเดียวกับ TISCO ซึ่งตั้ง Credit Cost ให้อยู่ในระดับต่ำ เพื่อประคองกำไรจน Coverage Ratio ต่ำลงจาก 248% ณ สิ้นงวดไตรมาสที่ 1 เหลือ 163% ณ ปัจจุบัน คาดการณ์เป็นเหตุให้ Credit Cost ไต่ระดับขึ้นตั้งแต่ครึ่งปีหลัง

อย่างไรก็ตาม ในด้านของกลุ่มธนาคารยังมีความน่าสนใจ โดยเฉพาะในด้านเงินปันผล น่าสนที่ 5-9% เลือก KTB, KBANK และ TTB คงน้ำหนักเท่าตลาด แม้ภาพการเติบโตของกำไรกลุ่มฯ จำกัด และอยู่ในวัฏจักร ขาขึ้นของ NPL แต่ PBV กลุ่มฯ ถูกลดทอนลงมาซื้อขาย 0.75 เท่า (PER เฉลี่ย 8 เท่า) และคาด Div Yield ราว 5-9% สูงกว่าค่าเฉลี่ย SET ที่ 3% ถือว่า

มูลค่าของหุ้นน่าสนใจ เลือก ธนาคารพาณิชย์ ที่การควบคุมคุณภาพสินทรัพย์ทำได้ดีต่อเนื่อง อย่าง KTB หลังคุณภาพสินทรัพย์คุมได้ดีต่อเนื่อง และ ROE สูงกว่า SCB และ TTB แต่ PBV ซื้อขายต่ำกว่า, KBANK และ TTB ที่มี Tax shield ยังน่าสนใจ โดยสรุปการลงทุนหุ้นในกลุ่มฯ เรียงตามความชอบดังนี้ KTB สลับ จากอันดับ 4 ขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 คู่กับ KBANK, TTB, BBL สลับลงจากอันดับ 2 มาเป็นอันดับ 4 จาก NPL ที่เพิ่มขึ้น 

อ่านข่าวหุ้น และการลงทุน กับ Thairath Money ได้ที่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์