เข้าใกล้การประกาศแล้ว สำหรับผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไทยในไตรมาสที่ 2 โดยเริ่มต้นในกลุ่มธนาคารที่จะเริ่มทยอยประกาศในสุดสัปดาห์นี้ โดยนักวิเคราะห์มองว่า กำไรของ 8 ธนาคารใหญ่จะมีกำไรสุทธิประมาณ 6.1 หมื่นล้านบาท โดยรายได้จากดอกเบี้ยจะลดลง ในขณะเดียวกันต้นทุนเริ่มปรับตัวสูงขึ้น
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส เปิดเผยว่า บริษัทได้คาดกำไรกลุ่มธนาคารในไตรมาสที่ 2 ของ 8 ธนาคารขนาดใหญ่จะอยู่ที่ 6.1 หมื่นล้านบาท อ่อนตัวจากไตรมาสก่อน 2.5% แต่จะทรงตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน หลังรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ หรือ NII ชะลอตัวจากสินเชื่อ ชะลอตัว 1% จากไตรมาสก่อน หลังข้อมูล ณ สิ้น พ.ค. 67 ติดลบ 1% จากต้นไตรมาสที่ 2 ขณะที่ดอกเบี้ย สินเชื่อ รับผลกระทบเล็กน้อยจากการลดดอกเบี้ย เพื่อช่วยกลุ่มเปราะบางของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ต้น พ.ค.
ประกอบกับต้นทุนเงินฝาก ยังมีผลของการความเสี่ยงที่เกิดจากระยะเวลาครบกำหนดในการปรับอัตราดอกเบี้ยระหว่างสินทรัพย์ และหนี้สินไม่สอดคล้องกัน หรือ repricing เงินฝากประจำที่ทยอยครบอายุ คาดส่งผลให้ NIM ลบ 8 จุด จากช่วงไตรมาสก่อนมาที่ 3.46% ด้านรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย หดตัว 3.7% จากไตรมาสก่อน จากรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ติดลบ 4% จากไตรมาสก่อน ถูกกดดันจากกลุ่ม capital market ตามมูลค่าการซื้อขายในตลาดหุ้น
นอกจากนี้ ดัชนีตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลง ส่งผลลบต่อมูลค่าที่เหมาะสมในหลายหุ้นของหลายธนาคาร ยกเว้น BBL และ TISCO คาดดีขึ้น อิงข้อมูล 2 ปีย้อนหลังที่สูงขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 ภาพรวมข้างต้นส่งผลให้ทิศทางรายได้รวมติดลบ 2.5% จากไตรมาสก่อน ในขณะที่งบลงทุนแม้คาดทรงตัวจากไตรมาสก่อน เพราะมองว่ารายการตั้งด้อยค่า NPA ของ KTB ต่ำลง เนื่องจากมีฐานสูงงวดก่อน
แต่ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ ทิศทางงบลงทุนปรับขึ้นตามฤดูกาล รวมทั้งผลขาดทุนรถยึดยังลงช้า สอดคล้องกับดัชนีราคารถมือสองของธนาคารแห่งประเทศไทย องค์ประกอบรวมประเมินอัตราส่วนค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อรายได้รวม หรือ Cost to income ratio ขยับมาที่ 45% เทียบกับ 44% งวดก่อน ไตรมาสที่ 2 ที่ 43%
สำหรับ Credit cost คาดการณ์ทรงตัวจากงวดก่อนที่ 1.6% เป็นไปตามภาพเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปและไม่เท่าเทียมกัน กดดันต่อพอร์ตลูกหนี้แทบทุกประเภทสินเชื่อ ทั้งธุรกิจและรายย่อย จึงคาดหมายเอ็นพีแอล / สินเชื่อ ณ สิ้นงวดไตรมาส 2 ไต่ระดับมาที่ 3.7% จาก 3.6% ณ สิ้นงวดก่อน และ Coverage ratio ลดลงเหลือ 176% เทียบกับ 179% ณ สิ้นงวดก่อน
ทั้งนี้ หากพิจารณาอัตราการเปลี่ยนแปลงของกำไรสุทธิเชิงการเปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อน มองว่า BBL ทำได้ดีกว่ากลุ่มฯ เพราะ FVTPL ที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 ตามข้อมูลในอดีต รวมถึงฐานงวดก่อนค่อนข้างต่ำติดลบ 82 ล้านบาท เพียงแต่ FVTPL ไม่ใช่รายการที่ตลาดให้น้ำหนักทางบวกมากนัก ดังนั้นในงวดนี้ฝ่ายวิจัยจึงให้น้ำหนักความน่าสนใจไปยังช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งประเมิน TTB ที่มี Tax shield และ KBANK จากทิศทาง Credit cost ลดลงมาที่ 1.9% มีโอกาสกำไรสุทธิขยายตัวจากปีก่อนเด่นกว่ากลุ่มฯ
บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด เปิดเผยว่า ทาง บล.ประเมินกำไรสุทธิรวมของธนาคาร 7 แห่งไว้ที่ 5.73 หมื่นล้านบาท สำหรับไตรมาส 2/67 ซึ่งลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า โดยมีสาเหตุมาจากการลดลงของส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) การเติบโตของสินเชื่อที่อ่อนแอ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่สูงขึ้น
ซึ่ง NIM ของกลุ่มธนาคารจะลดลง 7 จุดจากไตรมาสก่อน เนื่องจากผลกระทบจากการปรับเงินฝากประจำที่ยังคงดำเนินอยู่ จึงคาดการณ์ว่าต้นทุนทางการเงินของภาคธนาคารจะเพิ่มขึ้น 2 จุด และเตือนว่าผลตอบแทนจากสินเชื่ออาจอ่อนแอลงท่ามกลางการปรับโครงสร้างของธนาคาร (ซึ่งน่าจะยังคงดำเนินอยู่ เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอ) ในขณะเดียวกันคาดว่าสินเชื่อรวมจะหดตัวลง 0.4% จากปีก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวครั้งแรกล่าสุดสำหรับธนาคาร 7 แห่งที่อยู่ภายใต้การวิเคราะห์ สิ่งนี้สะท้อนถึงความอ่อนแอของการปล่อยสินเชื่อที่เห็นในรายงานงบดุลรายเดือนของธนาคาร
อย่างไรก็ตาม เงินฝาก เพิ่มขึ้น1.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และสินทรัพย์การลงทุน เพิ่มขึ้น 16.9% จากปีก่อน ควรเติบโต ซึ่งบ่งชี้ว่าความอ่อนแอในการเติบโตของสินเชื่ออาจเป็นผลมาจากความเสี่ยงด้านเครดิตที่สูงในปัจจุบัน ซึ่งลดความสนใจในการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร ด้วยเหตุนี้รายได้ดอกเบี้ยสุทธิจึงมีแนวโน้มที่จะอ่อนแอลงจากไตรมาสก่อน 1.7%
โดยรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิควรปรับตัวดีขึ้น ซึ่งเติบโต 5.3% จากปีก่อน เนื่องจากฐานที่ต่ำในปีที่แล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ได้ สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน การควบคุมต้นทุนในช่วงหลังมีนัยสำคัญ แต่ช่องว่างในการลดต้นทุนเพิ่มเติมควรจะจำกัดมากขึ้นในอนาคต
ทางด้านหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อาจเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากการสิ้นสุดของมาตรการหนี้ครัวเรือนของธนาคารแห่งประเทศไทย แม้ว่าโครงการสีฟ้า/สีส้มจะสิ้นสุดลง จึงคาดว่าการปรับโครงสร้างหนี้จะยังคงดำเนินอยู่ เพื่อควบคุมการเกิดขึ้นของ NPL โดยธนาคารยังมีเครื่องมือ เช่น การตัดหนี้สูญ และการขาย NPL เพื่อช่วยจัดการกับตัวเลข NPL และคาดการณ์ว่า credit cost จะยังคงอยู่ในระดับเดียวกับไตรมาส 1/67 (161 bps ในไตรมาส 2/67 เทียบกับ 162 bps ในไตรมาส 1/67) อย่างไรก็ตาม ธนาคารอาจจำเป็นต้องสร้างเงินสำรองเพิ่มเติม ทำให้ credit cost ไม่สามารถกลับสู่ภาวะปกติได้
ติดตามข้อมูลหุ้นกู้ และ เงินฝากธนาคาร กับ ThairathMoney ได้ที่
อ่านข่าวหุ้น และการลงทุน กับ Thairath Money ได้ที่