หมดยุคหุ้นไทย “แหล่งออมเงิน” Short Sell-HFT ทุบ “รายย่อย” ตายยับ เก็บภาษี เฮดจ์ฟันด์ คือทางรอด

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

หมดยุคหุ้นไทย “แหล่งออมเงิน” Short Sell-HFT ทุบ “รายย่อย” ตายยับ เก็บภาษี เฮดจ์ฟันด์ คือทางรอด

Date Time: 14 พ.ย. 2566 12:13 น.

Video

บรรยง พงษ์พานิช แกะปมเศรษฐกิจไทยโตต่ำ ฟื้นช้า พร้อมแนะทางออก

Latest


ตลาดหุ้นไทย กำลังเจอวิกฤติศรัทธาอย่างหนัก หลังดัชนีตลาดหุ้นไทยในปีนี้ไม่สดใส หลังผลตอบแทนตลาดหุ้นไทยจากต้นปี ติดลบ -16.87% นับเป็นตลาดหุ้นที่ย่ำแย่ที่สุดในโลก ท่ามมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน ที่ลดลงต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท เปรียบเหมือนลมหายใจของตลาดหุ้นที่โรยรินเหมือนคนใกล้ตาย 


โดยปัจจัยที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในเวลานี้ คือการที่ตลาดหุ้นไทย ถูกถล่มด้วยการทำ Short Sell ที่เป็นเครื่องมือหนึ่งของการทำกำไรในภาวะตลาดหุ้นขาลง และเครื่องมือการซื้อขายหุ้นด้วยความเร็วสูงอย่าง HFT ที่สัดส่วนต่อมูลค่าการซื้อขายต่อวันมากกว่า 30% เน้นทำกำไรเพียงไม่กี่ช่อง ไม่ถือหุ้นข้ามวัน รวมถึงข้อครหาในเรื่อง Naked Short ที่ตลาดหลักทรัพย์ เผยว่าไม่พบการกระทำความผิด แต่ดูเหมือน ไม่มีใครเชื่อ  


โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ออกมาชี้แจงในประเด็นนี้ว่า ตลาดหุ้นไทยไม่มีสิ่งที่ผิดปกติ โดยธุรกรรมการขาย Short ไม่ได้ส่งผลกระทบกับตลาดหุ้น โดยนักลงทุนต่างชาติ เน้นการ Short Sell ในหุ้นขนาดใหญ่ SET50 ซึ่งไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาอย่างมีนัยยะสำคัญ ส่วนโปรแกรม HFT นั้นไม่มีการถือสถานะข้ามวัน และเน้นการเทรดสั้นเท่านั้น 

ในมุมมองของ ผู้ที่คร่ำหวอดในตลาดหุ้นไทยอย่าง ดร.ณัฐวุฒิ รุ่งวงษ์ ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน ต้นธารคอร์ปอเรชั่น จำกัด มองว่า ตลาดหุ้นไทยตอนนี้ อยู่ในภาวะที่ “ไม่ปกติ” และอาจไม่ใช่แหล่งออมเงินของนักลงทุนไทย แต่อาจกลายเป็นบ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากการ Short Sell และการส่งคำสั่งด้วย HFT ที่หลายคนมองว่าเป็นผลกระทบกับตลาดหุ้น โดยปัจจุบันมีบางบริษัทหลักทรัพย์ที่ให้บริการนักลงทุนต่างประเทศ มีสัดส่วนการเติบโตมากกว่า 20% หรือกินสัดส่วนเกือบ 1 ใน 4 ของมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 


ดร.ณัฐวุฒิ รุ่งวงษ์ ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน ต้นธารคอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยกับ Thairath Money ว่า ตลาดหุ้นไทยอยู่ในภาวะที่ “ไม่ปกติ” โดยเห็นได้จาก ภาพของตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนติดลบมากกว่า 10% สวนทางตลาดหุ้นทั่วโลกที่มากกว่า บวกมากกว่า +10 %  ซึ่งหากมาดูในรายละเอียดจะพบว่า นักลงทุนต่างชาติเทขายตลาดหุ้นไทยสูงถึง 1.82 แสนล้านบาท  

 

หากเจาะดูในรายละเอียด พบว่า นักลงทุนต่างชาติ มีสัดส่วนการซื้อขายในตลาดหุ้นไทย เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 52% จากในอดีตที่ระดับ 20% ในขณะที่นักลงทุนรายบุคคล ลดลงจากระดับ 50% มาอยู่ที่ 31% ซึ่งสัดส่วนหากเปรียบเทียบกับตลาดหุ้นชั้นนำในทวีปเอเชีย ทั้ง ไต้หวัน เกาหลีใต้ ฮ่องกง ยังมีสัดส่วนการซื้อขายของนักลงทุนรายบุคคลมากกว่า 50% 


โดยสัดส่วนของนักลงทุนต่างชาติที่เพิ่มขึ้นนั้นอย่างมีนัยยะสำคัญที่เพิ่มขึ้นนั้น เป็นผล โปรแกรมเทรดที่เรียกว่า ระบบการส่งคำสั่งซื้อขายที่มีความถี่สูง หรือ High Frequency Trading หรือ HFT ที่เติบโตอย่างมากในตลาดหุ้นไทย โดยเห็นได้จากส่วนแบ่งทางการตลาดของบริษัทหลักทรัพย์ บางรายมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่เพิ่มขึ้น โดยมีสัดส่วนมากกว่า 20% หรือ ครองมาร์เก็ตแชร์ เกือบ 1 ใน 4 ของมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน การเปลี่ยนเแปลงสะท้อนถึงการเข้ามาของสัดส่วนโปรแกรมเทรด

ทั้ง โรบอท เทรด และ HFT ที่เข้ามามีอิทธิในตลาดหุ้นนั้นมีแนวโน้มที่มากขึ้น โดยปัจจุบันมีสัดส่วนต่อมูลค่าการซื้อขายประมาณ 35-36% โดยในจำนวนดังกล่าวแบ่งเป็นการซื้อขายด้วยการส่งคำสั่งด้วยความเร็วสูงอยู่ที่ 11% ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวมีความสอดคล้องกัน 


ในวงการโบรกเกอร์ หรือผู้ค้าหลักทรัพย์ กำลังมองถึงการเข้ามามีอิทธิพลของ HFT กับตลาดหุ้น ด้วยจุดเด่นของ HFT สามารถส่งคำสั่งด้วยความเร็วสูงในอัตรา 1 ต่อ 1,000 วินาที เน้นการส่งคำสั่งในปริมาณที่มากเพื่อกินกำไรไม่กี่ช่อง ในระยะเวลาอันสั้น และไม่ถือสถานะการถือครองหุ้นข้ามวัน 


นอกจากโปรแกรมเทรดแบบ HFT ที่เข้ามาปั่นป่วนตลาดแล้ว ตลาดหุ้นไทยยังมีประเด็นในเรื่องของการ Short Sell ที่เข้ามามีผลกระทบกับตลาดหุ้น โดยช่วงที่ผ่านมาในวงการโบรกเกอร์ ตั้งข้อสังเกตถึงการ Short Sell ของนักลงทุนต่างชาติ ที่มีผลกับหุ้นขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในกลุ่ม Set50  

แม้ตลาดหลักทรัพย์จะมีการชี้แจงว่า มีกรณีนักลงทุนรายบุคคลที่ Short Sell ซึ่งปกติ ของนักลงทุนรายบุคคลที่จะทำ Short Sell จะไปเน้นในหุ้นขนาดกลาง และขนาดเล็ก ที่ราคาลงแรงมากกว่า ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบกับภาพรวมของตลาด 

อย่างไรก็ตามการเข้ามาของโปรแกรมเทรด และ การเกิด Short Sell ในตลาดหุ้นไทย กำลังเปลี่ยนสภาพและทำลายตลาดหุ้นไทยไม่ใช่แหล่งสร้างความมั่งคั่ง แหล่งออมเงินให้กับคนไทยอีกต่อไป เพราะการเข้ามาถล่มของโปรแกรมเทรด HFT ที่เข้ามาถล่มเอากำไรในตลาดหุ้นไม่เกี่ยวข้อง และสร้างความเสียหายให้กับนักลงทุน รวมถึงการขึ้นลงของดัชนี ที่เกิดจากการ Short Sell และขึ้นตามการเข้ามาซื้อ Cover short 


“ตลาดหุ้นไทยไม่ใช่แหล่งเงินออมของประชาชนอีกต่อไป แต่เสี่ยงที่จะกลายเป็นบ่อน ที่ดัชนีลงจากการ Short Sell หรือขึ้นตามการ Cover Short ของนักลงทุนบางกลุ่ม”


สิ่งที่ทางการต้องพิจารณา คือ จะทำอย่างไรให้ไม่เกิดความเท่าเทียมกันในตลาดหุ้นไทยให้มากที่สุด รวมถึงการแก้ไขกฎเกณฑ์ ทั้งโปรแกรมเทรดที่เข้ามากดดันตลาด และการทำ Short Sell ที่กดดันตลาดหุ้นไทยให้ปรับตัวลดลง 


สำหรับแนวทางการจัดตั้งกองทุน ESG เพื่อของภาครัฐเข้าช่วยประคองตลาดหุ้นนั้น ส่วนตัวมองว่า เชื่อว่าจะช่วยประคองตลาดหุ้นได้ ซึ่งที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยหลังจากประเทศไทยขาดปัจจัยที่เข้ามาประคองตลาดหลังจากการหมดอายุของกองทุน LTF ทั้งนี้ หากมีการจัดตั้งกองทุนในรูปแบบดังกล่าวจริง ควรจะมีการกำหนดกฎเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อให้เป็นประโยชน์กับบริษัทที่ตั้งใจทำธุรกรรมเพื่อสังคม และดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG และสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนในระยะยาว 


ดังนั้นข้อเสนอคือหากเราจะให้ตลาดหุ้นกลับมาเป็นแหล่งออมแหล่งลงทุน แหล่งระดมทุนพัฒนาประเทศก็ต้อง

1. ให้รางวัลแก่ผู้ลงทุนระยะยาว นำไปเคลมภาษี เอากองทุน LTF คืนมา เพิ่มเติมกอง ESG เน้นพัฒนาสังคมสิ่งแวดล้อม ยกเว้นภาษีผู้ถือยาวออมทุนกินปันผล ยกเว้นค่าธรรมเนียมให้คนถือหุ้นเกิน 30 วัน เป็นต้น

2. เก็บค่าธรรมเนียมพวกเฮดจ์ฟันด์พวกเล่นพนันรายวันไม่เอาหุ้นกลับบ้าน ปราบบ่อนพนันรายวินาที กำหนดฐานค่าคอมมิชชั่นไม่ให้ต่ำกว่าต้นทุนเฉลี่ยอุตสาหกรรม (เช่นต้นทุน 300 จะมาเก็บแค่ 30 บาทอย่างตอนนี้ย่อมทำลายอุตสาหกรรม)


ประกิต สิริวัฒนเกตุ กรรมการผู้จัดการ บลจ.เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นไทยปัจจุบันอยู่ในภาวะที่ถือว่า “ร้าง” เพราะยังมีความไม่เชื่อมั่นในหลายส่วน โดยเฉพาะการแข่งขันในการลงทุนที่ไม่เป็นธรรม ทำให้ปริมาณการซื้อขายต่อวัน (Volume) หายไปอย่างน่ากลัว ซึ่งที่พอจะมีการซื้อขายอยู่ทุกวันนี้ ก็ไม่ได้มาจากนักลงทุนรายย่อยเป็นหลัก

ขณะเดียวกัน มองว่าปริมาณการซื้อขายต่อวันส่วนใหญ่ มาจากการใช้ระบบอัลกอริทึมในการซื้อขาย ซึ่งมักเป็นการซื้อระยะสั้น ทำให้ตลาดหุ้นไทยเป็นภาพที่ลงทุนไม่ได้ และนักลงทุนรายย่อยก็ไม่กล้าเล่น หรือเข้ามาซื้อขายหุ้นในตลาดหุ้นไทย

จะเห็นได้ว่าปัจจุบัน แม้ปัจจัยต่างประเทศยังไม่มีปัจจัยลบใหม่ๆ แต่ดัชนีตลาดหุ้นไทยยังไม่สามารถปรับตัวขึ้นได้ โดยมองว่าตลาดหุ้นไทยถูกควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติ พร้อมกับยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่ๆ เข้ามาขับเคลื่อนด้วย


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ