ttb โชว์ไตรมาส 3/64 กำไรสุทธิ 2,359 ล้าน หลังตั้งสำรองฯ ลดลง

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ttb โชว์ไตรมาส 3/64 กำไรสุทธิ 2,359 ล้าน หลังตั้งสำรองฯ ลดลง

Date Time: 20 ต.ค. 2564 16:51 น.

Video

แก้เกมหุ้นไทยตกต่ำ ประธานตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดแผนฟื้นความเชื่อมั่น | Money Issue

Summary

  • ทีเอ็มบีธนชาต เผยผลการดำเนินงานไตรมาส 3/64 มีกำไรสุทธิ 2,359 ล้านบาท หลังตั้งสำรองฯ ลดลงเหตุตั้งสำรองฯ ล่วงหน้าไปแล้วในไตรมาส 3 ปี 63 แต่ถือว่ายังสูงกว่าระดับปกติ

Latest


ทีเอ็มบีธนชาต เผยผลการดำเนินงานไตรมาส 3/64 มีกำไรสุทธิ 2,359 ล้านบาท หลังตั้งสำรองฯ ลดลง เหตุตั้งสำรองฯ ล่วงหน้าไปแล้วในไตรมาส 3 ปี 63 แต่ถือว่ายังสูงกว่าระดับปกติ

เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 64 นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ttb กล่าวว่า ผลการดำเนินงานของธนาคารในไตรมาส 3/64 ธนาคารมีกำไรสุทธิ 2,359 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 46% จากช่วงเดียวกันของปี 63 โดยมีรายได้จากการดำเนินงานอยู่ที่ 15,663 ล้านบาท ลดลง 3.4% จากช่วงเดียวกันของปี 63 ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอยู่ที่ 7,268 ล้านบาท ลดลง 2.2%

สำหรับค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองฯ อยู่ที่ 5,527 ล้านบาท ยังคงเป็นระดับที่สูงกว่าช่วงเศรษฐกิจปกติ แต่ลดลง 19.5% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3/63 ที่ธนาคารได้วางแผนตั้งสำรองฯ ล่วงหน้า เป็นจำนวน 6,863 ล้านบาท จึงเป็นที่มาของกำไรสุทธิที่ปรับตัวดีขึ้นจากปีที่แล้ว 

ทั้งนี้หากเทียบกับไตรมาส 2/64 ก็ยังคงเห็นแรงกดดันด้านรายได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไตรมาส 3/64 เป็นช่วงเวลาของการประกาศใช้มาตรการคุมเข้มขั้นสูงสุดก่อนค่อยๆ ผ่อนคลายลงในช่วงปลายไตรมาส

ขณะที่ผลการดำเนินงานในรอบ 9 เดือนของปี 64 ธนาคารมีรายได้จากการดำเนินงาน 48,406 ล้านบาท ลดลง 5.0% จากช่วงเดียวกันในปี 63 ด้านค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอยู่ที่ 22,597 ล้านบาท ลดลง 4.0% และอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้อยู่ที่ 46% เป็นไปตามเป้าหมาย

ส่วนค่าใช้จ่ายสำรองฯ มีจำนวน 16,497 ล้านบาท ทรงตัวจากรอบ 9 เดือนปี 63 เนื่องจากธนาคารยังคงตั้งสำรองฯ ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องทุกไตรมาส ส่งผลให้มีกำไรสุทธิสำหรับรอบ 9 เดือนของปี 64 อยู่ที่ 7,675 ล้านบาท ลดลง 13.5% จากช่วงเดียวกันของปี 63

นอกจากนี้ ความเพียงพอของเงินกองทุนก็ยังอยู่ในระดับสูงและเป็นลำดับต้นๆของอุตสาหกรรมธนาคาร โดย ณ สิ้นไตรมาส 3/64 อัตราส่วน CAR และ Tier I (เบื้องต้น) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 19.7% และ 15.6% ตามลำดับ ยังคงสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ 11.0% และ 8.5%

นายปิติ กล่าวอีกว่า สำหรับภาพรวมในไตรมาส 4/64  นั้น แม้ว่าการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ จะช่วยหนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แต่การฟื้นตัวไปสู่ระดับก่อนโควิด-19 ยังคงต้องใช้เวลา ดังนั้น เราจึงยังคงเน้นการดำเนินธุรกิจแบบระมัดระวัง ไม่สร้างความเสี่ยงด้วยการเร่งเติบโตสินเชื่อฝ่าคลื่นลมทางเศรษฐกิจ จุดประสงค์หลักก็เพื่อคงสถานะทางการเงินให้แข็งแกร่ง

รวมถึงการสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทยทั้งวันนี้และอนาคต ด้วยการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการและดีที่สุดสำหรับลูกค้าแต่ละคน ตลอดทุกช่วงชีวิต พร้อมรับมือกับความเสี่ยงจากสถานการณ์โควิด-19 และรอโอกาสที่จะกลับมาเติบโตเมื่อเศรษฐกิจเอื้ออำนวย นอกจากนี้ การดูแลความปลอดภัยของพนักงานก็ถือเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญเช่นกัน


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ