ก.ล.ต.นับหนึ่งไฟลิ่ง TQR ขาย IPO  60 ล้านหุ้นคาดเข้า mai ไตรมาส 1/64

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ก.ล.ต.นับหนึ่งไฟลิ่ง TQR ขาย IPO 60 ล้านหุ้นคาดเข้า mai ไตรมาส 1/64

Date Time: 23 ม.ค. 2564 15:30 น.

Video

ล้วงลึกอาณาจักร “PCE” สู่บริษัทมหาชน ปาล์มครบวงจร | On The Rise

Summary

  • ก.ล.ต.นับหนึ่งไฟลิ่ง ที คิว อาร์ เตรียมขาย IPO จำนวน 60 ล้านหุ้น คาดเข้าจดทะเบียนตลาด mai ไตรมาส 1/64 โชว์ 9 เดือนแรกกำไรโตสูงสุด ทุบสถิติใหม่

Latest


ก.ล.ต.นับหนึ่งไฟลิ่ง ที คิว อาร์ เตรียมขาย IPO จำนวน 60 ล้านหุ้น คาดเข้าจดทะเบียนตลาด mai ไตรมาส 1/64 โชว์ 9 เดือนแรกกำไรโตสูงสุด ทุบสถิติใหม่

นางสาวจิรยง อนุมานราชธน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจย์ แคปปิตอล แอดไวเซอรี จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัท ที คิว อาร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TQR กล่าวว่า สำนักงาน ก.ล.ต. ได้นับหนึ่งแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ หรือ ไฟลิ่ง TQR ในวันที่ 20 ม.ค.64 ที่ผ่านมา โดยบริษัทฯ มีแผนเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) จำนวน 60.00 ล้านหุ้น

ทั้งนี้ เป็นการเพิ่มทุนจาก 170.00 ล้านหุ้นเป็น 230.00 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) 0.50 บาทต่อหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 26.09% ของจำนวนหุ้นที่ออก และเรียกชำระแล้วทั้งหมด ภายหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้ และคาดว่าจะเสนอขายหุ้น IPO และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ หรือ mai ภายในไตรมาส 1 ของปี 2564

สำหรับ TQR ประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัยต่อ (Reinsurance Broker) โดยให้บริการจัดหาสัญญาประกันภัยต่ออย่างครบวงจร (Integrated Reinsurance Solution Provider) ตั้งแต่การให้คำปรึกษาแก่บริษัทประกันภัย (Cedant) เพื่อจัดหาสัญญาประกันภัยต่อที่เหมาะสม

โดยบริษัทฯ จะทำหน้าที่พิจารณาองค์ประกอบของสัญญาประกันภัยต่อที่สำคัญ อาทิ คำเสนอขอเอาประกันภัยต่อ (offer) ประเภทของงาน เงื่อนไขการเอาประกันภัยต่อ ข้อตกลงของสัญญาประกันภัยต่อและข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดหาสัญญาประกันภัยต่อที่ดีที่สุดแก่คู่ค้าของ TQR ทั้งบริษัทประกันภัย (Cedant) และบริษัทรับประกันภัยต่อ (Reinsurer)

นายชนะพันธุ์ พิริยะพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ที คิว อาร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เงินที่ได้จากการระดมทุนในครั้งนี้ จะนำไปใช้ในการลงทุนพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพในการให้บริการ (Operational Efficiency Improvement Platform) การลงทุนพัฒนาแบบจำลองทางการเงิน (Financial Model) สำหรับธุรกิจการประกันภัย รวมทั้งใช้เป็นเงินลงทุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผลการดำเนินงานย้อนหลังในปี 2560-2562 บริษัทมีรายได้รวม 104.96 ล้านบาท 153.75 ล้านบาท 132.49 ล้านบาท ตามลำดับ โดยรายได้ในงวด 9 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2563 บริษัทมีรายได้รวมจำนวน 160.47 ล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 57.39% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ จากกลุ่มธุรกิจนายหน้าประกันภัยต่อแบบพัฒนาช่องทาง และผลิตภัณฑ์ใหม่ร่วมกัน (Alternative Business) ส่วนกำไรสุทธิสำหรับปี 2560-2562 บริษัทมีกำไรสุทธิ 23.62 ล้านบาท 32.88 ล้านบาท 44.04 ล้านบาทตามลำดับ

ทั้งนี้ ในงวด 9 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2563 มีกำไรสุทธิ 68.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 79.54% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 38.22 ล้านบาท สร้างสถิติสูงสุดใหม่นับตั้งแต่จัดตั้งบริษัทในปี 2555

สำหรับโครงสร้างรายได้ของบริษัทฯ มาจากรายได้หลักจากการให้บริการจัดหาสัญญาประกันภัยต่อ โดยบริษัทฯ จะได้รับค่าตอบแทนในรูปแบบของค่านายหน้าประกันภัยต่อ (Reinsurance Brokerage Fee) จากบริษัทรับประกันภัยต่อ โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณกว่า 92.00% ของรายได้รวมทั้งหมดของบริษัทฯ


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ