หุ้นไทยปี 2568 แม้ถูกคาดการณ์ว่า จะมีความผันผวน และเสี่ยงเติบโตต่ำ หากแต่ก็ยังมีหลายอุตสาหกรรมที่โดดเด่น น่าสนใจ ชวนให้เข้าลงทุน
โดยเฉพาะในยุคที่ การทำงาน รอรับ “เงินเดือน” ทางเดียวเสี่ยงเกินไป เพราะแม้ในปัจจุบัน เงินเฟ้อ ยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ชะล่าใจไม่ได้ เพราะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว และมีโอกาสที่เงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นั่นหมายถึง อำนาจการซื้อ และค่าของเงินในกระเป๋าเราจะลดลง
ฉะนั้น เราควรศึกษาหาข้อมูลและวางแผนการลงทุน เพื่อสร้างโอกาสให้ผลตอบแทนสามารถชนะเงินเฟ้อได้ตลอดเวลา และยิ่งเริ่มเร็ว ยิ่งมั่งคั่งเร็ว
อย่างไรก็ดี หลายคนทั่วไป ยังกล้าๆ กลัวๆ ที่จะเข้าสู่สนามลงทุนหุ้น อาจด้วยไม่เข้าใจภาพรวมของการลงทุน ขณะที่คำถามสำคัญ คงหนีไม่พ้น “ราคาหุ้น” มาจากไหน ขึ้น-ลง จากปัจจัยอะไรบ้าง? แล้วเราจะทำกำไรจากการซื้อ-ขายหุ้นอย่างไร
ในบทความนี้ Thairath Money ชวนนักลงทุนมือใหม่ มาทำความรู้จักการลงทุนในตลาดหุ้นไทยให้มากขึ้น ผ่านความรู้พื้นฐานต้องรู้ก่อนการลงทุน
ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ระบุไว้ ตลาดหุ้นเป็นศูนย์กลางแหล่งรวมของบริษัทต่างๆ ที่เข้ามาจดทะเบียนในตลาด เพื่อระดมเงินทุนไปขยายกิจการ ด้วยวิธีการออก “หุ้น” เพื่อขายให้ผู้ที่มีเงินเหลือเก็บ หรือ “นักลงทุน” ที่สนใจ อยากร่วมเป็นเจ้าของกิจการ และต้องการผลตอบแทนจากราคาหุ้นที่เติบโตขึ้น
ทั้งนี้ การซื้อหุ้น ก็หมายถึงสิทธิในการเป็นเจ้าของกิจการของเรา ตามสัดส่วน โดยไม่ต้องลงแรง หรือบริหาร และจะได้รับผลตอบแทน หรือขาดทุน ตามสิทธิที่เป็นเจ้าของการลงทุนหุ้น จึงเปรียบได้กับการเป็นเจ้าของกิจการ
2 ตลาดหุ้น แบ่งเป็น
ดูสภาวะตลาดแบบง่ายๆ ด้วย SET INDEX (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568)
“SET Index” หรือ ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คือ ดัชนีที่สะท้อนการเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ทั้งหมด ตัวเลขที่เคลื่อนที่เพิ่มขึ้น หรือ ลดลง เปรียบเสมือนตัวชี้วัดให้เห็นภาพรวมการลงทุน ว่าตลาดกำลังเป็นเช่นใด
1. เงินปันผล (Dividend) คือ กำไรที่กิจการที่มั่นคงและมีรายได้สม่ำเสมอแบ่งให้กับผู้ถือหุ้น โดยเฉลี่ยแล้วผลตอบแทนจากเงินปันผลจะอยู่ที่ประมาณ 3-6% ต่อปี ขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของบริษัท อย่างไรก็ตาม ผลตอบแทนนี้จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% เงินปันผลเหมาะสำหรับนักลงทุนที่มองหาผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาว หวังรับเงินปันผลไปเรื่อย ๆ โดยไม่ต้องขายหุ้น
2. ส่วนต่างราคา (Capital Gain) คือ ผลตอบแทนที่ได้จากการซื้อหุ้นในราคาต่ำแล้วขายในราคาสูง ซึ่งเกิดจากการเติบโตของกิจการ อย่างไรก็ตาม การที่จะได้รับผลตอบแทนจากหุ้นนี้ต้องอาศัยความรู้ในการวิเคราะห์กิจการ ศึกษางบการเงิน ประเมินมูลค่าหุ้น และติดตามภาวะตลาด หุ้นนี้เหมาะกับผู้ที่ต้องการสร้างพอร์ตการลงทุนที่มีโอกาสทำกำไรได้สูง แต่ก็ต้องยอมรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดการขาดทุน ผลตอบแทนส่วนต่างราคานี้ไม่ต้องเสียภาษี
แล้วราคาหุ้น มาจากไหนกัน? คำตอบคือ มีปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการขึ้น-ลง ของ “ราคาหุ้น” หลักๆ ได้แก่
- เศรษฐกิจ
- อุตสาหกรรม
- บริษัท
ก่อเกิดแรงซื้อ และแรงขาย สะท้อน Sentiment ในการลงทุน ที่มาจากความคาดหวังของนักลงทุนต่อปัจจัยที่คาดว่าจะส่งผลกระทบกับราคาหุ้น เช่น
- นโยบายภาครัฐ
- ผลประกอบการประจำปี
- ข่าวเกี่ยวกับกิจการ
อธิบายง่ายๆ เช่น ถ้านักลงทุนคาดว่า ภาวะเศรษฐกิจดี อุตสาหกรรมอยู่ในช่วงขาขึ้น บริษัทน่าจะมีผลประกอบการที่ดี สามารถจ่ายเงินปันผลได้ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องในระยะยาว หรือคาดว่าราคาหุ้นจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต มีโอกาสได้รับกำไรจากส่วนต่างราคา จึงตัดสินใจลงทุนในหุ้นตัวนั้น จากมุมมองที่คาดหวังต่อตัวบริษัทเช่นนี้ จึงส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นจากแรงซื้อที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
ในทางกลับกัน ถ้านักลงทุนคาดว่า ภาวะเศรษฐกิจไม่ดี อุตสาหกรรมอยู่ในช่วงขาลง ยอดขายและกำไรของบริษัทอาจจะลดลงหรืออาจขาดทุน หากลงทุนในหุ้นดังกล่าว อาจขายได้ในราคาที่น้อยกว่าตอนซื้อมา เหตุการณ์ดังกล่าวย่อมทำให้นักลงทุนรู้สึกถึงความเสี่ยงจากการลงทุนและตัดสินใจไม่ลงทุนในหุ้นตัวนั้น หรือคนที่มีหุ้นอยู่จะเทขายหุ้นออกมา เมื่อมีแรงขายจำนวนมาก ราคาหุ้นก็จะปรับตัวลดลงในที่สุด
ดังนั้น หากจะกล่าวว่า “ราคาหุ้นที่เปลี่ยนแปลง... เกิดจากความคาดหวังของนักลงทุน ก็คงไม่ผิดนัก”
อย่างไรก็ดี ทุกกิจการย่อมมีมูลค่าหรือราคาหุ้นที่แท้จริง ซึ่งสะท้อนมาจากปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ตั้งแต่ภาพของเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ไปจนถึงผลการดำเนินงานของกิจการ และเมื่อหุ้นถูกนำไปจดทะเบียนเพื่อซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็จะเข้าสู่กลไกตลาด มีแรงซื้อและแรงขาย ที่เกิดจากการคาดการณ์ของนักลงทุนแต่ละคน ทำให้ราคาหุ้นที่เห็นในตลาด มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงในแต่ละช่วงเวลา
ฉะนั้น เราควรตัดสินใจซื้อหุ้น โดยเปรียบเทียบราคาตลาดกับมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น และเข้าซื้อเมื่อมูลค่าที่แท้จริงสูงกว่าราคาตลาด
สรุป
นักลงทุน (Investor)
- ซื้อและถือยาว
- ลงทุนระยะยาว
- วิเคราะห์พื้นฐานเป็น
- ชอบซื้อราคาถูก
- มองหุ้นเป็นธุรกิจ
นักเก็งกำไร (Trader)
- ซื้อเพื่อขาย
- ทำกำไรระยะสั้น
- ดูกราฟเทคนิค
- ชอบซื้อตอนมีเทรนด์
- เน้นส่วนต่างราคา
แต่รู้หรือไม่? 80% ของนักลงทุนไทย ถือหุ้นไม่เกิน 4 เดือน เพราะเลือกหุ้นไม่เหมาะกับตัวเอง
โดยข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังระบุว่า สำหรับนักลงทุนมือใหม่ การรู้จักสไตล์การลงทุนของตัวเอง จะช่วยให้สามารถเลือกหุ้น และกลยุทธ์การลงทุนได้อย่างเหมาะสม แล้วความสำเร็จจะไม่ไกลเกินเอื้อม เหมือนดั่งนักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ ที่เป็นแบบอย่างความสำเร็จของการลงทุนในสไตล์ต่างๆ
“ต้องหมั่นติดตาม ตรวจสอบฐานะทางการเงิน และประเมินผลการดำเนินงานของกิจการอย่างสม่ำเสมอ”
1. หุ้นที่วิเคราะห์จะต้องมี Trend และ Volume
2. ราคาหุ้นได้สะท้อนข้อมูลข่าวสารทุกอย่างแล้ว
3. ประวัติศาสตร์มักจะซ้ำรอยเดิมเสมอ
สรุปการลงทุนแนว TECHNICAL จะสนใจพฤติกรรมราคาของหุ้น จากกราฟราคา โดยอาศัยข้อมูลราคาหุ้นในอดีต และปริมาณการซื้อขาย พร้อมทั้งใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคต่างๆ ในการทำนายทิศทางราคาหุ้น
ที่มา: ตลาดหลักทรัพย์, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์
อ่านข่าวหุ้น ข่าวทองคำ และ ข่าวการลงทุน และ การเงิน กับ Thairath Money ได้ที่ https://www.thairath.co.th/money/investment
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney