ถอดบทเรียน เรื่องการเงิน “เดนมาร์ก-สวีเดน-นอร์เวย์” ทำอย่างไร? ถึงเป็นประเทศชั้นนำของโลก

Money

World Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ถอดบทเรียน เรื่องการเงิน “เดนมาร์ก-สวีเดน-นอร์เวย์” ทำอย่างไร? ถึงเป็นประเทศชั้นนำของโลก

Date Time: 1 ธ.ค. 2567 12:00 น.

Video

“The Summer Coffee Company” มากกว่า เครื่องดื่ม คือ ความสุข | Brand Story Exclusive EP.3

Summary

  • เพราะแนวคิดเรื่อง "การเงิน" ไม่ใช่แค่เรื่องของผู้ใหญ่อีกต่อไป ถอดบทเรียน “เดนมาร์ก-สวีเดน-นอร์เวย์” ทำอย่างไร? ถึงกลายเป็นประเทศชั้นนำในกลุ่มประเทศยุโรป

Latest


สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ปี 2024 ย้ำว่า โลกยุคนี้ “เรื่องการเงิน” ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ผู้ใหญ่ ขณะจากการศึกษาพบว่า ผู้ใหญ่ที่มีความรู้ทางการเงินทั่วโลกมีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำมาก

โดยมีความเห็นร่วมกันของนานาชาติว่าถึงเวลาแล้วที่เราควรทำให้ความรู้เรื่องการเงินเข้าถึงเด็กๆ และทำให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน เพื่อสร้างให้คนรุ่นใหม่ๆ มีความมั่นคงในชีวิต ภายใต้ความท้าทายทางเศรษฐกิจและความเสี่ยง ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีทางการเงินมากมายอีกด้วย

ซึ่งเป็นเหตุผลที่หลายประเทศมีแนวทางการเรียนรู้ปลูกฝังด้านการเงิน ถ่ายทอดความรู้ และส่งต่อวัฒนธรรมทางการเงินที่ดีให้กับเด็กและเยาวชนในระบบศึกษามาเนิ่นนาน ทำให้พลเมืองมีคุณภาพและมีระบบเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง สังคมเป็นสุขอย่างน่าเอาเป็นแบบอย่าง

“เดนมาร์ก - สวีเดน และนอร์เวย์” ทำอย่างไรถึงเป็นประเทศชั้นนำในกลุ่มประเทศยุโรป

ข้อมูลเผยแพร่ของ OKMD สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ได้ถอดบทเรียน “เดนมาร์ก - สวีเดน และนอร์เวย์” ทำอย่างไรถึงเป็นประเทศชั้นนำในกลุ่มประเทศยุโรป

โดยระบุว่า ทั้ง 3 ประเทศอยู่ในอันดับสูงสุดในรายชื่อประเทศที่มีความรู้การเงินมากที่สุดอย่างน่าติดตาม จากการสำรวจทั่วโลกของ Standard & Poor's Ratings Services Global Survey 2023

เดนมาร์ก

เดนมาร์กมีมาตรฐานการครองชีพสูง และให้ความสำคัญกับการศึกษาทางการเงิน ด้วยความรู้มากถึง 71% และจากข้อมูลของ Tell Us พบว่าครัวเรือนเดนมาร์กมักมีสินทรัพย์ขนาดใหญ่ แม้ว่าจะมีหนี้ผู้บริโภคในระดับสูง พนักงานเตรียมพร้อมที่จะคิดถึงการเงินในอนาคตของตน เพราะพวกเขาได้รับแผนเงินบำนาญที่คิดเป็น 10-15% ของเงินเดือน และดอกเบี้ยค้างรับที่ชวนให้ตื่นตัว

สวีเดน

ด้วยการผสมผสานระหว่างสวัสดิการของรัฐและความรับผิดชอบส่วนบุคคลของประชากรในประเทศ ชาวสวีเดนจึงรอบรู้เรื่องการเงิน ทั้งยังได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความรู้ทางการเงินชั้นนำสูงสุด ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นความสามารถที่เป็นผลมาจากระบบการศึกษาที่บูรณาการหัวข้อความรู้ทางการเงิน การให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมเกี่ยวกับการออมและความประหยัด และความคิดริเริ่มของรัฐบาลในการส่งเสริมการศึกษาทางด้านการเงินให้กับพลเมือง

นอร์เวย์

นอร์เวย์นั้นโดดเด่นในฐานะสัญลักษณ์แห่งความรู้ทางการเงินในระดับโลก มีรากฐานมาจากกรอบการศึกษาที่แข็งแกร่ง แนะนำความคิดทางการเงินมาตั้งแต่เนิ่นๆ เมื่อรวมกับวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายและการออมอย่างรอบคอบ ชาวนอร์เวย์จึงมีความพร้อมนำความรู้ทางการเงิน ความไว้วางใจในระบบธนาคารที่โปร่งใส และประชากรที่เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับความเฉียบแหลมทางการเงิน

ส่องแนวทางการเรียนรู้ด้านการเงินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากการศึกษาใหม่โดย Milieu Insight เมื่อช่วงมีนาคม ปี 2024 ผลวิจัยพบว่า ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 43% มีเงินออมเพียง 10% เท่านั้นจากรายได้ที่สร้างมา และมากกว่าครึ่งไม่ได้มีการลงทุนอย่างจริงจัง พลาดโอกาสการสะสมความมั่งคั่ง และโอกาสการเติบโตทางการเงินในโลกยุคนี้

ขณะที่พบว่า สิงคโปร์เป็นประเทศที่พลเมืองมีความรู้ทางการเงินมากที่สุด โดย 59% ของชาวสิงคโปร์ลงทุนในหุ้น และมีแผนเงินฝากประจำ ส่วนกองทุนรวมกลายเป็นพื้นที่การลงทุนชั้นนำ สิงคโปร์เองยังเป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเงินชั้นดีจากองค์ประกอบหลายปัจจัย

- การเป็นศูนย์กลางทางการเงินระดับโลก
- การมีโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการ เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทุนสนับสนุน
- นโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ โดยรัฐบาลมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีนโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ทั้งนี้ ประเทศไทยสามารถเรียนรู้จากความสำเร็จของนานาประเทศเบื้องต้น มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทในระยะข้างหน้าได้ เพื่อความมั่นคงของเศรษฐกิจและประเทศ ที่เริ่มต้นด้วยความรู้ติดตัวของพลเมืองตั้งแต่วัยเด็ก

ที่มา : okmd 

ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่ 

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้  https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ