รู้จักการประชุม BRF ของจีน สำคัญอย่างไร ทำไมผู้นำนานาประเทศ ต้องเข้าร่วม

Economics

World Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

รู้จักการประชุม BRF ของจีน สำคัญอย่างไร ทำไมผู้นำนานาประเทศ ต้องเข้าร่วม

Date Time: 18 ต.ค. 2566 14:09 น.

Video

"CINDY CHAO The Art Jewel" สองทศวรรษอัญมณีศิลป์ | Brand Story Exclusive EP.4

Summary

  • Thairath Money ชวนทำความรู้จักการประชุมข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง หรือ BRF ครั้งที่ 3 ของจีน มีความสำคัญอย่างไร ทำไมผู้นำนานาประเทศต้องเข้าร่วม

Latest


เรียกได้ว่าเป็นอีเวนต์สำคัญระดับโลกในช่วงสัปดาห์นี้ สำหรับการประชุมข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (BRF) ครั้งที่ 3 ที่จีนเป็นเจ้าภาพ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-18 ตุลาคม 2566 นี้ โดยนายกรัฐมนตรีของไทย เศรษฐา ทวีสิน และคณะได้เดินทางเข้าร่วมการประชุม เพื่อกระชับความสัมพันธ์และหาโอกาสทางเศรษฐกิจ ร่วมกันระหว่างประเทศไทยและจีน


Thairath Money ชวนทำความรู้จักการประชุมข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง หรือ BRF ครั้งที่ 3 ของจีน มีความสำคัญอย่างไร ทำไมผู้นำนานาประเทศต้องเข้าร่วม 

รู้จักการประชุม BRF


การประชุมข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Forum for International Cooperation: BRF) ครั้งที่ 3 เป็นเวทีการประชุมระดับผู้นำ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางการทูต ความร่วมมือระดับประเทศ และเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปีของยุทธศาสตร์ความริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง หรือ Belt and Road Initiative (BRI) ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง


ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-18 ตุลาคม 2566 นี้ ที่ China National Convention Center กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน


การประชุมปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด "High-quality Belt and Road Cooperation: Together for Common Development and Prosperity"  โดยมีตัวแทนจาก 140 ประเทศ และกว่า 30 องค์กรระหว่างประเทศเข้าร่วม เพื่อร่วมกันร่าง “พิมพ์เขียว” ใหม่สำหรับโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ BRI ที่มีการยกระดับคุณภาพสูงขึ้น หลังจากที่ผ่านพ้นขั้นเริ่มต้นมาเป็นเวลา 10 ปี


สำหรับวาระการประชุม BRF ครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายหลัก คือ การยกระดับความร่วมมือของประเทศในโครงการ ผ่านการพัฒนาและแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน 


นอกจากการกล่าวสุนทรพจน์เปิดงานของประธานาธิบดี สี จิ้นผิงแล้ว ยังมีการจัดประชุมสำหรับเจ้าหน้าที่ระดับสูงอีก 3 เวทีเพื่อหารือกันในเชิงลึก ภายใต้หัวข้อการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ (connectivity) การพัฒนาที่ยั่งยืนและอนุรักษ์ (green development) และเศรษฐกิจดิจิทัล (digital economy) นอกจากนี้ ยังมีเวทีหารือภายใต้ 6 หัวข้อย่อย และ CEO Conference สำหรับภาคเอกชนด้วย

ที่มาของโครงการสายแทบและเส้นทาง “BRI”


แนวคิดข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative - BRI) ถูกนำเสนอขึ้นเป็นครั้งแรก โดยประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ระหว่างการเดินทางเยือนคาซัคสถานในปี 2556 ด้วยความหวังในการฟื้นระเบียงเศรษฐกิจตามเส้นทางสายไหมที่เคยรุ่งเรืองด้านการค้าในอดีต ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงเศรษฐกิจระหว่างประเทศจีน เข้ากับทวีปเอเชีย ยุโรปและแอฟริกาให้กลายเป็นเส้นทางสายไหมใหม่แห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วยเส้นทางขนส่งทางบกและทางทะเล ซึ่งผลักดันให้จีนกลายเป็นประเทศมหาอำนาจเทียบเคียงสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน


ความตั้งใจแรกของจีน ในการริเริ่มก่อตั้งโครงการสายแถบและเส้นทาง (BRI) เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายที่ประเทศกำลังเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกำลังการผลิตที่ล้นเกิน ความได้เปรียบด้านการเงินและค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้นท่ามกลางเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว


ภายใต้การสนับสนุนของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ทำให้ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา  โครงการ BRI สามารถขยายการลงทุนจากเดิมที่เน้นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ไปสู่การลงทุนด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ความมั่นคง และการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยปัจจุบันจีนมีส่วนร่วมในการลงทุนและการก่อสร้างคิดเป็นมูลค่า ทั้งหมด 1.01 ล้านล้านดอลลาร์ใน 148 ประเทศทั่วโลก

ก้าวถัดไปของ BRI


การประชุม BRF ครั้งนี้ ถูกจับจ้องจากสายตาผู้คนทั่วโลก เนื่องจากเป็นการรวมตัวของตัวแทนผู้นำระดับสูงจาก 140 ประเทศทั่วโลก องค์กรระหว่างประเทศ และ CEO บริษัทยักษ์ใหญ่จากหลากหลายอุตสาหกรรม ครั้งใหญ่ ครั้งแรก ตั้งแต่การประชุมครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 25-27 เมษายน ปี 2562


โดยการประชุมครั้งนี้จะมีการเปิดเผย ความสำเร็จของผลการดำเนินโครงการในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงแผนความร่วมมือต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะผลักดันเป้าหมายการพัฒนาและแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก


Michele Geraci อดีตปลัดกระทรวงการพัฒนาเศรษฐกิจของอิตาลี กล่าวว่า


“การประชุมครั้งนี้จะนํา BRI ไปสู่การอภิปรายในระดับที่สูงขึ้น และเสริมภาพลักษณ์ของ BRI ในสายตาประเทศตะวันตก รวมถึงบทบาทในการนําสันติภาพมาสู่โลก" 

Mansoor Nadeem Lari ซีอีโอบริษัทอินเดีย Silk Route Trade and Industry Development Corp. ซึ่งเป็นแขกผู้เข้าร่วมการประชุมที่จัดขึ้นครั้งนี้ ให้ความเห็นว่า 


“การประชุมครั้งนี้ จะนำไปสู่การสร้างฉันทามติร่วมกันที่มากขึ้น ในการอภิปรายเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานหลังโควิด-19 และการสร้างแผนงานความร่วมมือระหว่างประเทศในโครงการ BRI เพื่อเร่งขับเคลื่อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก”


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ