เร่งสปีดเศรษฐกิจปี 60 เติบโต 3.8% สศช.รีบแจง “มูดีส์” ไทยฟื้นแล้ว ฟุ้ง! ลงทุนภาคเอกชนผงกหัว

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

เร่งสปีดเศรษฐกิจปี 60 เติบโต 3.8% สศช.รีบแจง “มูดีส์” ไทยฟื้นแล้ว ฟุ้ง! ลงทุนภาคเอกชนผงกหัว

Date Time: 9 มิ.ย. 2560 08:01 น.

Summary

  • ได้หารือกับคณะที่ปรึกษาการลงทุนจากบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ “มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส” ซึ่ง สศช.ได้ให้ข้อมูลไปว่า เศรษฐกิจไทยมีพัฒนาการในทิศทางที่ดีขึ้นตามลำดับอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจและด้าน

Latest

ทอท. ลงทุนเต็มพิกัด 10 ปี 2 แสนล้านบาท เที่ยวบินอินเตอร์ฟื้นตัวเกิน 100%

นายวิชญายุทธ บุญชิต ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ได้หารือกับคณะที่ปรึกษาการลงทุนจากบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ “มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส” ซึ่ง สศช.ได้ให้ข้อมูลไปว่า เศรษฐกิจไทยมีพัฒนาการในทิศทางที่ดีขึ้นตามลำดับอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจและด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ รวมทั้งมีความพร้อมมากขึ้นสำหรับการที่จะกลับเข้าสู่แนวโน้มการขยายตัวที่น่าพอใจในระยะปานกลาง

“ด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยเร่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการขยายตัว 0.9% ในปี 2557 เป็น 2.9% ในปี 2558 ก่อนที่จะเร่งขึ้นเป็น 3.2% ในปี 2559 การปรับตัวดีขึ้นดังกล่าวสอดคล้องกับการคาดการณ์ที่ สศช.ได้เคยรายงานต่อมูดีส์ในการหารือกันในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แม้ในขณะนั้น หลายหน่วยงานจะคาดการณ์เศรษฐกิจค่อนข้างลบ ปี 2560 สศช.คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 3.3-3.8% โดยมีค่ากลางที่ 3.5% ซึ่งจะเป็นอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูงที่สุดในรอบ 5 ปี และเป็นประมาณการเดิมที่ สศช. ได้ให้ข้อมูลไว้กับมูดีส์ในปีที่ผ่านมา นอกจากนั้น ขณะนี้ก็มีหลายหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศที่ปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจไทยขึ้นมาอยู่ใกล้เคียง กับค่าประมาณการของ สศช.และหลายหน่วยงานที่ประมาณการสูงกว่าค่ากลางการประมาณการของ สศช. สะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจไทยที่มีความชัดเจนมากขึ้นตามลำดับ”

นายวิชญายุทธกล่าวว่า คณะที่ปรึกษาการลงทุนจากมูดีส์ ได้สอบถามความเห็น สศช.เกี่ยวกับแนวโน้มการขยายตัวของภาคเศรษฐกิจต่างๆ โดยเฉพาะ การลงทุนภาคเอกชนที่ยังฟื้นตัวล่าช้า ซึ่งทาง สศช.ได้ให้ความเห็นว่าการฟื้นตัวอย่างล่าช้าของการลงทุนภาคเอกชนนั้น สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ว่า การลงทุนส่วนใหญ่ของภาคเอกชนในประเทศไทยเป็นการลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์เพื่อการผลิตสินค้า โดยเฉพาะการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ดังนั้นภายใต้การลดลงและชะลอตัวของการส่งออกในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ภาคการผลิตเพื่อการส่งออกมีกำลังผลิตส่วนเกิน ซึ่งเป็นข้อจำกัดต่อการลงทุนเพิ่มเติม เพื่อขยายกำลังการผลิตของภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่เหลือของปีและในปีต่อไปการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ตามการฟื้นตัวของการส่งออก อุปสงค์ในประเทศ และเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างชัดเจน นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนเพิ่มเติมจากความคืบหน้าด้านการลงทุน โครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญๆ เป็นต้น.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ