ศุภวุฒิ ชี้ครึ่งหลังปี 68 นโยบายการเงิน ถึงเวลารับบท "กองหน้า" หนุนการเติบโตเศรษฐกิจ

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ศุภวุฒิ ชี้ครึ่งหลังปี 68 นโยบายการเงิน ถึงเวลารับบท "กองหน้า" หนุนการเติบโตเศรษฐกิจ

Date Time: 18 ธ.ค. 2567 11:05 น.

Video

บัญชีม้า เกลื่อนเมือง คนไทยอยู่อย่างไร ใครต้องรับผิดชอบ ? | Money Issue

Summary

  • ศุภวุฒิ ประธานสภาพัฒน์ฯ มองเศรษฐกิจปี 68 ขยายตัว 3% จากแรงส่งท่องเที่ยว ส่งออก และการใช้จ่ายภาครัฐ แนะครึ่งปีหลังระวังผลกระทบนโยบาย "ทรัมป์" นโยบายคลังลดบทบาท ถึงเวลาแบงก์ชาติ ใช้นโยบายการเงินเป็นกองหน้า หนุนการเติบโตเศรษฐกิจ

Latest


เคทีซีเปิดเวทีเสวนา KTC FIT Talk 13 "โฟกัสเศรษฐกิจปี 2568: โอกาสและความท้าทาย" นำเสนอข้อมูลแนวโน้มเศรษฐกิจ การรับมือความผันผวน และปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่อาจเกิดขึ้นในปี 2568 ชี้อุตสาหกรรมสินเชื่อผู้บริโภคมีโอกาสเติบโตท่ามกลางความท้าทาย โดยมีดร. ศุภวุฒิ สายเชื้อ ประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนายอภิเชษฐ์ เกียรติวรคุณ ผู้อำนวยการ - การเงิน “เคทีซี” ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2568 ดร. ศุภวุฒิ มองว่า เศรษฐกิจจะขยายตัวที่ 3% โดยโมเมนตัมเศรษฐกิจจะดีในช่วงครึ่งแรกของปี โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการเติบโตของภาคการท่องเที่ยว การส่งออก และการใช้จ่ายภาครัฐ โดยรัฐบาลจะเร่งใช้งบลงทุนที่ค้างอยู่ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่โมเมนตัมครึ่งหลังของปียังมีความไม่แน่นอน เนื่องจากความชัดเจนเรื่องนโยบายกีดกันทางการค้าจากสหรัฐฯ ประกอบกับข้อจำกัดการใช้นโยบายการคลังจากพื้นที่ทางการคลังหรือความสามารถในการก่อหนี้สาธารณะที่เหลือน้อยลง ทำให้รัฐบาลต้องพิจารณาลดการขาดดุลงบประมาณ ทำให้ในช่วงครึ่งหลังของปี นโยบายการเงินจะต้องเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้น ทำหน้าที่เป็น “กองหน้า” แทนนโยบายการคลังที่ลดบทบาทลง เพื่อสนับสนุนการเติบโตเศรษฐกิจ โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก โดยได้รับแรงกดดันจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวไม่ต่อเนื่อง แต่นโยบายการเงินในช่วงที่ผ่านมามีความตึงตัวมากเกินไป

สำหรับตลาดสินเชื่อในปีหน้า คาดว่าจะเติบโตแบบอัตราตัวเลขหลักเดียว (low single-digit) เนื่องจากสถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง หนี้เก่ายังไม่หมด และต้องเฝ้าระวังการก่อหนี้ใหม่ โดยธนาคารจะยังคงเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อจากความเสี่ยงด้านเครดิต และคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลง

ทั้งนี้มาตรการแก้หนี้ โครงการ ”คุณสู้ เราช่วย“ ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่เป็นหนี้เสียมาไม่เกิน 1 ปี ให้กลับมาชำระหนี้ได้ จะสามารถช่วยลูกหนี้กลุ่มเปราะบางที่มีมูลค่าหนี้ไม่สูงได้จำนวนมาก แต่มาตรการดังกล่าวไม่ได้ตอบโจทย์การแก้หนี้ในภาพใหญ่ หากต้องการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ประเทศไทยจะต้องทำให้เศรษฐกิจเติบโต สร้างโอกาสการจ้างงานใหม่ๆ เพื่อยกระดับแรงงานให้มีรายได้สูงขึ้น ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มีเพียงครั้งเดียวเท่านั้นที่รัฐบาลสามารถลดมูลค่าหนี้ที่มีอยู่ได้ แต่สัดส่วนหนี้ต่อ GDP ที่ลดลงเป็นผลมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับการลดหนี้ประชาชนก็ต้องเพิ่มรายได้ ซึ่งการที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับการหาแนวทางเพิ่มรายได้ให้ประชาชน

ทั้งนี้หากธนาคารแห่งประเทศไทยต้องการช่วยประชาชนลดภาระหนี้ ต้องทำให้เงินเฟ้อกลับขึ้นไปที่ระดับ 2% เนื่องจากหาก GDP ปี 2568 โต 3% รวมเงินเฟ้อเป็น 5% จะทำให้มูลค่าหนี้ของประชาชนลดลง เช่นเนื่องจากเงินมีการเสื่อมมูลค่า เช่น คนมีหนี้ 100 บาท พอเงินเฟ้อ 2% จะทำให้มูลค่าหนี้ลดลงเหลือ 98 บาท

ที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยมีความกังวลเรื่องเงินเฟ้อมากเกินไป จึงคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในระดับสูง กดเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำ โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อของไทยต่ำกว่ากรอบเป้าหมายมาตลอด ขณะที่ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อไม่ใช่เรื่องที่ไทยต้องกังวลในปีหน้า เนื่องจากจีนซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ กำลังประสบปัญหาภาวะเงินฝืด ผลิตของเกินกำลังบริโภคในประเทศ

ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ