รฟท.มั่นใจรายได้ปีละ 2 หมื่นล้าน ยกสิทธิ์ให้ “เอสอาร์ทีเอ” จัดการทรัพย์สินเบ็ดเสร็จ

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

รฟท.มั่นใจรายได้ปีละ 2 หมื่นล้าน ยกสิทธิ์ให้ “เอสอาร์ทีเอ” จัดการทรัพย์สินเบ็ดเสร็จ

Date Time: 6 พ.ย. 2567 09:01 น.

Video

บุกโรงงาน PANDORA ช่างไทยผลิตจิวเวลรี่ แบรนด์โลกแสนล้าน | On The Rise

Summary

  • รฟท.ได้ฤกษ์ส่งมอบแฟ้มสัญญาเช่า–พื้นที่เชิงพาณิชย์กว่า 1.2 หมื่นสัญญาให้ “เอสอาร์ที แอสเสท” บริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จ พร้อมสั่งรื้อค่าเช่าที่ดินใหม่ยกแผง เหตุเก็บราคาต่ำเกินจริง หวังสร้างรายได้ ด้าน ผู้ว่าการ รฟท. ลั่น! ใน 2 ปีเตรียมนำพื้นที่แปลงใหญ่ “สถานีกลาง–รัชดา” เปิดประมูล มั่นใจ 4 ปี มีรายได้กว่าปีละ 2 หมื่นล้านบาท ล้างขาดทุนแสนล้านบาทสำเร็จแน่

Latest


รฟท.ได้ฤกษ์ส่งมอบแฟ้มสัญญาเช่า–พื้นที่เชิงพาณิชย์กว่า 1.2 หมื่นสัญญาให้ “เอสอาร์ที แอสเสท” บริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จ พร้อมสั่งรื้อค่าเช่าที่ดินใหม่ยกแผง เหตุเก็บราคาต่ำเกินจริง หวังสร้างรายได้ ด้าน ผู้ว่าการ รฟท. ลั่น! ใน 2 ปีเตรียมนำพื้นที่แปลงใหญ่ “สถานีกลาง–รัชดา” เปิดประมูล มั่นใจ 4 ปี มีรายได้กว่าปีละ 2 หมื่นล้านบาท ล้างขาดทุนแสนล้านบาทสำเร็จแน่

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานส่งมอบแฟ้มสัญญาเช่าและการบริหารจัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์ (Non Core) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ให้กับบริษัทเอสอาร์ที แอสเสท จำกัด (เอสอาร์ทีเอ) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ รฟท.เพื่อบริหารจัดการสร้างรายได้ว่า ได้ส่งมอบแฟ้มสัญญาเช่า และการบริหารจัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์ให้กับเอสอาร์ทีเออย่างเป็นทางการ จำนวน 12,233 สัญญา ในพื้นที่กว่า 38,469 ไร่ และจะทยอยส่งมอบสัญญาที่เหลือกว่า 500 สัญญาต่อไป เพื่อหวังเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพย์สินของ รฟท. และสร้างรายได้สูงสุดให้กับ รฟท. โดยสินทรัพย์ทั้งหมดยังคงเป็นของ รฟท. 100%

นอกจากนั้น ได้ให้นโยบายกับเอสอาร์ทีเอให้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่เชิงพาณิชย์เพื่อสร้างรายได้สูงสุด รวมถึงพิจารณาความเหมาะสมของการบริหารสัญญาว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่จะปรับค่าเช่า หรือค่าบริหารให้สอดคล้องกับราคาตลาดในปัจจุบัน เพราะหลายพื้นที่ค่าเช่าไม่สอดคล้องกับราคาตลาด ขณะที่พื้นที่ใกล้เคียง ที่เอกชนให้เช่านั้น ราคาปรับขึ้นไปมากแล้ว สำหรับการปรับการบริหารสัญญาในพื้นที่เชิงพาณิชย์นั้น ก็เพื่อนำรายได้จากส่วนนี้มาบริหารจัดการ และล้างขาดทุนให้กับ รฟท.ในอนาคต

ด้านนายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ รฟท. กล่าวว่า สำหรับแฟ้มสัญญาเช่า และการบริหารจัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์ ที่ส่งมอบให้เอสอาร์
ทีเอ 12,233 สัญญานั้น ประกอบด้วย 1.สัญญาฝ่ายบริหารทรัพย์สิน 5,856 สัญญา 2.สัญญาฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ 6,369 สัญญา และ 3.สัญญาฝ่ายอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม 8 สัญญา บนพื้นที่กว่า 38,469 ไร่ เพื่อให้เอสอาร์ทีเอนำไปบริหารจัดการสัญญาเช่า โดยที่ทรัพย์สินทั้งหมดยังเป็นกรรมสิทธิ์ของ รฟท. และบริษัทต้องแบ่งผลตอบแทนให้กับ รฟท. ในฐานะผู้บริหารสัญญา 5% ของรายได้จากค่าบริหารสัญญา

“รฟท.ตั้งเป้าหมายว่า ภายใน 2 ปีจากนี้จะเร่งให้เปิดประมูลเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ 2 แปลงใหญ่ ประกอบด้วย พื้นที่พหลโยธิน-สถานีกลางบางซื่อ กับพื้นที่บริเวณรัชดาภิเษก เนื่องจากสามารถพัฒนาสร้างรายได้เชิงพาณิชย์ได้อย่างมหาศาล เพราะมีการคมนาคมขนส่ง ทั้งทางถนน และระบบรางเชื่อมต่อการเดินทางอย่างสะดวก ขณะที่ เอสอาร์ทีเอ หลังจากนี้จะต้องไปพิจารณาปรับค่าเช่าในแต่ละสัญญาเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันรฟท.มีรายได้จากพื้นที่เชิงพาณิชย์เฉลี่ยปีละ 3,700 ล้านบาทเท่านั้น และหากปรับการบริหารสัญญาใหม่จะสร้างรายได้ให้ รฟท.เพิ่มขึ้นเป็นปีละ 4,000-5,000 ล้านบาท และมั่นใจว่า ภายใน 4 ปี รฟท.จะมีรายได้กว่าปีละ 20,000 ล้านบาท และล้างขาดทุนกว่าแสนล้านบาทได้แน่นอน”

สำหรับที่ดินแปลงใหญ่ที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ อีก 28 แปลง ที่สามารถพัฒนาพื้นที่และสร้างรายได้ได้นั้น เบื้องต้นเอสอาร์ทีเอ
ได้จัดทำแผนพัฒนาพื้นที่โครงการเป็น 3 ระยะ โดยในระยะแรกจะดำเนินการในปี 68 จำนวน 7 แปลง ประกอบด้วย 1.โครงการบางซื่อ- คลองตัน (RCA) 2.โครงการศิลาอาสน์แปลงย่อย 3.โครงการตลาดคลองสาน 4.โครงการสถานีราชปรารภ (แปลง OA) 5.โครงการถนนพหลโยธิน (หัวมุม อตก.) 6.โครงการย่านบางซื่อ (แปลง A2) สถานีขนส่ง 7.โครงการย่านสถานีหนองคาย (แปลง 5)

ส่วนที่เหลือนั้นจะดำเนินการในปี 69-72 ซึ่งที่ผ่านมา รฟท.ได้ส่งผลการศึกษาที่ดินแปลงที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ 28 แปลงดังกล่าวให้เอสอาร์ทีเอตั้งแต่เดือน พ.ค.65 แล้ว รวมถึงมอบสัญญาเช่าบางส่วนให้ด้วย เพื่อนำไปศึกษาและจัดทำแผน เพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 29 ก.ย.63 อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันที่ดินของ รฟท.มีทั้งหมด 246,880 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ Core Business ซึ่งเป็นพื้นที่ย่านสถานี ที่ทำการเขตทางรถไฟ 201,868 ไร่ และพื้นที่ Non-Core Business ที่สามารถนำไปทำประโยชน์ได้ 45,012 ไร่ ซึ่งในจำนวนนี้เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ สามารถนำไปพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้ 33,761 ไร่

อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ