จับตา“Trade War”รอบใหม่ เมื่อสหรัฐยัง กีดกัน“การค้า”กับจีนโลกย้ายฐานการผลิตอีกระลอก ไทยรับอานิสงส์

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

จับตา“Trade War”รอบใหม่ เมื่อสหรัฐยัง กีดกัน“การค้า”กับจีนโลกย้ายฐานการผลิตอีกระลอก ไทยรับอานิสงส์

Date Time: 1 พ.ย. 2567 11:29 น.

Video

เปิดทริกวางแผนการเงิน เพื่อชีวิตที่มีประสิทธิภาพ

Summary

  • จับตา "ผลเลือกตั้งสหรัฐ" กับ แนวโน้ม “Trade War” สงครามการค้า จีน-สหรัฐ รอบใหม่ ส่อดัน โลกย้ายฐานการผลิต หนีภาษีอีกระลอก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์ เม็กซิโก - เวียดนาม และ ไทย รับอานิสงส์

Latest


“ผลการเลือกสหรัฐฯ ปี 2024 ไม่ว่าพรรคใดชนะ จะสานต่อนโยบายกีดกันการค้ากับจีน ในขณะที่ Trade War รอบใหม่ อาจส่งผลให้เกิดการย้ายฐานการผลิตออกจากจีนอีกระลอก “ 

นี่คือส่วนหนึ่ง ของ บทวิเคราะห์ล่าสุด โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย หลังกล่าวถึง โอกาสที่ “ประเทศไทย” อาจจะได้รับอานิสงส์ หลังประเมินว่า นโยบายกีดกันทางการค้ากับจีน ซ่งเป็นหนึ่งในนโยบายหาเสียง การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่จะมีขึ้นใน เดือน พ.ย. นี้ 

โดยเฉพาะนโยบายการขึ้นภาษีนำเข้า สินค้าจากประเทศจีน 60% และประเทศอื่นๆ อีก 10-20% นอกจากจะสร้างความเสี่ยงเงินเฟ้อในสหรัฐฯ แล้ว ยังอาจก่อให้เกิดการย้ายฐานการผลิตออกจากจีนอีกระลอก อีกด้วย 

จาก Trade War รอบแรก สู่ ระลอกใหม่ 

ย้อนไป สงครามการค้า หรือ Trade War รอบแรก ของจีนและสหรัฐ เกิดขึ้น เมื่อปี 2561 โดยครั้งนั้น ได้สร้างจุดเปลี่ยนสำคัญ ในการปรับห่วงโซ่การผลิตโลกไปอย่างสิ้นเชิง 

ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน เปลี่ยนรูปแบบไป โดยมีประเทศที่ 3 อย่างอาเซียน และ เม็กซิโก เข้ามาเป็นฐานการผลิตของจีน เพื่อส่งออกต่อไปยังสหรัฐฯ ผลักดันให้สหรัฐฯ นำเข้าจากเม็กซิโกเป็นอันดับ 1 แทนที่จีน และมีการนำเข้าจากอาเซียนเพิ่มด้วย ในขณะที่จีนก็มีการตลาดส่งออกอาเซียนเป็นอัน 1 แทนที่สหรัฐฯ เช่นกัน 

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลสำคัญที่ปรากฎ กลับยังพบว่า แม้ Trade War รอบแรก ผ่านมาแล้ว 6 ปี แต่ปัจจุบัน สหรัฐฯ ยังคงขาดดุลการค้ากับจีนสูงในระดับสูงถึง 2.79 แสนล้านดอลลาร์ฯ คิดเป็น 26% ของยอดขาดดุลการค้ารวมของสหรัฐฯ ในปี 2566 ขณะที่จีนยังคงเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลก ด้วยสัดส่วน 14% ของการส่งออกโลก 

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์ต่อว่า หากการเลือกตั้งสหรัฐครั้งนี้ พรรคเดโมแครตชนะ จะมีแนวทางการกีดกันทางการค้ากับจีนเพิ่มขึ้น โดยขึ้นภาษีสินค้าจีนแบบเจาะจงในกลุ่มสินค้ายุทธศาสตร์ 

แต่หากท้ายที่สุด พรรครีพับลิกัน ชนะ จะเป็นการสานต่อ Trade War รอบใหม่ โดยการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนแบบครอบคลุม นอกจากนี้ หากประเทศใดถอยออกจากการใช้เงินสกุลดอลลาร์ฯ จะเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าเพิ่มอีก 100% ด้วย

ทั้งนี้ หากเกิด Trade War รอบใหม่ สินค้าในกลุ่มที่ 3 เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต โน้ตบุ๊ค เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า กล้องดิจิทัล เกม ของเล่นและเฟอร์นิเจอร์ ที่ยังไม่เคยโดนเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มจากสงครามการค้ารอบแรก ก็จะได้รับผลกระทบมากที่สุด และมีแนวโน้มจะเกิดการย้ายฐานการผลิตออกจากจีนอีกระลอก 

สงครามการค้ารอบใหม่ “เวียดนาม-เม็กซิโก-ไทย” ได้อานิสงส์ 

โดย หากมีการย้ายฐานการผลิตอีกระลอก ไทยน่าจะได้อานิสงส์บางส่วนจากอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนเดิมอยู่แล้ว สินค้าในกลุ่ม 3 ส่วนใหญ่เป็นสินค้าสำเร็จรูป ที่ต้องพึ่งพาจุดแข็งในด้านต้นทุนการผลิตที่ต่ำของจีน ซึ่งเวียดนามและเม็กซิโกน่าจะได้รับประโยชน์มากสุด ดังนี้ 

  • เวียดนามได้อานิสงส์ในสินค้ามีมูลค่าเพิ่มอย่างโน้ตบุ๊ค แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน หูฟัง ของเล่นและเฟอร์นิเจอร์
  • เม็กซิโกได้ประโยชน์ในกลุ่มรถกระบะ รถบรรทุกและชิ้นส่วน และเฟอร์นิเจอร์
  • ไทยน่าจะได้อานิสงส์ในกลุ่มที่มีการลงทุนอยู่เดิม เช่น เซมิคอนดักเตอร์ โซลาร์เซลล์ ชิ้นส่วนกล้องดิจิทัล ถุงมือการแพทย์ ถุงมือยาง น้ำผลไม้ อุปกรณ์โทรทัศน์ PCA และของเล่น เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป แม้นโยบายกีดกันทางการค้า Trade War รอบใหม่ของสหรัฐฯ ในทางปฏิบัติจะได้รับคะแนนนิยมทางการเมือง และยังใช้เป็นเครื่องมือเจรจาต่อรองกับจีนและนานาประเทศเพื่อให้สหรัฐฯ ได้ประโยชน์ทางการค้ามากที่สุด แต่ในขณะเดียวกันก็สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและสหรัฐฯ มากเช่นกัน ยังไม่นับรวมกับผลกระทบกรณีมีการตอบโต้ด้วยมาตรการกีดกันทางการค้าจากหลายๆ ประเทศ ที่ยิ่งจะส่งผลกระทบทางลบที่มากขึ้นต่อทิศทางการค้าและเศรษฐกิจโลก 

ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่ 

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้  https://www.facebook.com/ThairathMoney


อย่างไรก็ตาม ไทยในฐานะเป็นประเทศที่ได้รับอานิสงส์จากการย้ายฐานการผลิตออกจากจีนก็คาดว่า หากเกิดการย้ายฐานการผลิตอีกระลอก ไทยคงจะได้รับอานิสงส์เพียงบางส่วน เนื่องจากในสินค้ากลุ่มที่จะได้รับประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิตมากที่สุดนั้น ไทยมีข้อได้เปรียบที่จำกัดจากเรื่องต้นทุนการผลิต เมื่อเทียบกับเวียดนามและเม็กซิโก 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ