เปิดผลสำรวจ “ซีอีโอ” บจ. ตลาดหุ้น มองจีดีพีโตแค่ 2-3% เชื่อเทคโนโลยี AI ช่วยเพิ่มศักยภาพแข่งขัน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เปิดผลสำรวจ “ซีอีโอ” บจ. ตลาดหุ้น มองจีดีพีโตแค่ 2-3% เชื่อเทคโนโลยี AI ช่วยเพิ่มศักยภาพแข่งขัน

Date Time: 23 ต.ค. 2567 09:38 น.

Video

วิธีเอาตัวรอดของ Wikipedia ไม่พึ่งโฆษณา ไม่มีค่าสมาชิก แต่อยู่มาได้ 23 ปี | Digital Frontiers

Summary

  • ซีอีโอในตลาดหุ้นไทย มองศรษฐกิจไทยในปี 2567-2568 โตเพียง 2-3% หลายคนมองว่าเสถียรภาพการเมืองโลกและต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้นจะกลายมาเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจมากขึ้น หลายบริษัทเตรียมปรับกลยุทธ์รับมือความท้าทาย พร้อมมองเทรนด์ Generative AI จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

Latest


ผลสำรวจความคิดเห็นจากผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน (ซีอีโอ)ในตลาดหุ้นไทย ระบุว่า การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2567-2568 คาดว่าจะอยู่ที่เพียง 2-3%โดยปัจจัยเสี่ยงที่น่ากังวลยังคงเป็นปัญหาหนี้ครัวเรือนและกำลังซื้อที่ลดลง รวมถึงความไม่แน่นอนทางการเมือง ขณะที่ในปี 2568 ซีอีโอหลายคนมองว่าเสถียรภาพการเมืองโลกและต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้นจะกลายมาเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจมากขึ้น

แม้จะมีความกังวลเกี่ยวกับต้นทุนการผลิต แต่หลายบริษัทเตรียมปรับกลยุทธ์รับมือความท้าทายดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ปรับโครงสร้างธุรกิจ และปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์เทคโนโลยีใหม่อย่าง Generative AI ที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

เปิดผลสำรวจซีอีโอ บจ. ในตลาดหุ้น

ฝ่ายวิจัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สำรวจความคิดเห็นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนในปี 2567 - 2568 เกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจ การดำเนินธุรกิจ และประเด็นที่น่าสนใจ โดยรวบรวมข้อมูลในช่วงวันที่ 1 สิงหาคม - 27 กันยายน 2567 มีบริษัทจดทะเบียนจาก SET และ mai ร่วมแสดงความคิดเห็นทั้งสิ้น 249 บริษัท จาก 26 หมวดธุรกิจ รวม 53.9% ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด ณ 31 กรกฎาคม 2567 พบว่า

ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนคาดว่าเศรษฐกิจไทยยังเติบโตได้ 2-3% ในปี 2567 และ 2568 โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญ คือ การท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ มองเสถียรภาพทางการเมืองไทย ปัญหาหนี้ครัวเรือนและกำลังซื้อภายในประเทศเป็นปัจจัยเสี่ยงกดดันเศรษฐกิจ คาดเงินเฟ้อ 2567 เป็นไปตามกรอบเป้าหมาย โดยในปี 2568 ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนมองว่า นโยบายการคลังและการใช้จ่ายภาครัฐ และการส่งออกจะเข้ามามีบทบาทต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจมากขึ้น

ในด้านปัจจัยที่ส่งผลทางลบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจมากที่สุดสำหรับปี 2567 ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนมองว่า 3 อันดับแรก ได้แก่ เสถียรภาพการเมืองไทย หนี้ครัวเรือน และกำลังซื้อภายในประเทศ ตามลำดับ และสำหรับปี 2568 ก็ยังคงเป็น 3 ปัจจัยเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม ในปี 2568 ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนมองว่าเสถียรภาพการเมืองไทยและปัญหากำลังซื้อภายในประเทศ จะเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจน้อยลง แต่เสถียรภาพการเมืองโลกและต้นทุนค่าจ้างแรงงานจะเข้ามามีบทบาทกดดันเศรษฐกิจมากขึ้น รวมทั้งบางท่านมีความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงสร้างการผลิตของประเทศไทยที่ยังเป็นอุตสาหกรรมรูปแบบเก่าซึ่งต้องมีการปรับตัว และการเข้ามาทำตลาดของสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ

สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ราว 60% เชื่อว่าน่าจะอยู่ภายในกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ (1-3%) และ 27% มองว่าอาจจะต่ำกว่ากรอบเงินเฟ้อ

ด้านการดำเนินธุรกิจ

ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน คาดว่ารายได้จากการประกอบธุรกิจยังเติบโตได้ในปี 2567 และอัตราการเติบโตจะเร่งขึ้นในปี 2568 ยังเชื่อมั่นลงทุนขยายธุรกิจเพิ่มเติมโดยเฉพาะในไทยและภูมิภาคอาเซียน ด้านสภาพคล่องของธุรกิจยังเป็นปกติแม้อาจมีความเสี่ยงจากกำลังซื้อภายในประเทศที่ลดลงและต้นทุนการผลิตที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น โดยมีการปรับกลยุทธ์ในหลายๆ ด้าน เพื่อรับมือกับความท้าทาย

นอกจากนี้ คาดว่ารายได้จากการประกอบธุรกิจยังเติบโตได้ในปี 2567 และอัตราการเติบโตจะเร่งขึ้นในปี 2568 ยังเชื่อมั่นลงทุนขยายธุรกิจเพิ่มเติมโดยเฉพาะในไทยและภูมิภาคอาเซียน

ด้านสภาพคล่องของธุรกิจยังเป็นปกติ แม้อาจมีความเสี่ยงจากกำลังซื้อภายในประเทศที่ลดลงและต้นทุนการผลิตที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น โดยมีการปรับกลยุทธ์ในหลายๆ ด้านเพื่อรับมือกับความท้าทาย

ด้านการลงทุน

ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน 3 ใน 4 มองว่าช่วงเวลา 12 เดือนข้างหน้ามีความน่าสนใจลงทุนหรือขยายกิจการเพิ่มเติม โดยจากกลุ่มดังกล่าว จำนวนประมาณ 2 ใน 3 มีความสนใจในภูมิภาคอาเซียน นำโดยประเทศไทยและตามมาด้วยเวียดนาม และให้ความสนใจรองๆ ลงมา ในประเทศจีนและประเทศอินเดีย ตามลำดับ ซึ่งเป็นภูมิภาคหรือประเทศที่มีฐานลูกค้าขนาดใหญ่ และเศรษฐกิจกำลังพัฒนารวดเร็ว

ขณะเดียวกัน ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนหลายท่านสนใจไปลงทุนในประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเพิ่งมีการฟื้นคืนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศไทย รวมถึงบางท่านมีความสนใจในประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ นอกอาเซียน เช่น มองโกเลีย 

ส่วนปัจจัยการดำเนินธุรกิจที่ต้องติดตาม ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ห่วงปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง อาจเป็นความเสี่ยงต่อการดำเนินธุรกิจมากที่สุด ตามด้วยปัจจัยต้นทุนการผลิตทั้งด้านวัตถุดิบ พลังงาน และต้นทุนทางการเงิน และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ รวมทั้งบางท่านมีความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้ามาทำตลาดของสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยใหม่ที่ถูกระบุเพิ่มเข้ามาในการสำรวจรอบนี้ 

อย่างไรก็ตาม บริษัทจดทะเบียนดำเนินการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อรับมือกับความท้าทาย โดยมีการปรับโครงสร้างธุรกิจ กำหนดกลยุทธ์และเป้าหมายการลงทุน ปรับกลยุทธ์ทางการตลาดและปรับปรุงสินค้าหรือบริการให้สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริการเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ 

ด้านการดำเนินงานและการตลาด

ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนจำนวนมากระบุว่าได้ดำเนินการหรือมีแผนในการเพิ่มประสิทธิภาพด้านแรงงาน และสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าหรือบริการ ควบคู่ไปกับการทำวิจัยและพัฒนา ปรับปรุงผลิตภัณฑ์และราคาให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของสินค้าและบริการ รวมทั้งมีการปรับช่องทางการโฆษณาสินค้าและวิธีการสื่อสารเฉพาะกลุ่มให้ตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายแทนกลยุทธ์ทางการตลาดแบบเดิม

นอกจากนี้ ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่มองว่า ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า เทคโนโลยี Generative AI และเทรนด์การปรับตัวด้านความยั่งยืน (sustainability) จะส่งผลเชิงบวกทั้งต่อเศรษฐกิจไทยและการดำเนินธุรกิจมากที่สุด อาจนำมาทั้งโอกาสในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ในทางกลับกัน ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่มองว่าการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำจะส่งผลเชิงลบทั้งต่อเศรษฐกิจไทยและการดำเนินธุรกิจ โดยการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำอาจกระทบต่อต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น อีกหนึ่งปัจจัยที่ ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่มองว่าอาจกระทบต่อเศรษฐกิจไทยและส่วนหนึ่งมองว่าอาจกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ คือ สงครามการค้า

อ่านข่าวหุ้น และการลงทุน กับ Thairath Money ได้ที่

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ