แม้คดี “ดิไอคอนกรุ๊ป” จะไม่ได้เป็นคดีแชร์ลูกโซ่ลำดับต้น ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย แต่อัปเดตความเสียหายล่าสุด ข้อมูลจากตำรวจสอบสวนกลางเผยว่า ยอดทั่วประเทศพุ่งกว่า 1.3 พันล้านบาทแล้ว พร้อมคาดจำนวนผู้เสียหายหลอกลวงลงทุนของบริษัท “ดิไอคอนกรุ๊ป” ที่ยังไม่เข้าแจ้งความยังมีอีกเป็นจำนวนมาก ตอกย้ำการเป็นอีกหนึ่งคดีดัง มีโทษสูง และมีผู้เสียหายจำนวนมาก
ขณะ 18 ผู้ต้องหาถูกตั้งข้อหาร่วมกันฉ้อโกงประชาชน และร่วมกันนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จฯ ยึดรถยนต์ 24 คัน เงินสด 7.5 ล้าน นาฬิกา 51 เรือน กระเป๋าและสินค้าแบรนด์เนม รวมมูลค่า 210 ล้านบาท ซึ่งยังมีการขยายผลต่อในการสืบทรัพย์ หลังพบผู้ต้องหาบางส่วนมีการเคลื่อนย้ายทรัพย์ ซึ่งอาจมีความผิดฐานฟอกเงินเพิ่มเติมอีกกระทง เช่นเดียวกับกรณีการใช้นอมินีมาร่วมเป็นผู้เสียหาย ทางตำรวจระบุจะตรวจสอบผู้ร่วมขบวนการด้วยเช่นกัน
สำหรับผู้เสียหายคดี "ดิไอคอนกรุ๊ป" ยังสามารถแจ้งความได้ที่ สน. / สภ. ทุกแห่ง หรือศูนย์รับแจ้งความที่ใกล้และสะดวกที่สุด โดย 3 เอกสารหลักฐานที่ต้องจัดเตรียมประกอบการแจ้งความร้องทุกข์คดี THE iCON GROUP ประกอบไปด้วย
รูปแบบธุรกิจขายสินค้าผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม ผ่านช่องทางออนไลน์ ที่สร้างรายได้กว่า 10,000 ล้านบาท ทั้ง ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งได้เพียง 5 ปี โดยมีบรรดา “บอส” และคนระดับ “แม่ข่าย” อยู่บนสุดของยอดพีระมิด โดยใช้ดารา-นักแสดง คนมีชื่อเสียง สร้างภาพความไว้ใจและชักจูงเหยื่อเป็นทอด ๆ รายได้ที่ไม่ได้มาจากการขายสินค้า แต่บอกต่อ หาคนสมัครได้มากเท่าไหร่ จะกลายเป็นโบนัสกลับคืน นี่เองทำให้หลายคนอยากเล่นกับเกมนี้
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ ”คดีดิไอคอน” เกิดขึ้นแบบไม่สูญเปล่า สังคมไทยต้องรู้เท่าทันกับโมเดลธุรกิจสายมืดให้มากขึ้น เพราะแม้ “แชร์ลูกโซ่” จะเปลี่ยนรูปแบบไปบ้าง และเพิ่มเติมคือคนเดือดร้อน แต่ลึกลงไป ธุรกิจสายดาร์กดังกล่าวก็ยังคงวนลูปด้วยวงจรแบบเดิม ๆ ที่สำคัญใครมาชวนให้ทำอะไรแปลก ๆ ผลตอบแทนเยอะ ๆ อย่าลืมตั้งคำถามว่าจริงหรือเท็จ?
ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุ แชร์ลูกโซ่มักแฝงในหลากหลายรูปแบบธุรกิจ ทำให้ประชาชนหลายกลุ่มตกเป็นเหยื่อ เช่น
แต่หากสังเกตจะพบว่าการหลอกลวงแบบแชร์ลูกโซ่มีรูปแบบหลัก ๆ ใกล้เคียงกัน
สิ่งท่ีต้องระมัดระวังเพิ่มเติม คือ แชร์ลูกโซ่ ในปัจจุบัน มักแอบอ้างสินค้าหรือบริการต่าง ๆ รวมทั้ง หุ้น คริปโท หรือ สินทรัพย์ดิจิทัล ด้วย หากถูกชักชวนลงทุนต้องระมัดระวังให้มาก และควรลงทุนกับผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
“แชร์ลูกโซ่ และธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่ มีความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5-10 ปี และปรับตั้งแต่ 5 แสน ถึง 1 ล้านบาท”
ทั้งนี้ หากต้องการตรวจสอบว่าสิ่งที่เรากำลังร่วมอยู่เป็นแชร์ลูกโซ่หรือไม่ ติดต่อหน่วยงานเกี่ยวข้องดังนี้
ที่มา : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ,ธปท.,กลต.
ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney