คลังสบช่องกดดันธนาคารแห่งประเทศไทย เงินบาทแข็งโป๊กรอบ 30 เดือนจาก 3 ปัจจัย

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

คลังสบช่องกดดันธนาคารแห่งประเทศไทย เงินบาทแข็งโป๊กรอบ 30 เดือนจาก 3 ปัจจัย

Date Time: 26 ก.ย. 2567 08:35 น.

Summary

  • เงินบาทแข็งค่ารอบ 30 เดือน แบงก์ชาติรับค่าบาทผันผวน จาก 3 ปัจจัยต่างประเทศ แถมทองแพง เงินนอกไหลเข้า ยืนยันพร้อมเข้าดูแลเมื่อเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนมากผิดปกติ ขณะที่คลังพร้อมถกเครียดธนาคารแห่งประเทศไทย

Latest

5 วิชา “การเงิน การลงทุน” ต้องรู้! เป็นหนี้อย่างไร? ให้มี “เงินเก็บ” เกษียณแบบมีรายได้

เงินบาทแข็งค่ารอบ 30 เดือน แบงก์ชาติรับค่าบาทผันผวน จาก 3 ปัจจัยต่างประเทศ แถมทองแพง เงินนอกไหลเข้า ยืนยันพร้อมเข้าดูแลเมื่อเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนมากผิดปกติ ขณะที่คลังพร้อมถกเครียดธนาคารแห่งประเทศไทย

นางสาวพิมพ์พันธ์ เจริญขวัญ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ช่วงที่ผ่านมาเงินบาทผันผวนมากขึ้น โดยปรับแข็งค่าขึ้น 3.8% ตั้งแต่ต้นปี และปรับแข็งค่าเร็ว อยู่ในกลุ่มนำสกุลภูมิภาคในไตรมาส 3 จากปัจจัยภายนอกโดยเฉพาะการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมากกว่าการคาดการณ์ของตลาด ประกอบกับการประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของทางการจีนที่ส่งผลเชิงบวกต่อทิศทางเงินสกุลภูมิภาค อย่างไรก็ตาม เงินริงกิต ของมาเลเซียเป็นประเทศแข็งค่ามากที่สุด โดยตั้งแต่ต้นปีแข็งค่าขึ้น 11% ขณะที่ไต้หวันอ่อนค่ามากที่สุด ตั้งแต่ต้นปีอ่อนค่า 3.9%

นอกจากนี้ ค่าเงินบาทยังมีแรงกดดันด้านแข็งค่าเพิ่มเติมจากปัจจัยในประเทศ ทั้งเงินลงทุนต่างชาติที่เริ่มไหลกลับเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ไทยตั้งแต่ช่วงปลายเดือนสิงหาคม รวมถึงราคาทองคำที่ปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดใหม่ที่ 2,670 ดอลลาร์ สหรัฐฯ ต่อออนซ์ ทั้งนี้ ธปท. ติดตามสถานการณ์การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด และพร้อมเข้าดูแลเมื่อเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนมากผิดปกติเพื่อลดผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของภาคเศรษฐกิจ

ด้านนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวถึงประเด็นที่จะหารือกับนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธปท. ว่าค่าเงินบาทของไทยแข็งค่ามากจาก 36.23 บาทต่อดอลลาร์ ถือว่าแข็งค่าขึ้นมาเร็วที่สุด ซึ่งกระทบกับผู้ส่งออกซึ่งอยากเห็นค่าเงินบาทอ่อน แต่คนที่ต้องการลงทุนในการซื้อเครื่องจักรจากต่างประเทศก็ถือว่าเป็นจังหวะที่ดี ซึ่งเรื่องนี้ต้องมาดูข้อมูลในเรื่องนี้

ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่แข็งมาจากปัจจัยภายนอกที่เฟดมีดอกเบี้ยสูงในระยะเวลานานมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงไปอย่างมีสาระสำคัญ และมีการส่งสัญญาณว่าจะลงต่อไปอีก 0.75% ซึ่งตลาดเชื่อว่าจะลงไปอีก การลงแบบนี้เม็ดเงินก็จะไหลออกจากพันธบัตรสหรัฐฯ มาสู่ตลาดที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาถือว่าแข็งค่าเร็วกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาคทำให้ความสามารถแข่งขันเรื่องส่งออกของประเทศเรา

“เมื่อเทียบกับคู่ค้าแล้วถือว่าค่าเงินเราแข็งค่ากว่าคู่ค้า ไม่ว่าจะเทียบกับเงินหยวนของจีน เงินด่องของเวียดนาม เงินเยนของญี่ปุ่น รูเปียห์ของอินโดฯ และริงกิตของมาเลเซีย ค่าเงินเราแข็งมากกว่า ค่าเงินเราจึงเสียเปรียบ คนที่ดูแลเรื่องนี้ต้องจับไปเป็นปัจจัยว่าที่ค่าเงินเราแข็งค่ากว่าประเทศอื่นๆเพราะอะไร”

ส่วนในเรื่องของอัตราเงินเฟ้อของเรานั้นไม่ได้เป็นไปตามที่ ธปท. คาดการณ์ไว้ว่ามีแนวโน้มจะปรับตัวสูงขึ้น แต่ตอนนี้ยังหลุดกรอบเป้าหมายที่วางไว้ 1-3% ซึ่ง 8 เดือนที่ผ่านมาค่าเงินเฟ้ออยู่ที่ 0.15% เท่านั้น ซึ่งเมื่อเงินเฟ้อหลุดกรอบล่างแบบนี้ เกี่ยวข้องกับการกำหนดอัตราดอกเบี้ยซึ่งรัฐบาลบอกว่าควรจะอยู่ที่ประมาณ 2% ซึ่งเรื่องกรอบเงินเฟ้อก็ถึงเวลาที่ ธปท.กับกระทรวงการคลังต้องมานั่งตกลงกันว่าอัตราที่เหมาะสมคือเท่าไหร่

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ในช่วงเช้าของวันที่ 24 ก.ย. มีจังหวะที่เงินบาทแข็งค่าลงไปถึง 32.56 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่แข็งค่าสุดในรอบ 30 เดือน หรือ 2 ปีครึ่ง นับตั้งแต่ มี.ค.65.

อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ