CEO ไทยกังวล ธุรกิจไปไม่รอด อีก 10 ปีข้างหน้า เน้นลงทุนเทคโนโลยี แต่ใช้ประโยชน์ไม่เป็น

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

CEO ไทยกังวล ธุรกิจไปไม่รอด อีก 10 ปีข้างหน้า เน้นลงทุนเทคโนโลยี แต่ใช้ประโยชน์ไม่เป็น

Date Time: 19 ก.ค. 2567 15:05 น.

Video

วิธีเอาตัวรอดของ Wikipedia ไม่พึ่งโฆษณา ไม่มีค่าสมาชิก แต่อยู่มาได้ 23 ปี | Digital Frontiers

Summary

  • PWC เผยผลสำรวจ 67% ของซีอีโอไทย กังวลธุรกิจไปไม่รอด ในอีก 10 ปีข้างหน้า ปัญหาทางเศรษฐกิจ ดิสรัปชันจากเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรุมเร้า แม้เร่งลงทุนปรับใช้เทคโนโลยี แต่ใช้ประโยชน์ไม่เป็น ติดหล่มทำ "ธุรกิจ" แบบเดิม

Latest


ปัจจุบัน “ธุรกิจทั่วโลก” ต้องเผชิญกับความท้าทาย และปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ด้วยแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง จากภาวะเงินเฟ้อ และความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นสงครามการค้าระหว่างประเทศมหาอำนาจ

อย่างสหรัฐฯ-จีน หรือสงครามในตะวันออกกลาง รวมถึงการเข้ามาของเทคโนโลยี AI ที่ดิสรัปรูปแบบการทำงานด้วย Productivity และความฉลาดใกล้เคียงกับมนุษย์ จนหลายคนกังวลว่าจะมาแย่งงานในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เร่งให้หลายอุตสาหกรรมทั่วโลก ต้องหาทางปรับตัวอย่างหนัก จากรายไตรมาส เป็นรายเดือน เพื่อความอยู่รอด

ล่าสุดไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์ หรือ PWC บริษัทให้คำปรึกษาธุรกิจระดับโลก เปิดเผยรายงาน PWC’s 27th Annual Global CEO Survey ที่ทำการสำรวจซีอีโอ 4,702 คน ใน 105 ประเทศ รวมถึงประเทศไทย ระหว่าง 2 ต.ค. 2566-10 พ.ย. 2566 พบว่า 67% ของซีอีโอไทย กังวลว่าธุรกิจของตัวเอง จะอยู่ไม่รอดในอีก 10 ปีข้างหน้า หากยังทำธุรกิจรูปแบบเดิม ท่ามกลางความท้าทายทางเศรษฐกิจ ดิสรัปชันจากเทคโนโลยี และปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกที่ 45% เมื่อมองแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในระยะข้างหน้า พบว่าซีอีโอไทยเสียงแตกเป็นสองฝั่ง โดย 45% เชื่อว่าเศรษฐกิจโลกจะดีขึ้น ในขณะที่อีก 45% มองว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มแย่ลง นอกจากนี้ ในอีก 12 เดือนข้างหน้า มีซีอีโอเพียง 27% เท่านั้นที่มั่นใจกับแนวโน้มรายได้ของบริษัท (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 37% และค่าเฉลี่ยในเอเชียแปซิฟิกที่ 31%)

เมื่อถามถึงแนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศ ซีอีโอไทย 52% ยังคงมีความเชื่อมั่นในแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ทั้งนี้ มุมมองที่เป็นบวกมากขึ้น เป็นผลมาจากการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2566 ประกอบกับการฟื้นตัวในภาคการท่องเที่ยวและการส่งออก อย่างไรก็ตาม ความล่าช้าในการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 อุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัว และหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ยังเป็นปัจจัยที่ต้องจับตามอง 


ธุรกิจไทยไม่โต เพราะ CEO ติดกับดัก Organic Growth 


ท่ามกลางความท้าทายและความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการทำธุรกิจปัจจุบัน ผลักดันให้ซีอีโอไทยพยายามปรับตัว หาแนวทางทำธุรกิจใหม่ๆ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ (75%) การปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ (69%) และการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ภายในบริษัท (63%)

แม้หลายบริษัทจะพยายามลงทุนเพื่อพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ แต่ซีอีโอส่วนใหญ่ยังคงพึ่งพาผลิตภัณฑ์และบริการเดิมที่มีอยู่ โดยมีเพียง 12% เท่านั้น ที่สามารถเพิ่มยอดขายจากผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ได้ สะท้อนถึงปัญหาการบริหารทรัพยากร ที่ฉุดรั้งการเติบโตของธุรกิจไทย


นอกจากนี้รายงานยังระบุว่า ซีอีโอไทยส่วนใหญ่ให้ความสําคัญกับการเติบโต จากภายใน (Organic Growth) มากกว่าการเติบโตจากภายนอก (Inorganic Growth) โดยผลสํารวจพบว่า 79% ไม่ได้มีกระบวนการเข้าซื้อ หรือควบรวมกิจการที่เพิ่มมูลค่าให้กับบริษัทเลยในช่วงสามปีที่ผ่านมา ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก (64%) และเอเชียแปซิฟิก (55%) อย่างไรก็ตาม มีเพียง 39% เท่านั้นที่ระบุว่า บริษัทของพวกเขามีแผนสําหรับการเข้าซื้อกิจการใหม่ๆ เพื่อขยายธุรกิจ

ที่มา

ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่ 
https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้  https://www.facebook.com/ThairathMoney


 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์