คนไทยรายได้น้อย ไม่มี “กันชน”ทางการเงิน ไร้เงินสำรอง-ไม่มีประกัน 1ใน 3 มนุษย์เงินเดือน เสี่ยงสูง!

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

คนไทยรายได้น้อย ไม่มี “กันชน”ทางการเงิน ไร้เงินสำรอง-ไม่มีประกัน 1ใน 3 มนุษย์เงินเดือน เสี่ยงสูง!

Date Time: 20 มิ.ย. 2567 10:04 น.

Video

วิธีเอาตัวรอดของ Wikipedia ไม่พึ่งโฆษณา ไม่มีค่าสมาชิก แต่อยู่มาได้ 23 ปี | Digital Frontiers

Summary

  • เศรษฐกิจไทยเปราะบาง! คนรายได้น้อย ไม่มี “กันชน” ทางการเงิน วัยทำงาน อายุ 31-40 ปี เงินเดือนต่ำกว่า 30,000 บาท เกือบทั้งหมด ไม่มีเงินออมเผื่อฉุกเฉินถึง 3 เดือน ขณะ 1 ใน 3 ไม่มีประกันสักฉบับ เสี่ยงเผชิญกับเหตุการณ์ไม่คาดคิดสูง

Latest


อะไร? ที่เป็นสัญญาณ บอกว่า เรากำลังอยู่ท่ามกลาง ภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอ และเปราะบางมากขึ้น บ้างอาจบอกช่วงนี้ รู้สึก “ค้าขาย” ยากขึ้น, ห้างร้านต่างๆ คนบางตาลง หรืออาจเป็น ข่าวคราวตามสื่อ ประกาศโรงงานปิดตัว คนตกงาน และถูกเลิกจ้างหลายแห่ง ฯลฯ

แต่สำหรับ ภาคครัวเรือนไทยอาจสะท้อนจากจำนวนเงินในกระเป๋าที่เหลือน้อยลงกว่าเก่า เพราะค่าครองชีพแพง แบกภาระหนี้สินสูงขึ้น จนไม่มี “เงินออม” หรือแม้แต่นำเงินบางส่วน มาวางแผนรองรับความเสี่ยงในอนาคต

สอดคล้องกับ บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ และ สำรวจครัวเรือนไทย Outlook ไตรมาส 2/2024 ของ SCB EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ระบุว่า “ปัญหาการเงิน” ยังเป็นเรื่องใหญ่ของคนไทย เนื่องจากพบกลุ่มคนรายได้น้อยส่วนใหญ่ ขาดกันชนทางการเงินที่เพียงพอในระยะข้างหน้า เช่น เงินสำรองฉุกเฉิน และประกันความเสี่ยงรูปแบบต่าง 

ผลสำรวจพบ 70% ของคนไทย มีเงินสำรอง ไม่ถึง 3 เดือน

โดยการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 2,090 คน พบว่า ผู้บริโภคคนไทย กว่า 70% มีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินไม่ถึง 3 เดือน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่รายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเกือบทั้งหมดไม่มีเงินสำรอง ส่วนใหญ่เป็นวัยทำงาน อายุ 31-40 ปี เป็นลูกจ้างบริษัทเอกชน/ประกอบอาชีพอิสระ


ขณะเดียวกัน กลุ่มคนดังกล่าว มากกว่า 1 ใน 3 ไม่มีประกันชนิดใดเลย ไม่ว่าจะเป็น ประกันชีวิต, ประกันอุบัติเหตุ, ประกันสุขภาพ หรือประกันบำนาญเพื่อการเกษียณ 

จึงเป็นความเสี่ยง ด้านค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น หากมีเหตุการณ์ไม่คาดคิด สะท้อนความเปราะบางสูงของผู้บริโภคกลุ่มนี้ มองไปข้างหน้า เศรษฐกิจไทยเผชิญความเปราะบางมากขึ้นทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ จากปัญหา “หนี้สิน” สูง 

ซึ่งเป็นที่รับรู้กันว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือน ปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย หากไม่ได้รับการแก้ไขก็จะเป็นปัจจัยฉุดรั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และเป็นระเบิดเวลาที่อาจปะทุขึ้นจนกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงิน

สูตรแบ่งเงิน 3 ส่วน 15% ของเงินเดือน 



อย่างไรก็ดี เหตุผลที่ไม่มีเงินเก็บอาจไม่ได้มาจากเหตุผลทางเศรษฐกิจเท่านั้น เพราะดูเหมือนว่าคนไทยชอบ “ใช้เงิน” มากกว่า “ชอบเก็บเงิน”

ธนาคารไทยพาณิชย์ แนะไว้ สำหรับมนุษย์เงินเดือน เรื่องหนึ่งที่ต้องปฏิบัติทุกๆ เดือน หลังเงินเดือนถูกโอนเข้าบัญชีได้ไม่กี่ชั่วโมง ก็คือ การแบ่งเงินบางส่วน อย่างน้อยๆ ก็ 15% ของเงินเดือน ไปเก็บออมเอาไว้ในรูปแบบตามความเหมาะสมของแต่ละคน


โดยเงินเก็บออม ควรแบ่งออกเป็น 3 ส่วน

  • ส่วนแรก เพื่อใช้ยามฉุกเฉิน ด้วยการนำไปฝากไว้กับผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น เงินฝาก กองทุนรวมตลาดเงิน
  • ส่วนที่สอง เพื่อใช้สร้างครอบครัว เช่น ซื้อบ้าน แต่งงาน ส่งลูกเรียน ด้วยการนำไปลงทุนกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีความเสี่ยงปานกลาง เช่น กองทุนรวมผสม กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
  • ส่วนสุดท้าย เพื่อวัยเกษียณ ซึ่งเป็นการลงทุนระยะยาวและให้ผลตอบแทนที่ดีสม่ำเสมอ เช่น กองทุนรวมหุ้น กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน 

ขณะ 4 เรื่องที่ควรพึ่งระวัง เกี่ยวกับการเงิน จนไร้ “เงินเก็บ” ได้แก่ 

  • ไม่จดบันทึกรายรับรายจ่าย
  • ชอบจ่าย
  • เรื่องเงินเรื่องเล็ก
  • จัดสรรเงินลงทุนไม่เหมาะสม

ที่มา : SCB EIC 

ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่ 

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้  https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ