การผลิตไทย เผชิญ “คำสั่งซื้อ” ต่ำ สะเทือน “การส่งออก” อีกเสี่ยงเศรษฐกิจไม่มั่นคง เพราะการเมือง

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

การผลิตไทย เผชิญ “คำสั่งซื้อ” ต่ำ สะเทือน “การส่งออก” อีกเสี่ยงเศรษฐกิจไม่มั่นคง เพราะการเมือง

Date Time: 28 พ.ค. 2567 11:02 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Summary

  • วิจัยกรุงศรี ชี้ การผลิตไทย เผชิญ ยอดคำสั่งซื้อลดลง แรงสุดในรอบกว่า 3 ปี สวนทางโลก สะท้อนสินค้า "ส่งออกไทย" แข่งไม่ได้-ไม่ตอบโจทย์ ความต้องการคู่ค้า จับตาการค้าโลกตึงเครียด จีน-สหรัฐฯ ตอบโต้มาตรการภาษีระหว่างกัน ขณะ เศรษฐกิจไทย เสี่ยงไม่มั่นคง เพราะการเมือง (อาจ) “ไม่แน่นอน” หลังนายกฯ ถูกยื่นชื่อถอดถอน

Latest


ล่าสุด สถานการณ์การเมืองในประเทศมีความไม่แน่นอนมากขึ้น หลังจากศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องขอให้วินิจฉัยคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี “เศรษฐา ทวีสิน” ซึ่งยังต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนกว่าจะทราบผลว่าจะมีการถอดถอนนายกฯ หรือไม่ 

ประเด็นดังกล่าว วิจัยกรุงศรี ชี้ว่า อาจเป็น 1 ในปัจจัยบั่นทอนความเชื่อมั่น และเป็นปัจจัยลบต่อบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทย ท่ามกลางแนวโน้มเศรษฐกิจไทย ตลอดทั้งปี 2567 

เพราะเมื่อไปดูปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวพันกับฟันเฟื่องหลักอย่าง “การส่งออกไทย” ขณะนี้ สถานการณ์การค้าโลกเสี่ยงสูงขึ้น สหรัฐฯ จะสั่งเก็บภาษีสินค้าหลายร้อยรายการที่นำเข้าจากประเทศจีน, การเติบโตทางเศรษฐกิจของยูโรโซนมีแนวโน้มซบเซาจนถึงช่วงกลางปี และจีนกำลังพยายามกดดันและส่งสัญญาณไปยังสหรัฐฯ และชาติพันธมิตร เพื่อตอบโต้มาตรการทางภาษี 

ซึ่งหากรุนแรงขึ้น อาจขยายวงกว้างไปที่อุตสาหกรรมต้นน้ำ โดยเฉพาะแร่สำคัญที่ใช้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจีนเป็นหนึ่งในผู้เล่นรายใหญ่ ผลที่ตามมาคือ การตอบโต้ทางภาษีระหว่างกันอาจทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าโลกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

การส่งออกไทย ยังไม่สดใส "คำสั่งซื้อ" ต่ำ ภาคการผลิตดิ่ง สวนทางโลก 


เจาะทิศทางการส่งออกไทย แม้ “การส่งออก” ของไทยในเดือนเมษายนจะสามารถพลิกกลับมาขยายตัว แต่มูลค่าการส่งออกเฉลี่ยต่อเดือนในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ 2.36 หมื่นล้านดอลลาร์ ต่ำกว่าเล็กน้อย เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในปีก่อนที่ 2.37 หมื่นล้านดอลลาร์ 

วิจัยกรุงศรี ประเมินว่า สำหรับในช่วงที่เหลือของปีนี้การส่งออกยังเผชิญปัจจัยท้าทาย เนื่องจากแรงกดดันจากปัญหาเชิงโครงสร้างในภาคการผลิตของไทย สะท้อนจากดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่หดตัวติดต่อกันนาน 18 เดือน รวมถึงดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของไทยเดือนเมษายนที่อยู่ในแดนหดตัว (< 50) ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 

สวนทางกับ PMI ภาคการผลิตของโลกและอาเซียนที่ยังอยู่ในแดนขยายตัว (> 50) อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ในองค์ประกอบของ PMI ภาคการผลิตของไทยยังพบว่ายอดคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกใหม่ลดลงในอัตราแรงสุดในรอบกว่า 3 ปี 

"สะท้อนว่าการผลิตในหลายภาคอุตสาหกรรมของไทยอาจสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน และไม่สามารถปรับตัวตอบสนองต่อความต้องการของประเทศคู่ค้าในตลาดโลก การฟื้นตัวของการส่งออกในปีนี้จึงยังมีความมีเปราะบาง และมีแนวโน้มอาจเติบโตต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 2.5%" 

อย่างไรก็ดี สิ่งที่เป็นปัจจัยบวกทางเศรษฐกิจ คือ การลงทุนจากต่างประเทศมีแนวโน้มทยอยปรับดีขึ้นต่อเนื่อง เดือนเมษายนพบว่ามีมูลค่าเงินลงทุนรวมอยู่ที่ 19,056 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และสูงกว่ามูลค่าเฉลี่ยต่อเดือนที่ 10,628 ล้านบาท ในปี 2566 โดยญี่ปุ่นยังคงเป็นประเทศที่มีมูลค่าการลงทุนในไทยสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ (สัดส่วน 62% ของมูลค่าการลงทุนรวม) เพิ่มขึ้นถึง 143% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน. 

ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่ 

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้  https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์