ท่ามกลางความท้าทายในอนาคต ที่ “ภาษี” อาจไม่ใช่ปัจจัยดึงดูด นักลงทุนต่างชาติ ให้เข้ามาลงทุนอีกต่อไป เพราะโลกกำลัง เดินหน้า ปฏิรูประบบภาษีระหว่างประเทศ ด้วยการจัดเก็บอัตราภาษีเงินได้ธุรกิจขั้นต่ำ (Global minimum tax) 15% อย่างเข้มข้นกับบริษัทข้ามชาติต่างๆ ซึ่งไทยกำลังจะออกกฎหมายดังกล่าว เช่นกัน
กลายเป็นคำถามสำคัญ แล้วอะไร? ยังจะเป็นจุดแข็งให้กับ “ประเทศไทย” ในการจูงใจกลุ่มทุนต่างๆ ภายใต้ อุตสาหกรรมของ อินโดนีเซีย เวียดนาม สามารถดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศ ได้มากขึ้นเรื่อยๆ
อย่างไรก็ตาม ล่าสุด “นฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์” เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ออกมาให้ความเชื่อมั่นว่า ประเทศไทยยังแข่งขัน และสามารถตอบโจทย์การลงทุนในทิศทางใหม่ๆ ได้ หลังจากยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) ปี 2567 เติบโตก้าวกระโดดจากปีก่อน ทั้งจำนวนโครงการและเงินลงทุน โดยมีคำขอรับการส่งเสริม 724 โครงการ เงินลงทุน 228,207 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 31%
กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเงินลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่
สำหรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มีโครงการยื่นขอรับการส่งเสริมจำนวน 460 โครงการ เพิ่มขึ้น 130% มูลค่าเงินลงทุนรวม 169,322 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% โดยประเทศ/เขตเศรษฐกิจที่มีมูลค่าการขอรับการส่งเสริมสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่
ทั้งนี้ มูลค่าการลงทุนของสิงคโปร์ที่สูงขึ้นเกิดจากการลงทุนขนาดใหญ่ของบริษัทสิงคโปร์ที่มีบริษัทแม่เป็นสัญชาติจีนในกิจการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB)
สรุปการอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน ไตรมาสแรก ปี 2567 รวมทั้งนักลงทุนไทยและต่างชาติ มีจำนวนทั้งสิ้น 785 โครงการ เงินลงทุนรวม 254,928 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6%
โดยประโยชน์ของโครงการเหล่านี้ คาดว่าจะทำให้มูลค่าส่งออกของประเทศเพิ่มขึ้นกว่า 6 แสนล้านบาท/ปี มีการใช้วัตถุดิบในประเทศประมาณ 2.4 แสนล้านบาท/ปี คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 50% ของมูลค่าวัตถุดิบทั้งหมด และเกิดการจ้างงานคนไทยประมาณ 50,000 ตำแหน่ง
สำหรับการออกบัตรส่งเสริม ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใกล้เคียงการลงทุนจริงมากที่สุดเพิ่มขึ้นมากเช่นเดียวกัน โดยมีจำนวน 647 โครงการ เงินลงทุนรวม 256,930 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 107%
เลขาธิการ BOI ยังระบุว่า จังหวะเวลานี้มีความสำคัญ และเป็นโอกาสทองของประเทศไทยในการดึงการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ๆ เพื่อวางรากฐานเศรษฐกิจไทยในระยะยาว เราเชื่อว่าประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาค ด้วยความโดดเด่นในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐาน ความเสถียรของไฟฟ้าและความพร้อมด้านพลังงานสะอาด ซัพพลายเชนที่แข็งแกร่ง คุณภาพของบุคลากร สภาพแวดล้อมที่ดี ปัจจัยที่เอื้อสำหรับการเข้ามาทำงานและอยู่อาศัยของผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ รวมทั้งมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ
"ในไตรมาสแรกนี้ มีการลงทุนสำคัญเกิดขึ้นในไทยหลายโครงการ ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ไฟฟ้า เซมิคอนดักเตอร์ต้นน้ำ ดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ รวมทั้งโครงการผลิตเอนไซม์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรม ซื่งเป็นโครงการไบโอรีไฟเนอรี่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องพิสูจน์ความพร้อมของไทยสำหรับการสร้างฐานอุตสาหกรรมแห่งอนาคต และทำให้เห็นว่าประเทศไทยสามารถตอบโจทย์การลงทุนในทิศทางใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับเทรนด์โลกได้เป็นอย่างดี”
ที่มา : BOI
ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney