ภาระหนี้ในอนาคตกับอนาคตประเทศ

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ภาระหนี้ในอนาคตกับอนาคตประเทศ

Date Time: 3 พ.ค. 2567 05:27 น.

Summary

  • ข้อมูลจาก แบงก์ชาติ และ นักเศรษฐศาสตร์ มองตรงกันอย่างหนึ่งคือวิกฤติเศรษฐกิจการเงินการคลังของประเทศเริ่มก่อตัวจาก การก่อหนี้สาธารณะภาครัฐ ส่วนภาคประชาชนเลยจุด เยียวยาไปแล้ว หนี้ครัวเรือนสูงกว่าร้อยละ 90 ถือว่าล้มละลาย

Latest

ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ย้ำชัด ไทยไม่ลด "ดอกเบี้ย" ตามเฟด ชี้ "บาทแข็งค่า" ไม่ทุบทิศทางส่งออกไทย

ข้อมูลจาก แบงก์ชาติ และ นักเศรษฐศาสตร์ มองตรงกันอย่างหนึ่งคือวิกฤติเศรษฐกิจการเงินการคลังของประเทศเริ่มก่อตัวจาก การก่อหนี้สาธารณะภาครัฐ ส่วนภาคประชาชนเลยจุด เยียวยาไปแล้ว หนี้ครัวเรือนสูงกว่าร้อยละ 90 ถือว่าล้มละลาย ผ่อนส่งชักหน้่า ไม่ถึงหลัง

เริ่มต้นจาก หนี้โครงการ ดิจิทัลวอลเล็ต ฉายภาพให้เห็นว่า จำนวนเงิน 5 แสนล้าน ไม่ได้ลอยมาตามลมหรือเป็นเงินที่อยู่ใน งบประมาณรายจ่ายประจำปีทั้งหมด ลำพังงบประมาณรายจ่ายแต่ละปี ก็เป็นงบขาดดุล ปีละ 7-8 แสนล้านอยู่แล้ว

เงิน 5 แสนล้านเอามาจากไหนบ้าง เอามาจาก งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 จำนวน 152,700 ล้าน ซึ่งก็เป็นงบประมาณแบบขาดดุลที่ต้องไปกู้มาเช่นกัน การบริหารจัดการงบประมาณปี 2567 อีก 175,000 ล้าน งบปี 76 เป็นงบเหลื่อมปี ที่มีปัญหาการเบิกจ่ายมาก เพราะเป็นรัฐบาลที่ตั้งเข้ามาคาบเกี่ยวกัน ยังเกลี่ยงบไม่ลงตัวด้วยซ้ำ วุ่นวายไปหมด เอางบปี 68 มาใช้ล่วงหน้าไปดึงงบปี 67 มาใช้เป็นกรณีฉุกเฉิน อีนุงตุงนัง

ก้อนสุดท้าย 172,300 ล้านบาท ไปกู้มาจาก ธ.ก.ส. ซึ่ง ธ.ก.ส. ก็ต้องไปกู้มาเสริมสภาพคล่องอีกที ในฐานะแบงก์รัฐเท่ากับรัฐเป็นหนี้สองเด้ง เป็นการกู้ชดเชยการขาดดุลงบปี 2567 จำนวน 693,000 ล้าน กู้ชดเชยงบปี 68 อีก 3-3.5 แสนล้านในจำนวนนี้ เป็นงบโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 152,700 ล้าน ที่เหลือกู้ชดเชยขาดดุลไตรมาสละ 1.5-2 แสนล้าน ธ.ก.ส.จะต้องกู้เป็นกรณีพิเศษที่จะมาใช้ในโครงการนี้อีก 172,300 ล้าน

รวมวงเงินที่รัฐจะต้องกู้เงินในระบบงบประมาณ 1.1-1.2 ล้านล้านบาท ในขณะที่ภาคเอกชนก็ต้องระดมเงินโดยการออกหุ้นกู้อีก 1 ล้านล้านบาท กลายเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ตัวเลขหนี้สาธารณะก็สูงอยู่แล้ว คนให้กู้ก็ต้องดูด้วยว่า ให้กู้แล้วจะได้ต้นได้ดอกคืนหรือไม่ การขาดดุลเพิ่มขึ้นทุกปี ปีนี้อยู่ที่ร้อยละ 3-4 ต่อจีดีพี ปีนี้รวมหนี้ดิจิทัลวอลเล็ตไปอีกก็จะขาดดุลประมาณร้อยละ 3.7 หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.5 ปัจจุบันสัดส่วนหนี้สาธารณะอยู่ที่ร้อยละ 62 กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่ร้อยละ 70 การออกพันธบัตรใช้หนี้เท่ากับเป็นการเพิ่มหนี้มากขึ้น

หนี้สาธารณะ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 แต่ สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มขึ้นได้ประมาณร้อยละ 0.2 อย่างไรก็ขาดทุนวันยังค่ำ ประเทศมีภาระเพิ่มขึ้น ทั้งรายจ่ายประจำ การลงทุน สังคมผู้สูงวัย โดยเฉพาะผู้สูงวัยจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี จากสัดส่วนร้อยละ 17 ของจำนวนประชากรเป็นร้อยละ 30 ของจำนวนประชากร รัฐเก็บภาษีได้น้อยลงแต่มีรายจ่ายเพิ่มขึ้นทุกปี

การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่ำกว่ามาตรฐาน เฉลี่ยเพียงร้อยละ 2.6 ต่อปี ในขณะที่ ค่าเฉลี่ยการเติบโตทางเศรษฐกิจในอาเซียน อยู่ที่ร้อยละ 4.2 ต่อปี

สภาพคล่องในธนาคารพาณิชย์ ยังสูงก็จริง เงินจำนวน 4.5 ล้านล้านบาท ที่นอนอยู่ในแบงก์ แต่ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ก็เท่ากับไม่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจใดๆ

ประชาชนไม่มีกำลังซื้อ ไม่มีการเพิ่มจำนวนการบริโภค เศรษฐกิจชะลอตัวต่อเนื่อง ตั้งแต่ที่มีการยึดอำนาจเมื่อปี 2549 ต่อให้ลดอัตราดอกเบี้ยเชิงนโยบาย ก็ไม่มีประโยชน์ เป็นสังคมไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย สมบูรณ์แบบ.


หมัดเหล็ก
mudlek@thairath.co.th

คลิกอ่านคอลัมน์ “คาบลูกคาบดอก” เพิ่มเติม


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ